https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สุดยอดชิปกราฟิกจาก ATi MUSLIMTHAIPOST

 

สุดยอดชิปกราฟิกจาก ATi


671 ผู้ชม


สุดยอดชิปกราฟิกจาก ATi

ในโลกของการ์ด 3 มิติ ที่อยู่บนพีซีเดสก์ทอปหรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เราใช้กันอยู่นั้น ชื่อของ ATi คงจะคุ้นหูจนชินชากันไปแล้ว ซึ่ง ATi ก็เป็นหนึ่งในผู้ผิตชิปกราฟิกที่ผู้ใช้ให้ความไว้วางใจในยุคปัจจุบัน แม้แต่ไมโครซอฟท์เองก็ยังให้ความเชื่อมั่นในชิปกราฟิกจากผู้ผลิตรายนี้เช่นกัน โดยพวกเขาได้เลือกใช้ชิป ATi ตระกูล R5xx แต่เป็นรุ่นพิเศษ (ความเร็วในการทำงาน 500MHz) ที่สั่งทำขึ้นมาเพื่อใช้กับเครื่องเล่นเกม Xbox 360 ซึ่งคุณสมบัติของชิปกราฟิกรุ่นนี้ค่อนข้างพิเศษมาก คือ มีการฝังหน่วยความแบบ DRAM เอาไว้ในแพ็กเกจของชิป กราฟิกถึง 10MB เลยทีเดียว ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนกับบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ของชิปกราฟิก (Xbox ไม่ได้เป็นรายแรกที่ฝังหน่วยความจำขนาดใหญ่ลงไปบนชิปแพ็กเกจ แต่ทว่าเป็น Gamecube ของนินเทนโดต่างหาก ที่เป็นผู้เริ่มต้นฝังหน่วยความจำขนาด 3MB ลงบนแผงวงจรเดียวกับตัวชิปกราฟิกโพรเซสเซอร์) โดยในการทำงานจริงๆ นั้น ชิปกราฟิกจะแชร์หน่วยความจำของระบบมาใช้งานร่วมด้วย ซึ่งเป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องขนาดความจุ 512MB ที่มีชนิดเป็น GDDR3 SDRAM ทำงานที่ความเร็วในระดับ 700MHz อันที่จริงแล้วด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรมนั้น ตัวชิป GPU สามารถรองรับการคำนวณของตัวเลขทางตรรกะได้พร้อมกันถึง 48 ช่องทาง เพราะว่าสเปกของมันรองรับการคำนวณตัวเลขทศนิยมได้พร้อมๆ กัน 48 ช่องทางอยู่แล้ว แต่ไมโครซอฟท์และ ATi กลับไม่ได้คิดไปไกลในระดับนั้น

สุดยอดชิปกราฟิกจาก ATi
สุดยอดชิปกราฟิกจาก ATi


สำหรับประสิทธิภาพการทำงานของชิปกราฟิกของ ATi นี้ ในเรื่องการสร้างภาพโพลิกอนหรือภาพหลายเหลี่ยมนั้น สามารถทำได้ในระดับ 500 ภาพ/วินาที (เป็นการสร้างรูปสามเหลี่ยม) รองรับแสงเงาได้ 48,000 ล้านเชดเดอร์/วินาที ส่วนค่าแบนด์วิดธ์ในการติดต่อกับหน่วยความจำจะแบ่งออกเป็นสามค่าด้วยกัน คือ หากเป็นการติดต่อมาที่หน่วยความจำระบบก็จะมีค่าแบนด์วิดธ์อยู่ที่ 22.4GB/s และหากเป็นการติดต่อระหว่างหน่วยความจำของระบบกับหน่วยความจำที่ฝังตัวอยู่บนชิป จะให้ค่าแบนด์วิดธ์สูงสุดคือ 256GB/s ทั้งนี้ก็เพราะว่าหน่วยความจำที่ฝังตัวอยู่บนแพ็กเกจชิป (Embedded DRAM) จะเชื่อมต่อเข้ากับตัว GPU โดยตรง ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยความจำหลักจึงทำได้อย่างรวดเร็ว และหากเป็นแบนด์วิดธ์บน FSB ของระบบก็จะมีค่าอยู่ที่ 21.6GB/s ซึ่งค่าแบนด์วิดธ์ทั้งสามนี้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงประสิทธิภาพโดยรวมของชิปกราฟิกได้เช่นกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทางไมโครซอฟท์พยายามที่จะทำให้อัตราการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำทั้งสองกับชิปกราฟิกมีค่ามากที่สุด เพราะนั่นหมายถึงสมรรถนะการทำงานโดยรวมที่สูงขึ้น และสุดท้ายคือประสิทธิภาพรวมทั้งหมดของการคำนวณตัวเลขทศนิยม ซึ่งชิปกราฟิกจาก ATi ให้ประสิทธิภาพสูงถึง 1 teraflop เลยทีเดียว!!!

สุดยอดชิปกราฟิกจาก ATi

สุดยอดชิปกราฟิกจาก ATi


Note :
FLOP = Floating Point Operation (การจัดการกับตัวเลขทศนิยม)
TERAFLOP = Trillion Floating Point Operations per second
1 TERAFLOP = จัดการกับเลขทศนิยมได้หนึ่งล้านล้านคำสั่งต่อวินาที
จากข้อมูลตางๆ ของชิปกราฟิกที่ใช้ใน Xbox 360 นั้นคงพอจะทำให้คุณผู้อ่านทราบว่า มันมีสมรรถนะเทียบเท่าหรือสูงกว่าการ์ดจอที่ใช้อยู่บนพีซีที่เป็นรุ่นท็อปๆ ในปัจจุบันเสียอีก แบบนี้ชนะเลิศ! และด้วยความยั่วยวนของฮาร์ดแวร์ที่มีสมรรถนะสูงเทียบเท่าพีซีทั้งเครื่องนี้ เชื่อว่าพอถึงวันจำหน่ายจริง คงจะมีมือดีเอาไปแฮกระบบฮาร์ดแวร์ของ Xbox 360 เหมือนที่ทำกับ Xbox เวอร์ชันแรกมาก่อนหน้านี้ แต่ไม่แน่เหมือนกันว่าไมโครซอฟท์จะมีระบบป้องกันการแฮกมาดีมากน้อยเพียงใด...

ระบบสื่อสารบน Xbox 360

ไปดูเรื่องของระบบสื่อสารใน Xobox 360 กันบ้างดีกว่า เพราะเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่หลายคนคงสนใจไม่แพ้กับเรื่องของกราฟิกแน่นอน อย่างแรกที่อยากพูดถึงก็คือ การรองรับระบบสื่อสารแบบไร้สายมาตรฐาน Wi-Fi, 802.11a, 802.11b, และ 802.11g แน่นอนว่ามีพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อกับระบบแลนปกติได้ (Ethernet port) การควบคุมเกมนั้นจะกระทำผ่านคอนโทรลเลอร์ ซึ่งในรุ่นที่นำมาแสดงจะเป็นคอนโทรลเลอร์แบบไร้สาย 4 ตัวด้วยกัน และหากคุณไม่ชอบที่จะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้กับคอนโทรลเลอร์อยู่บ่อยๆ ละก็ ไมโครซอฟท์ก็จะวางจำหน่ายคอนโทรลเลอร์แบบมีสายมาด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการเอาใจบรรดาแฟนๆ ของ Xbox กันอย่างสุดๆ แต่ขอบอกก่อนว่าคอนโทรลเลอร์ไร้สายที่ให้มานั้นก็มีให้เลือกอีกสองแบบเช่นกัน คือ แบบที่ต้องใช้ถ่าน และแบบที่ชาร์จไฟผ่านพอร์ต USB ได้ ซึ่งอย่างหลังนี่จะต้องมีอุปกรณ์เสริมเพื่อชาร์จไฟต่างหากด้วย สำหรับพอร์ต USB ที่มีมาให้นั้นมีทั้งหมด 3 พอร์ต และสนับสนุน USB 2.0 ด้วย คาดว่าไมโครซอฟท์น่าจะทำอุปกรณ์ที่เป็นออปชันเสริมสำหรับเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB ออกมาในอนาคตอีกแน่!

การใช้งานด้านความบันเทิงอื่นๆ

ไมโครซอฟท์ กำลังทำให้เครื่องเล่มเกมคอนโซลตามบ้านเป็นอะไรที่มากกว่านั้น! ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในครั้งนี้ก็คือ Xbox 360 นั่นเอง คงยังจำกันได้กับบริการ Xbox Live! ที่เป็นคอนเทนท์เสริมที่ไมโครซอฟท์ตั้งใจจะให้คุณไม่ต้องง้อพีซีหรือทีวีเลย ซึ่งครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ในเมื่อ Xbox 360 มีประสิทธิภาพสูงแทบจะทุกๆ ด้านที่สูงขึ้นแล้ว ไมโครซอฟท์ก็ไม่รีรอที่จะใช้ประโยชน์จากฮาร์ดแวร์อันทรงประสิทธิภาพนี้ด้วย เริ่มด้วยการสานต่อบริการ Xbox Live! ที่ครอบคลุมความบันเทิงในรูปแบบมัลคติมีเดีย ทั้ง ภาพยนตร์ เพลง รายกรทีวี การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เหล่านี้จะถูกปรับปรุงการให้บริการใหม่ โดยให้สอดคล้องกับความสามารถของเครื่อง Xbox 360 ด้วย หากคุณต้องการใช้บริการแบบเสียงเงินก็สมัครสมาชิก Xbox Live Gold ซึ่ง จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะการได้เล่นเกมใหม่ๆ ก่อนใคร หรือหากไม่ต้องการเสียเงินก็มีสมาชิกแบบ Xbox Live Silver มาให้เลือกด้วย ซึ่งไมโครซอฟท์บอกว่าแม้จะไม่ได้เสียค่าสมาชิกเหมือนกับแบบแรกก็ตาม แต่ลูกค้าของ Xbox ยังได้รับประโยชน์ในเรื่องข้อมูลข่าวสาร การเก็บผลคะแนนการเล่นบนเว็บ การดาวน์โหลดเดโมเกม เพลง หรือแม้แต่การอัพเดตแพตช์ของเกมก็ทำได้เช่นกัน แบบนี้สิถึงจะเรียกว่ารักกันจริง!

สุดยอดชิปกราฟิกจาก ATi

สุดยอดชิปกราฟิกจาก ATi

สรุป

สำหรับเกมคอนโซลที่เรียกได้ว่าล้ำหน้าไปกว่าพีซีตามบ้านนั้น ล่าสุดไม่ได้มีแต่ Xbox 360 ที่เป็นของไมโครซอฟท์เท่านั้น เพราะช่วงที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ ทั้งโซนี่เอย นินเทนโดเอย ต่างก็ส่งเกมคอนโซลเวอร์ชันใหม่ของตนออกมาชิงชัยกันด้วย และข่าวที่รายงานมานั้นได้แจ้งว่า เพียงแค่อาทิตย์เดียวก็มีเกมคอนโซลจากสามผู้ผลิตออกมาชนกันแบบเต็มๆ งานนี้ รักใคร ชอบใคร ก็เลือกกันให้ดีจะได้ไม่ผิดหวัง แต่สำหรับตัวผู้เขียนเองขอกลับไปนั่งเล่นเกม Emulator บนคอมพ์ต่อดีกว่า...ฉบับนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ!!

Computer Today

ฉบับที่ 263 ปักษ์แรก มิถุนายน 2548
อ่านบทความอื่นๆ >>

อัพเดทล่าสุด