https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประเภทของห้างหุ้นส่วน MUSLIMTHAIPOST

 

ประเภทของห้างหุ้นส่วน


10,674 ผู้ชม


ประเภทของห้างหุ้นส่วน 
           ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
           1.  ห้างหุ้นส่วนสามัญ
           2.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
           คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนแล้วก็มีสภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
           ห้างหุ้นส่วนสามัญมีลักษณะสำคัญดังนี้
           1.  ผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน หนี้ของห้างหุ้นส่วนถือว่าเป็นหนี้ร่วม หุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน ผู้เป็นหุ้นส่วนจะแบ่งแยกความรับผิดในหนี้สินของห้างเป็นรายบุคคล หรือตามส่วนที่ตกลงทุนไม่ได้ เจ้าหนี้ของห้างจะฟ้องเรียกหนี้สินจากผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้ลงทุนเข้าหุ้นส่วนเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้เจ้าหนี้ของห้างจะได้ฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดให้รับผิดไปแล้ว แต่ยังมิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน เจ้าหนี้คนนั้นก็ยังมีสิทธิฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ได้ต่อไป จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ทั้งหมด
           2.  ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดโดยไม่จำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจะแบ่งแยกความรับผิดตามที่ตนได้สัญญากันไว้ หรือตามส่วนทุนไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วน ถึงแม้จะมีการตกลงภายในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองว่า จะรับผิดในหนี้สินของห้างเพียงใดก็ตาม ก็ไม่มีผลผูกพันเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแต่ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนย่อมจะตกลงกันเป็นการภายในได้ว่าใครจะต้องรับผิดในหนี้สินนั้นเพียงใดก็ได้
           3.  คุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นสาระสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีดังต่อไปนี้
                       3.1  ถ้าเป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนย่อมมีอำนาจจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน
                       3.2  ห้ามมิให้ชักนำเขาบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน โดยมิได้รับความยินยอมของหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
                       3.3  ห้ามมิให้บุคคลภายนอกที่ได้รับโอนส่วนกำไรไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนมีฐานะเป็นหุ้นส่วน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของหุ้นส่วนทุกคน
                       3.4  หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในการใดๆ ซึ่งหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้นร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
           ห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทคือ
           1. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียว หรือ หลายคน ซึ่งจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น และ
           2. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
           ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งสองประเภทนี้จะต้องมีอยู่ร่วมกัน แม้จะมีผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละประเภท เพียงประเภทละคนก็ใช้ได้ ซึ่งสามารถรวมกันจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่ในทางปฏิบัติมักจะมีผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละประเภทหลายๆ คน รวมทุนกันจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดขึ้น
ลักษณะของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด
           ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น มีลักษณะคล้ายกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญดังนี้ คือ
           1. ต้องรับผิดในหนี้สินของห้าง โดยไม่มีการจำกัดจำนวน
           2. ต้องรับผิดร่วมกัน ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดด้วยกัน
           3. คุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นสาระสำคัญ
ลักษณะของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด
           ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด มีลักษณะแตกต่างกับผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด และผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญดังนี้คือ
           1. รับผิดในหนี้สินของห้างเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่จะรับลงหุ้น
           2. ไม่ต้องรับผิดในหนี้สินของห้างร่วมกัน
           3. คุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เป็นสาระสำคัญ
ความแตกต่างของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
           ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น มีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้
           1. จะเอาชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดมาเรียกขานระคนเป็นชื่อห้างไม่ได้
           2. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดต้องลงหุ้นด้วยเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่น จะลงด้วยแรงงานเสมือนผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดไม่ได้
           3. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการห้าง ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นมีสิทธิเป็นผู้จัดการ
           4. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จะประกอบการค้าขายอย่างใดๆ เพื่อประโยชน์ตน หรือเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นก็ได้ แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับการค้าขายของห้างหุ้นส่วนก็ไม่ห้าม
           5. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้นของตนโดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ก็โอนได้
           6. การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดตาย ล้มละลาย หรือเป็นผู้ไร้ความสามารถ ไม่เป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกัน เว้นแต่จะได้มีข้อสัญญากันไว้เป็นอย่างอื่น แต่การตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ย่อมเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นต้องล้มเลิกกัน เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
           7. ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดตาย ทายาทของผู้นั้นย่อมเข้าเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตายได้ เว้นแต่จะได้มีข้อสัญญากันไว้เป็นอย่างอื่น
ความแตกต่างระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัดและห้างหุ้นส่วนสามัญ
           1. ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ประเภทจำกัดความรับผิด และไม่จำกัดความรับผิด แต่ห้างหุ้นส่วนสามัญมีผู้เป็นห้างหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างโดยไม่มีจำกัด
           2. ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ต้องเลิกจากกัน เพราะเหตุที่ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดตาย ล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ เว้นแต่จะมีข้อสัญญากันไว้เป็นอย่างอื่น แต่ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ เว้นแต่จะมีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
           3. ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียน แต่ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น จะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นตราบใดที่ยังมิได้จดทะเบียนกฎหมายให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีการจำกัดจำนวน จนกว่าจะได้จดทะเบียนแล้ว

อัพเดทล่าสุด