https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
4 หน่วยงาน จับมือขับเคลื่อนมันสำปะหลัง นำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจ MUSLIMTHAIPOST

 

4 หน่วยงาน จับมือขับเคลื่อนมันสำปะหลัง นำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจ


569 ผู้ชม


4 หน่วยงาน จับมือขับเคลื่อนมันสำปะหลัง นำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจ



 

ข่าวที่  87/ 2553

วันที่ 25 พฤษภาคม 2553

 

4 หน่วยงาน จับมือขับเคลื่อนมันสำปะหลัง นำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจ

กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับกระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และ ม.เกษตรฯ เดินหน้าบูรณาการเขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่ออาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรม เร่งหารือผลักดันมันสำปะหลังเป็นสินค้านำร่องในการจัดทำแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการอย่างครบวงจร

นายนิพนธ์  ดิลกคุณานันท์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา (นายวิทยา กามนต์) สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกร และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ถึงการบูรณาการเขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่ออาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรม โดยความร่วมมือระหว่าง 4 ฝ่าย ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถึงแนวทางการผลักดันมันสำปะหลังเป็นสินค้านำร่องในการจัดทำแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการอย่างครบวงจร พร้อมลงพื้นที่เพื่อดูงานที่บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด

สำหรับการหารือกันในประเด็นของการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง พบว่า ผู้ประกอบการและเกษตรกรได้มีการใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการกำจัดเพลี้ยแป้ง และใช้สารเคมีเพื่อแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกเพื่อควบคุมการระบาดซึ่งได้ผลดี แต่ควรเข้มงวดในการย้ายท่อนพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดข้ามเขต  ซึ่งหลังจากมีโครงการประกันรายได้เกษตรกรของรัฐบาล ทำให้เกษตรกรให้ความสนใจกับการซื้อขายแบบมีข้อสัญญาผูกพัน (Contract farming) ลดลง สำหรับจังหวัดนครราชสีมามีผู้ประกอบการมากราย ทำให้เกิดการแข่งขันในการซื้อ หากไม่มีความซื่อสัตย์เกษตรกร ก็สามารถเลือกขายให้รายอื่นๆ ได้ ดังนั้นการแข่งขันในตลาดจะสร้างความเป็นธรรมได้ในระดับหนึ่ง ภาครัฐจึงควรจะเน้นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นมากกว่า เนื่องจากราคามันสำปะหลังประเทศไทยไม่สามารถกำหนดเองได้ ขึ้นอยู่กับตลาดต่างประเทศ แต่สิ่งที่จะควบคุมได้ก็คือไม่ทำให้ต้นทุนสูงเกินไป โดยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต

อย่างไรก็ตาม ในส่วนการดำเนินการในรูปแบบคลัสเตอร์มันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า   ที่ผ่านมายังไม่มีการดำเนินการในรูปแบบคลัสเตอร์ แต่มีการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการ และของเกษตรกร โดยยังขาดหน่วยงานที่จะเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงให้เป็นคลัสเตอร์  ซึ่งทางจังหวัดนครราชสีมา จะร่วมหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางให้จังหวัดเป็นเจ้าภาพบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ต่อไป

********************************************

ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์

ข้อมูล : สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร

อัพเดทล่าสุด