https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย MUSLIMTHAIPOST

 

ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย


1,115 ผู้ชม


ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย
ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย  รศ.ไพโรจน์   คีรีรัตน์
โครงการ “การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา”  สกว.
trfrubber@gmail.com
www.trfrubber.com

การศึกษาเป็นเสาหลักที่สำคัญของชาติ  ทำให้คนมีความรู้   สังคมเป็นสุขไม่ขัดแย้ง  เศรษฐกิจดี   การที่คนในประเทศจะมีความสามารถและมีพฤติกรรมที่ดีงามได้นั้น ย่อมขึ้นกับการจัดการศึกษาเป็นส่วนสำคัญ   แต่ด้วยปัจจัยภายนอกที่เปลี่ยนแปลงเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น จนไม่สามารถทำนายหรือคาดการณ์ได้จากปรากฏการณ์ที่มองเห็น  ทำให้การศึกษาปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของภายนอก จนทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่ำลงทุกปี
“ครุวิจัยและยุววิจัย” เป็นโครงการสนับสนุนครูทำวิจัยโครงการหนึ่ง  ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ทดลองใช้ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทการศึกษาของไทย  ซึ่งโรงเรียนยังขาดวัฒนธรรมการวิจัย  เมื่อก่อนถ้าพูดถึงการวิจัย ครูจะเริ่มปวดหัวมองว่าการวิจัยเป็นเรื่องของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย  แต่ปัจจุบันมุมมองของครูเปลี่ยนไป  การวิจัยเป็นเรื่องที่ครูอยากรู้  จัดประชุมแนะนำวิธีการทำวิจัยทีไร ครูจะสมัครเข้าร่วมประชุมมากผิดปกติ  จนบางครั้งต้องปฏิเสธ   แสดงว่าสังคมของโรงเรียนกำลังก้าวสู่ยุคใหม่ ขอบของสังคมฐานความรู้
 

 
ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย โครงการครุวิจัย
ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย   เป็นโครงการสนับสนุนครูเรียนรู้กระบวนการวิจัย โดยฝึกทำวิจัยกับพี่เลี้ยงเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ในเดือนเมษายนของทุกปี  พี่เลี้ยง คือ นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยต่าง ๆ ในประเทศ  
ในการสมัครเข้าร่วมโครงการนั้น ครูต้องเขียนข้อเสนอโครงการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องที่อยากจะมาเรียนรู้  วัตถุประสงค์  วิธีการวิจัย  ผลที่คาดว่าจะได้รับ และแผนการทำงาน  รวมไปถึงการเชื่อมโยงเรื่องที่จะเรียนรู้กับการเรียนการสอนในห้องเรียน โครงการนี้มีข้อกำหนดในเรื่องอายุของผู้สมัครว่า ต้องอายุไม่เกิน 50 ปี  ทั้งนี้เนื่องจากครูที่อายุเกินห้าสิบ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองแล้ว  
ศูนย์พี่เลี้ยงจะคัดเลือกผู้เหมาะสมจากข้อเสนอโครงการ และจัดการพัฒนาข้อเสนอโครงการต่อ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในหัวข้อระเบียบวิธีวิจัย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ครูจะออกแบบการวิจัยได้ไม่คม บางโครงการต้องผ่านการแก้ไข 2-3 ครั้ง   ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการ พี่เลี้ยงกับครูจะมาประชุมร่วมกันหนึ่งครั้ง  หลังจากนั้นจะเป็นการติดต่อผ่านทางอีเมล์      
  
การเรียนรู้กับศูนย์พี่เลี้ยงหนึ่งเดือน จะมีทั้งการบรรยายเนื้อหาความรู้ที่จำเป็น การลงมือทดลอง การซ่อมหรือร้างอุปกรณ์ทดลอง  รวมทั้งการไปทัศนศึกษาในแหล่งเรียนรู้ใกล้ ๆ   ในแต่ละปี ถ้าครูได้มีโอกาสไปเรียนรู้กับศูนย์พี่เลี้ยงต่าง ๆ  ซึ่งมีให้เลือกถึง 5 ศูนย์ และกำลังขยายเพิ่มอีก 3 ศูนย์ในปีหน้า  ครูคงจะได้ประสบการณ์และได้ความรู้ที่ใหม่และสด ไปสอนนักเรียน
ตอนสิ้นสุดโครงการ ครูจะนำเสนอผลงานวิจัยต่อบุคคลภายนอกหนึ่งครั้ง ศูนย์พี่เลี้ยงจะเชิญครูจากโรงเรียนใกล้ ๆ และผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงาน  ภายใต้ข้อกำหนดว่า ครูต้องเขียนบทความ 1 เรื่อง จากผลงานวิจัยที่ทำมา และเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม แต่ในปีนี้จะเปลี่ยนจากรายงานวิจัยเป็นสาระการเรียนรู้จากงานวิจัย 1 เล่ม  ซึ่งครูสามารถนำไปใช้สอนได้เลย  ทำให้ครูต้องทำงานหนักมากในช่วงอาทิตย์สุดท้าย  เพื่อทำทุกอย่างให้เสร็จภายในหนึ่งเดือน   ช่วงนี้พี่เลี้ยงและครูได้ถกเถียงเชิงวิชาการกัน ในการแปลงข้อมูลจากการทดลองเป็นความรู้  โดยเขียนออกมาเป็นบทความและสาระการเรียนรู้  
โครงการครุวิจัย มีเป้าหมาย คือ เปลี่ยนครูจากผู้เสพเป็นครูผู้สร้างความรู้  สร้างสาระการเรียนรู้จากการทำวิจัย  นำความรู้ที่ได้ไปใช้สอนในห้องเรียน ตัวอย่างเช่น ครูสุริยะพร นาชัยเงิน โรงเรียนฝั่งแดงวิทยาสรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู  ได้มาเรียนรู้การทำวิจัยด้านพลังงาน กับสถานวิจัยเทคโนโลยีพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในครั้งนั้นได้ออกแบบและสร้างเตาก๊าซชีวมวลอย่างง่าย เพื่อใช้ทดลองขณะเรียน เมื่อกลับไปโรงเรียนก็ได้นำเตาก๊าซชีวมวลดังกล่าวกลับไปด้วย ต่อมาได้นำเตาก๊าซชีวมวลมาให้นักเรียนใช้ทดลอง  เมื่อเรียนสาระวิทยาศาสตร์  เรื่อง การไหล การวัดอุณหภูมิ และพลังงานทดแทน  ครูท่านนี้ยังได้ขอทุนวิจัยจากโครงการยุววิจัยยางพารา เพื่อทำโครงงานต่อ เรื่องการผลิตก๊าซชีวมวลสำหรับอบแห้งยางพารา นอกจากนี้ยังมีครูอีกหลายคนที่ผ่านโครงการครุวิจัย ได้ขอทุนวิจัยทำโครงงานของนักเรียน การเรียนรู้การผลิตก๊าซชีวมวลเป็นเรื่องใหม่ในโรงเรียน ทำให้นักเรียนเริ่มสนุกและอยากเรียนรู้  สังเกตได้จากนักเรียนมีคำถามมากมายและคิดจะสร้างไปใช้เองที่บ้านสักตัว ถ้าใช้ได้ดีกว่าเตาอั้งโล่ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งอธิบายการพัฒนาของครู ที่ผ่านการฝึกทำวิจัยกับพี่เลี้ยงในโครงการครุวิจัย  
นักเรียนจะเรียนวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจอย่างชัดแจ้งและลึกซึ้งนั้น ต้องการครูผู้ที่เป็นผู้รู้จริง และมีความสามารถจัดประสบการณ์เรียนรู้  ให้มีความใหม่และสดอยู่เสมอ ซึ่งครูจะทำได้ถ้ามีทักษะในการวิจัย  
การฝึกครูสร้างอุปกรณ์ทดลองอย่างง่าย สำหรับใช้ในการวิจัยหรือในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์  อาจจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งของการพัฒนาการศึกษา เพราะความสามารถนี้จะเป็นรากฐานที่สำคัญในการสอนด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาเอง  
 

 
ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย โครงการยุววิจัยยางพารา
ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย   เป็นโครงการสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมัธยมปลายทำโครงงาน หรือทำวิจัยเล็ก ๆ ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน  โดยครูเป็นที่ปรึกษาและเป็นแบบอย่างของการทำวิจัย  ส่วนนักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ ลงมือลงแรงทำงาน สืบค้นข้อมูล ออกภาคสนามเก็บข้อมูล  ทำการทดลอง และอื่น ๆ  ในการให้ได้ข้อมูลดิบสำหรับนำมาวิเคราะห์  
โครงการยุววิจัยยางพาราเริ่มต้นเมื่อปี 2546 ในงานครบรอบ 10 ปี สกว.สัญจรใต้ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่   ในงานปีนั้น สกว. มีกิจกรรมประกวดการเขียนข้อเสนอโครงงานที่เกี่ยวกับยางพารา  มีข้อเสนอโครงการผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 14 เรื่อง  จึงอยากลองดูว่าทำได้ตามที่เขียนหรือไม่ โดยให้ทุนไปทำวิจัย ผลปรากฏว่า ครูและนักเรียนสามารถผลิตผลงานวิจัยได้อย่างน่าพอใจ  จึงเกิดโครงการยุววิจัยยางพารา สนับสนุนครูและนักเรียนทำวิจัย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การสมัครขอทุนสนับสนุนจากโครงการยุววิจัยยางพารานั้น ครูและนักเรียนต้องเขียนข้อเสนอโครงการส่งผู้ประสานงานหรือผู้รับผิดชอบโครงการและเริ่มพัฒนาจากข้อเสนอโครงการที่ได้รับ โดยการให้ความเห็นและชี้แจงการปรับแก้ข้อเสนอโครงการเพื่อให้มีวิธีการวิจัยที่ถูกต้องขึ้น เมื่อทำวิจัยแล้วจะได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  งบประมาณที่ตั้งสอดคล้องกับกิจกรรมวิจัย  มีการสืบค้นข้อมูลเพียงพอใช้หลักฐานยืนยันเกี่ยวกับเรื่องนี้
หลังจากครูแก้ไขปรับปรุงจนได้ข้อเสนอโครงการที่คาดว่าผ่านการประเมินได้ ก็จะจัดส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอย่างน้อย 2 ท่าน ข้อเสนอโครงการที่ผ่านการประเมินแล้ว ถูกส่งกลับให้ครูแก้ไขอีกครั้ง ก่อนจัดทำสัญญา  
ที่ผ่านมาพบว่า ขั้นตอนการพัฒนาข้อเสนอโครงการมีความสำคัญมาก  ช่วยให้ครูได้ฝึกการออกแบบการวิจัย เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  การส่งกลับแก้ไขเปรียบเสมือนการส่งผลการตรวจ   ทำให้ครูที่ผ่านขั้นตอนนี้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น  สังเกตได้จากการเขียนข้อเสนอโครงการในปีต่อมา
 

 

ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย  ครูเป็นกลไกที่สำคัญในการทำวิจัยของโรงเรียน โครงการยุววิจัยยางพาราจึงให้ความสำคัญกับการกระบวนการพัฒนาครู  โดยเลือกใช้วิธีการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เป็นเวลา 2-3 วัน  ในการประชุมมีกิจกรรมให้ความรู้ ทัศนศึกษา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เช่น วิธีการวิจัย  จากประสบการณ์จัดประชุมครูที่ผ่านมาพบว่า ทำให้ครูต่างโรงเรียนเป็นเพื่อนกันและมีความเอื้อเฟื้อต่อกัน เช่น ครูสุกัญญา โชติวรรณพร โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย เชียงราย ขาดวัสดุใบยางในการทำโครงงาน  จึงขอความช่วยเหลือไปยังครูอิ่มใจ จินดาพล โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน จังหวัดพังงา ให้ช่วยหาและจัดส่งใบยางพารามาให้ ดังนั้นการสร้างเครือข่ายครูให้ช่วยเหลือกันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยาก ถ้ามีเวลาให้อยู่ร่วมกัน เครือข่ายครูจะเป็นพื้นฐานสำคัญในกระบวนการพัฒนาและเรียนรู้  
การนำวิธีการวิจัยมาแลกเปลี่ยนกันและจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยวิจารณ์เชิงเสนอแนะ จะทำให้ครูได้ประสบการณ์ที่มีคุณค่าขึ้น  ครูบางคนได้สะท้อนความรู้สึกถึงประโยชน์ที่ได้รับ คือ ได้ข้อคิดที่ดี ได้มุมมองที่แตกต่างและครอบคลุมมากขึ้น รวมไปถึงได้โจทย์วิจัยใหม่อีกหลายเรื่อง   ครูได้เรียนรู้มากมายจากเวทีประชุม
ในระหว่างดำเนินการทำวิจัย  ผู้ประสานงานจะลงไปเยี่ยมโครงงานที่โรงเรียน เพื่อไปรับรู้บริบทของโรงเรียน และบรรยายถ่ายทอดประสบการณ์จัดการงานวิจัยให้แก่ครูและนักเรียน ในเวทีการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าที่โรงเรียน ด้วยบรรยากาศการวิจารณ์เชิงเสนอแนะที่ดี ทำให้ผู้บริหารบางโรงเรียนรับรู้ถึงปัญหาและช่วยแก้ปัญหาให้ โดยเฉพาะการให้สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น  สถานที่ทดลอง  และไฟฟ้า เป็นต้น     นั่นก็แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารโรงเรียนเริ่มเข้าใจและเห็นความสำคัญของการทำวิจัย  
การติดตามความก้าวหน้า ทำให้ได้เห็นข้อแตกต่างระหว่างโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนวิชาโครงงานกับโรงเรียนที่ไม่บังคับเรียนวิชาโครงงาน  คือ ความสุขในการทำวิจัย  นักเรียนที่มาทำวิจัยโดยสมัครใจโดยไม่ถูกบังคับด้วยวิชาเรียน จะมีความสุขและอยากเรียนรู้มากกว่า ดูได้จากพฤติกรรมการนำเสนอและผลงานวิจัย
การดำเนินงาน 6 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีจำนวนโครงงานเพิ่มขึ้นทุกปี  โรงเรียนมัธยมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ปลูกยางพาราเกือบทั้งหมดได้รับจดหมายข่าวจากโครงการยุววิจัยยางพารา  ในปี 2551 ได้สนับสนุนโครงงานทั้งหมด 64 เรื่อง  ได้พัฒนาครูที่ปรึกษาจำนวน 65 คน และนักเรียน 182 คน (ชาย 70 คน และหญิง 112 คน)  โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 32 โรง  ซึ่งเป็นโรงเรียนในภาคเหนือ 5 โรง ภาคอีสาน 9 โรง ภาคกลาง 2 โรง ภาคตะวันออก 3 โรง และภาคใต้ 13 โรง  
 

 

ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย  
 

 

 ทุกโครงงานได้เข้าร่วมประชุมนำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์  มีการคัดเลือกโครงการเด่นจากรายงานวิจัย เพื่อเลือกมานำเสนอบนเวทีจำนวนร้อยละ 25 ของโครงการทั้งหมด มีการให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ครูและนักเรียนผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ  การได้มีโอกาสมาร่วมประชุมนำเสนอผลงานวิจัย เป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนอยากเข้าร่วมโครงการนี้  โดยเฉพาะนักเรียนที่อยู่นอกเมือง  
โครงการยุววิจัยยางพารา เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการพัฒนาครูและนักเรียน การไหลทรัพยากรไปในรูปของทุนทำวิจัย จะช่วยให้ครูและนักเรียนมีโอกาสผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพและได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นเพราะมีทุนทำวิจัยไม่ซ้ำกับผู้อื่น และมีคุณค่าเพราะมีผู้ทรงคุณวุฒิช่วยดูให้ ได้ฝึกทำวิจัยด้วยกระบวนการที่ถูกต้องเพราะมีพี่เลี้ยง คือ สำนักประสานงาน โครงการยุววิจัยยางพาราถือว่าเป็นโครงการหนึ่ง ที่ขับเคลื่อนการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยให้เกิดขึ้นในโรงเรียน  
โรงเรียนที่ขอทุนจากโครงการยุววิจัยอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี เช่น มีบรรยากาศเชิงวิชาการมากขึ้น ครูที่ปรึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์  จ.นครปฐม  โรงเรียนวังหลวงพิทยาสรรค์ จ.หนองคาย  และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ จ.ระยอง เป็นต้น  
โครงการครุวิจัย มีความแตกต่างจากโครงการยุววิจัยยางพารา ตรงที่เน้นการสอนและฝึกครูอย่างเข้มข้น เพื่อให้ครูมีทักษะทำวิจัย   โดยครูต้องจากบ้านไปฝึกทำวิจัยหนึ่งเดือนเต็ม  ซึ่งดูเหมือนจะนานเกินไปสำหรับคนที่มีครอบครัว แต่หลังจากที่ได้ผ่านโครงการนี้แล้ว ครูทุกคนต่างสะท้อนออกมาตรงกัน ว่าหนึ่งเดือนเป็นเวลาที่ไม่พอสำหรับการฝึกทำวิจัย ยังมีอีกหลายเรื่องที่ไม่ได้เรียนรู้  
โครงการยุววิจัยยางพารา เน้นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง  ครูและนักเรียนใช้เวลา 10 เดือนในการเรียนรู้ ตั้งแต่การคิดโจทย์ การเขียนข้อเสนอโครงการ การพัฒนาข้อเสนอโครงการ  การทำวิจัย จนกระทั่งปิดโครงการด้วยการเขียนบทความวิจัย 1 เรื่อง และเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม
 

 

ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย  การจัดการในขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการยุววิจัยยางพารา ทำให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้การทำวิจัยในทิศทางที่ถูกต้อง และได้ความรู้ยางพาราถึง 65 เรื่องในปีนี้  ถ้าครูทำวิจัยอย่างต่อเนื่องในเรื่องเดียวกัน ก็ย่อมมีความชำนาญในเรื่องดังกล่าวนั้น  สามารถนำไปถ่ายทอดหรือเป็นคลังความรู้ให้แก่ชุมชนและโรงเรียนได้ ตัวนักเรียนเองหากไม่ได้ไปหางานทำนอกถิ่น ก็จะมีโอกาสได้ใช้ความรู้เรื่องยางพาราที่ได้รับในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับยางพารา  โรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับงานวิจัยก็สามารถสะสมความรู้ยางพาราไว้ที่โรงเรียน  ถ้าสะสมไว้มากพอก็จะกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน  การทำวิจัยที่โรงเรียนจึงช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างมหาศาล หากได้รับการจัดการที่ดี
ประโยชน์ของโครงการครุวิจัยและโครงการยุววิจัยยางพารา คือ การวางรากฐานการวิจัยไว้ที่ครูและโรงเรียน  เน้นที่ตัวครูเพราะเป็นบุคคลสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษามากที่สุด  ส่งผลให้นักเรียนที่จบออกไปก็จะมีทักษะในการทำวิจัย  เป็นคนมีเหตุมีผล คิดเป็น และทำเป็น    
ก้าวต่อไปของโครงการทั้งสอง คือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้ครูในแต่ละโรงเรียนอย่างน้อยร้อยละ 20 ทำวิจัยเป็น เพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในโรงเรียน ให้เป็นวัฒนธรรมการวิจัย ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว
 

 
ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย สังเคราะห์บทความเรื่อง “ครุวิจัยและยุววิจัย”
ครุวิจัยและยุววิจัย...สนับสนุนครูทำวิจัย   โดย รศ.ดร.สุธีระ  ประเสริฐสรรพ์     
    
รศ. ไพโรจน์  คีรีรัตน์  (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ผู้ประสานงานที่ช่วย สกว. ฝ่ายอุตสาหกรรมดูแลเรื่องการวิจัยของครูและเด็ก  ท่านเป็นวิศวกรที่ “อิน” กับการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานอย่างมาก    การได้คลุกคลีมาหลายปีทำให้เห็นสาเหตุแห่งปัญหาของการศึกษาไทย  จึงใช้งานวิจัยที่ สกว. สนับสนุนอยู่เข้าทำงานแก้ปัญหานี้    มีคนสงสัยเป็นจำนวนมากว่าฝ่ายอุตสาหกรรมเกี่ยวอะไรด้วยกับครูและนักเรียนมัธยม      
    
งานวิจัยของครูและนักเรียนนี้เริ่มจากเราต้องการแก้ปัญหากำลังคนในอุตสาหกรรมยางพารา (ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของ สกว.) เราเริ่มจากระดับปริญญาตรีและปริญญาโท  โดยให้ทำโจทย์ที่มีเงื่อนไขจริงของผู้ประกอบการ ต่อมาเมื่อเห็นว่าเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้สนใจงานเทคโนโลยียางพารา (เพราะทราบว่ามีผู้สนใจเรียนน้อยมาก)  และเมื่อ พรบ. การศึกษาเปิดทางให้มีการจัดการการศึกษาที่เป็นเรื่องท้องถิ่นตนเอง   สกว. จึงขยายเป็นงานยุววิจัยยางพารา (นักเรียนเรียนรู้จากการทำวิจัย)  ต่อมาเมื่อ สกว. ฝ่ายอุตสาหกรรมรับผิดชอบสนับสนุนงานวิจัยแบบ ABC (Area-Based Collaborative Research) ใน 5 จังหวัดภาคใต้ (https://abc-cs.trf.or.th            ) ซึ่งงานหลักงานหนึ่งของ ABC คือการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาด้วยงานวิจัย  รศ. ไพโรจน์ จึงขยายงานออกเป็นครุวิจัย  คือสร้างความสามารถวิจัยให้กับครู  เพื่อให้การเรียนการสอนมีการค้นหาคำตอบเอง (วิจัย) ผสมอยู่บ้าง  การสนับสนุนนี้สอดคล้องกับกระแสที่ครูต้องการทำผลงานวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะกันมาก  สกว. วิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนการวิจัยของครูเสียใหม่  นั่นคือต้องให้ครูรู้จักงานวิจัยแบบใหม่ที่ต่างจาก “วิจัยในชั้นเรียน” ของกระทรวงศึกษาธิการ (เป็นวิธีการแบบ template ที่มีปัญหาลอกกันและจ้างทำกันมาก)    
    
จากข้อเขียนของ รศ. ไพโรจน์ เราสรุปได้ว่า    
    
1. ครูเป็นกลุ่มบุคลากรการศึกษาที่มีศักยภาพใช้งานวิจัยพัฒนาตนเองอย่างมาก  ครูส่วนมากมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนา (รวมทั้งมีเงื่อนไขพร้อมที่ครูต้องทำวิจัย)  แต่ครู (และกระทรวงศึกษาธิการ)  ไม่เข้าใจเรื่องวิจัยดีพอ  ที่จะนำไปพัฒนาการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์กับนักเรียนได้    
    
2. หากเราเปิดโอกาสให้ครูเรียนรู้การทำวิจัยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ (แทนการวิจัยแบบ template)  ครูจะคิดนอกกรอบง่ายขึ้น  จะช่วยให้พัฒนารูปแบบการสอนในวิชาต่างๆ ได้    
    
3. สามารถใช้การวิจัยและ internet เป็นเครื่องมือสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของครูได้  โดยใช้การวิจัยมาเป็นเนื้อหาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (การจัดการความรู้)    
    
4. นักเรียนและครูส่วนมากยังแยกไม่ออกระหว่างงานฝีมือ/สิ่งประดิษฐ์กับการวิจัย  แต่โครงการของ สกว. ช่วยสร้างความเข้าใจใหม่  และไม่กลัวงานวิจัยอีกต่อไป    
    
เราจำเป็นต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งที่จะทำให้คนในวงการการศึกษามีความเชื่อมั่นว่าการวิจัยมีหลายระดับ  และสามารถใช้กับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้  ขณะนี้ สกว. กำลังทดลองโจทย์ง่ายๆ กับนักเรียนระดับประถมศึกษา  โดยใช้การท่องเที่ยวในท้องถิ่นเป็นแกนในการทำวิจัย
 

 
 
 
   

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 84

อัพเดทล่าสุด