หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 MUSLIMTHAIPOST

 

หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45


725 ผู้ชม


ลักษณะ 2 การประกันสังคม หมวด 1 การเป็นผู้ประกันตน
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 33 ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปี บริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็น ผู้ประกันตนต่อไป
[ มาตรา 33 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 34 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 ยื่นแบบ รายการแสดงรายชื่อผู้ประกันตน อัตราค่าจ้าง และข้อความอื่นตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ต่อ สำนักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตน
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 35 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างโดยวิธีเหมาค่าแรงมอบให้แก่ บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานและรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างอีก ทอดหนึ่งก็ดี มอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบ ธุรกิจจัดหางานก็ดี โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจซึ่งกระทำ
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 ในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ทำงานของผู้ประกอบกิจการและเครื่องมือที่สำคัญสำหรับใช้ ทำงานนั้นผู้ประกอบกิจการเป็นผู้จัดหา กรณีเช่นว่านี้ผู้ประกอบกิจการย่อมอยู่ในฐานะนายจ้างซึ่งมี หน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 ในกรณีที่ผู้รับเหมาค่าแรงตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ยื่นแบบรายการต่อสำนักงาน ตาม มาตรา
34 ในฐานะนายจ้าง ให้ผู้รับเหมาค่าแรงมีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เช่นเดียวกับ นายจ้าง ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้ประกอบกิจการหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้เงินสมทบและเงินเพิ่ม เพียงเท่าที่ผู้รับเหมาค่าแรงได้นำส่งสำนักงาน
[ความในวรรคสองของ มาตรา 35 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 36 เมื่อนายจ้างยื่นแบบรายการตาม มาตรา 34 แล้ว ให้สำนักงานออก หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้แก่นายจ้าง และออกบัตรประกันสังคมให้แก่ ลูกจ้าง ทั้งนี้ ตามแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 37 ในกรณีที่ความปรากฏแก่สำนักงานหรือจากคำร้องของลูกจ้างว่า นายจ้างไม่ยื่นแบบรายการตาม มาตรา 34 หรือยื่นแบบรายการแล้ว แต่ไม่มีชื่อลูกจ้างบางคนซึ่งเป็น ผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 ในแบบรายการนั้น ให้สำนักงานมีอำนาจบันทึกรายละเอียดในแบบ รายการตาม มาตรา 34 โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แล้วออกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้น ทะเบียนประกันสังคมให้แก่นายจ้าง และหรือออกบัตรประกันสังคมให้แก่ลูกจ้างตาม มาตรา 36 แล้วแต่กรณี
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย จะ ดำเนินการสอบสวนก่อนก็ได้
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 (1) ตาย
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตาม (2) ได้ส่งเงินสมทบครบ ตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามบทบัญญัติในลักษณะ 3 แล้ว ให้ผู้นั้นมีสิทธิตามบทบัญญัติใน หมวด
2 หมวด 3 หมวด 4 และ หมวด 5 ต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือ ตามระยะเวลาที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันสิ้นสภาพ การเป็นลูกจ้าง
[ความในวรรคสองของ มาตรา 38 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 39 ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา
46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง
[ มาตรา 39 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 40 บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตาม มาตรา 33 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงาน
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 หลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับ ตาม มาตรา
54 ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 41 ความเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 (1) ตาย
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 (2) ได้เป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา
33 อีก
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 (3) ลาออกจากความเป็นผู้ประกันตนโดยการแสดงความจำนงต่อสำนักงาน
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 (4) ไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกัน
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 (5) ภายในระยะเวลาสิบสองเดือนส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบเก้าเดือน การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตาม (4) สิ้นสุดลงตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงิน สมทบ และการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตาม (5) สิ้นสุดลงในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ เก้าเดือน
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพความเป็นลูกจ้างตาม (2) ได้ส่งเงินสมทบ ตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามบทบัญญัติใน ลักษณะ 3 แล้ว ให้ผู้นั้นมีสิทธิตามบทบัญญัติใน หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และ หมวด 5 ต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
[ความในวรรคสามของ มาตรา 41 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 42 เพื่อก่อสิทธิแก่ผู้ประกันตนในการขอรับประโยชน์ทดแทนตาม บทบัญญัติลักษณะ 3 ให้นับระยะเวลาประกันตนตาม มาตรา 33 และหรือ มาตรา 39 ทุกช่วงเข้า ด้วยกัน
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 43 กิจการใดที่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัตินี้ แม้ว่าภายหลัง กิจการนั้นจะมีจำนวนลูกจ้างลดลงเหลือน้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ก็ตาม ให้กิจการดังกล่าวอยู่ ภายใต้บังคับพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนกว่าจะเลิกกิจการ และให้ลูกจ้างที่เหลืออยู่เป็นผู้ประกันตน ต่อไป ในกรณีที่กิจการนั้นได้รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงาน ให้ลูกจ้างใหม่นั้นเป็นผู้ประกันตนตาม พระราชบัญญัตินี้ด้วย แม้ว่าจำนวนลูกจ้างรวมทั้งสิ้นจะไม่ถึงจำนวนที่กำหนดไว้ก็ตาม
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 44 ในกรณีที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อความในแบบรายการที่ได้ยื่นไว้ต่อ สำนักงานเปลี่ยนแปลงไป ให้นายจ้างแจ้งเป็นหนังสือต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด เพื่อขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่มีการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าว
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45 ให้นำความใน มาตรา
37 มาใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ โดยอนุโลม
[ มาตรา 44 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]
หมวด1 การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33-45
มาตรา 45 ในกรณีที่หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมหรือบัตร ประกันสังคมสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้นายจ้างหรือผู้ประกันตนยื่นคำขอรับ ใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคม หรือใบแทนบัตรประกันสังคมแล้วแต่กรณี ต่อสำนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว ทั้งนี้ ตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด

อัพเดทล่าสุด