https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ตัวอย่างการเขียนตอบกฎหมาย MUSLIMTHAIPOST

 

ตัวอย่างการเขียนตอบกฎหมาย


908 ผู้ชม


ตัวอย่างการเขียนตอบกฎหมาย
(คำถามแบบวินิจฉัย)

              คำถามแบบให้วินิจฉัย จะเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ตอนท้ายจะตั้งคำถามเพื่อผู้ตอบจะได้วินิจฉัยว่าผลควรเป็นอย่างไรหรือบางทีตั้งเป็นอุทาหรณ์มาให้แล้วถามตอนท้ายว่าผิดหรือไม่ประการใด เช่น ถามว่า นายสมิงเดินทางไปในป่าเห็นสิ่งหนึ่งสีดำอยู่หลังพุ่มไม้พิจารณาให้ดีเข้าใจว่าเป็นหมูป่า จึงใช้ปืนยิงไป ปรากฏว่าเป็นนายสมรแต่งกายด้วยชุดสีดำยืนหลบอยู่หลังพุ่มไม้นั้น ถูกลูกกระสุนปืนตาย ดังนี้นายสมิงจะต้องรับผิดทางอาญาฐานใด
                 การตอบคำถามแบบให้วินิจฉัย การตอบคำถามแบบให้วินิจฉัยนี้ต่างกับการตอบคำถามแบบความจำตรงที่ว่า การตอบคำถามวินิจฉัยเป็นการตอบเฉพาะจุดหรือประเด็นที่ถามมา มิใช่เป็นการบรรยายเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
                 การตอบ ต้องลำดับขั้นตอนดังนี้
                 1.) หลักกฎหมาย
                 2.) วินิจฉัย
                 3.) สรุปผล
ตัวอย่างข้างต้น ข้อเท็จจริงตามคำถามเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงที่แก้ตัวได้ ซึ่งมีกฎหมายวางหลักดังนี้
            ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคหนึ่งว่า หลักว่า “บุคคลจักต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา….ฯลฯ” มาตรา 59 วรรคสามวางหลักว่า “ถ้าผู้กระทำใดไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้นั้นประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้” มาตรา 59 วรรคสี่ วางหลักว่า “การกระทำโดยประมาทได้แก่กระทำความผิดโดยมิใช่เจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่” และมาตรา 62 วรรคสองวางหลักว่า “ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่งมาตรา 59 หรือความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้เกิดขึ้นด้วยความประมาทของผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าการกระทำนั้น ผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท”
            ตามคำถาม นายสมิงเห็นสิ่งหนึ่งสีดำเข้าใจว่าเป็นหมู่ป่าจึงใช้ปืนยิงไปตรงนั้น ปรากฏว่าเป็นนายสมร ซึ่งแต่งกายชุดสีดำ ถูกลูกกระสุนปืนตาย นายสมิงไม่มีเจตนาฆ่า นายสมร เพราะนายสมิงไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสาม นายสมิงไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคหนึ่งที่ว่าบุคคลจักต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนาแต่ความไม่รู้ข้อเท็จจริงของนายสมิงได้เกิดขึ้นด้วยความประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ กล่าวคือนายสมิงมิได้ใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบ เพียงแค่เห็นสีดำอยู่หลังพุ่มไม้ก็รีบปักใจเชื่อว่าเป็นหมูป่า ด่วนใช้ปืนยิงไปทันที ซึ่งตามสภาพแวดล้อม นายสมิงอาจใช้ ความระมดระวังได้ แต่หาได้ใช้อย่างเพียงพอไม่ นายสมิงต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคสอง
            สรุป นายสมิงมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท แต่ไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
ที่มา คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 

อัพเดทล่าสุด