https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
:: พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 108-115 หมวด 9 การควบคุม MUSLIMTHAIPOST

 

:: พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 108-115 หมวด 9 การควบคุม


613 ผู้ชม


:: พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 108-115
 
:: หมวด 9 การควบคุม
 มาตรา 108 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคน ขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย และ ข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการดังต่อ ไปนี้
 (1) วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
 (2) วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
 (3) หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานใน ในวันหยุด
 (4) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานใน วันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
 (5) วันลาและหลักเกณฑ์การลา
 (6) วินัยและโทษทางวินัย
 (7) การร้องทุกข์
 (8) การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
 ให้นายจ้างประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป และให้นายจ้างจัดเก็บสำเนาข้อบังคับนั้นไว้ ณ สถานประกอบ กิจการ หรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา และให้ส่งสำเนา ข้อบังคับให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในเจ็ดวัน นับแต่วันประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว
 ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งให้นายจ้าง แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ขัดต่อกฎหมายให้ถูกต้อง ภายในเวลาที่กำหนด
 ให้นายจ้างเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้าง ได้ทราบและดูได้โดยสะดวก
 มาตรา 109 การร้องทุกข์ตาม มาตรา 108 (7) อย่างน้อย ต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 (1) ขอบเขตและความหมายของข้อร้องทุกข์
 (2) วิธีการและขั้นตอนการร้องทุกข์
 (3) การสอบสวนและพิจารณาขอร้องทุกข์
 (4) กระบวนการยุติข้อร้องทุกข์
 (5) ความคุ้มครองผู้ร้องทุกข์และผู้เกี่ยวข้อง
 มาตรา 110 ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงาน ให้นายจ้างประกาศข้อบังคับที่มีการแก้ไข เพิ่มเติมนั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับที่แก้ไข เพิ่มเติมและให้นำ มาตรา 108 วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
 มาตรา 111 เมื่อนายจ้างได้ประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานตาม มาตรา 108 แล้ว แม้ว่าต่อมานายจ้างมีลูกจ้าง ลดต่ำกว่าสิบคนก็ตาม ให้นายจ้างยังคงมีหน้าที่ปฏิบัติตาม มาตรา 108 และ มาตรา 110 ต่อไป
 มาตรา 112 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดทำทะเบียนลูกจ้างเป็นภาษาไทยและเก็บไว้ ณ สถา ประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้ พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการ
 การจัดทำทะเบียนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้าง จัดทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน
 มาตรา 113 ทะเบียนลูกจ้างนั้นอย่างน้อยต้องมีรายการดัง ต่อไปนี้
 (1) ชื่อตัวและชื่อสกุล
 (2) เพศ
 (3) สัญชาติ
 (4) วันเดือนปีเกิด หรืออายุ
 (5) ที่อยู่ปัจจุบัน
 (6) วันที่เริ่มจ้าง
 (7) ตำแหน่งหรืองานในหน้าที่
 (8) อัตราค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่นายจ้าง ตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
 (9) วันสิ้นสุดของการจ้าง
 เมื่อมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนลูกจ้าง ให้นายจ้างแก้ไขเพิ่มเติมทะเบียนลูกจ้างให้แล้วเสร็จภายในสิบห้า วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น หรือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ ลูกจ้างได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้นายจ้างทราบ
 มาตรา 114 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้น ไปจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน ในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
 (1) วันและเวลาทำงาน
 (2) ผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย
 (3) อัตราและจำนวนค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่ลูกจ้างแต่ละคนได้รับ
 เมื่อมีการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่า ล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างลงลายมื ชื่อในเอกสารตามวรรคหนึ่งไว้เป็นหลักฐาน
 รายการในเอกสารตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในฉบับเดียวกันหรือจะ แยกเป็นหลายฉบับก็ได้
 ในกรณีที่นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง โดยการโอนเงินเข้าบัญ เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่น ให้ถือว่าหลักฐาน การโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของลูกจ้างเป็นเอกสารเกี่ยวกับการ จ่ายเงินดังกล่าว
 มาตรา 115 ให้นายจ้างเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างไว้ ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างลูกจ้างแต่ละราย และให้นายจ้างเก็บเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างไว้ ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันจ่ายเงินดังกล่าว
 ในกรณีที่มีการยื่นคำร้องตามหมวด 12 แห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือมีข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ หรือ มีการฟ้องร้องคดีแรงงาน ให้นายจ้างเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างและ เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดไว้จนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำพิพาทถึงที่ สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

อัพเดทล่าสุด