https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประชุมเครือข่าย สรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา MUSLIMTHAIPOST

 

ประชุมเครือข่าย สรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา


686 ผู้ชม


ประชุมเครือข่าย สรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา

84 tambon (7,041 views) first post: Mon 24 May 2010 last update: Mon 24 May 2010

ส่งท้ายปีฉลูต้อนรับปีเสือ ด้วยการประชุมเครือข่ายทั้ง 4 ภาค เพื่อสรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อวางแนวทางการดำเนินงานในอีกสองปีข้างหน้า พร้อมปรับปรุงแก้ไขในข้อผิดพลาดต่างๆ ที่ผ่านมา


หน้าที่ 1 - ประชุมเครือข่าย สรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา


ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของวารสารจดหมาย ข่าว รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียงและ วิชาการ.คอม
https://www.pttplc.com/TH/Default.aspx 




           ส่งท้ายปีฉลูต้อนรับปีเสือ  ด้วยการประชุมเครือข่ายทั้ง 4 ภาค เพื่อสรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา  เพื่อวางแนวทางการดำเนินงานในอีกสองปีข้างหน้า  พร้อมปรับปรุงแก้ไขในข้อผิดพลาดต่างๆ ที่ผ่านมา  โดยเริ่มที่ภาคเหนือ


ประชุมเครือข่าย สรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา



ประชุมเครือข่าย สรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมาภาคเหนือ
           แกนนำเครือข่ายตำบลวิถีพอเพียงภาคเหนือ 23 ตำบล มากันกว่า 100 คน  รวมตัวกันที่ห้องประชุมสนามกีฬา 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่  ทำเอาห้องเล็กลงไปถนัดใจ  แถมด้วยการแสดงนิทรรศการการเรียนรู้ต่างๆ จากการเข้าร่วมโครงการฯ  อาทิการเผาถ่านโดยใช้เตาเผาถ่าน 200 ลิตร การทำเกษตรอินทรีย์  การผลิตน้ำนาอเนกประสงค์  การทำเตาซุปเปอร์อั้งโล่  การเพาะเห็ด  การทำเชื้อเห็ดฟาง  การส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพตำบล  การสร้างเครือข่ายทรัพยากร  การเก็บข้อมูลชุมชนและครัวเรือนอาสา  รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเรียนรู้มาแลกเปลี่ยนกัน
           โดยการถอดบทเรียนการทำงานของทั้ง 23 ตำบล  ทำให้คณะทำงานและแกนนำเครือข่ายได้ทราบแนวทางการทำงานในปี 2553 และความสำคัญของการรวมเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะนำไปสู่เป้าหมาย ร่วมกันอย่างยั่งยืน
            ส่วนไฮไลท์ของงานนี้ อยู่ที่ อ.ยักษ์  วิวัฒน์  ศัลยกำธร  ประธานมูลนิธิกสิกรธรรมชาติ  กรรมการที่ปรึกษาโครงการฯ  มาใส่รหัสสร้างความเชื่อมั่นในแนวทางตามพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง  โดยชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์โลกที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน  ชุมชนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้รากเหง้าของตนเอง  ค้นหาให้เจอ  แล้วระเบิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เข้าสู่ตำบลวิถีพอเพียงเพื่อถวายแต่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว  ในปี 2554 ตามเป้าหมายของโครงการฯ
ประชุมเครือข่าย สรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมาภาคอีสาน
           แกนนำเครือข่ายตำบลวิถีพอเพียงภาคอีสาน 22 ตำบล  มารวมตัวกัน ณ ศูนย์พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ 5 อำเภออุบลรัตน์  จังหวัดขอนแก่น  โดยมี พ่อเล็ก  กุดวงศ์แก้ว  ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดสกลนคร  กรรมการที่ปรึกษาโครงการฯ  มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
           พ่อเล็กได้ยกตัวอย่างครอบครัวของตนที่มีกัน 10 คน (ลูก 8 คน ได้เริ่มสำรวจค่าอาหารเฉลี่ยของครอบครัววันละ 20 บาท/คน/มื้อ รวมทั้งหมดวันละ 600 บาท คิดเป็นปีรวมทั้งครัวเรือนก็ประมาณ 120,000 บาท ) ซึ่งถือว่าสูงมากแต่ที่อยู่ได้ทุกวันนี้เพราะว่ามีนา มีป่า สามารถหากินได้  โดยยึดหลักว่า  ห้ามคิดว่าทำอย่างไรถึงจะรวย  แต่ต้องคิดว่า  ทำอย่างไรถึงจะไม่จน
ประชุมเครือข่าย สรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา
ประชุมเครือข่าย สรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมาภาคใต้
           แกนนำเครือข่ายตำบลวิถีพอเพียงภาคใต้ 20 ตำบล  ลงพื้นที่ ตำบลตันหยงไป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีพอเพียงตามแบบอย่างมุสลิม
           คุณอัมพร  ด้วงปาน  ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดสงขลา  กรรมการที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ฝากประเด็นให้กับคณะทำงานเพื่อทบทวนคือ
              1. จะตั้งตัวและสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไรใน 3 เรื่อง คือเรื่องความยากจน  เรื่องสุขภาพอนามัย  และเรื่องความแตกแยก  ทำอย่างไรในการดึงสถาบันชุมชนทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหานี้ เช่น สถาบันปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) สถาบันการศึกษา (ครู โรงเรียน) สถาบันศาสนา (วัด มัสยิด)
              2. อย่าลืมอดีต  ว่าเรามีวิถีวัฒนธรรมอย่างไรการพึ่งพาหมดไป  ปัจจุบันเราจะทำอย่างไรให้อดีตเหล่านี้กลับมา  ทำอย่างไรจะเชื่อมร้อยทุกสถาบันให้มาทำงานร่วมกันอย่างไรให้เกิดความสุขที่ ยั่งยืน  ตอนนี้เราเดินมาถูกทางแล้ว   โดยมี ปตท. เข้ามาหนุนเสริมกระตุ้นหลักคิดหลักปรัชญาให้คนในชุมชน  เราใช้ภูมิปัญญาในการขับเคลื่อน  และขอให้รักษาพื้นที่ทางวัฒนธรรมอันดีงามไว้  อย่าให้คนนอกมาถือครอง  ความรัก  ความสามัคคี ความผูกพัน  จะนำมาซึ่งความสุข  และสำคัญที่สุดคือ “การออม” ไม่ว่าจะใช้ในชื่อกลุ่มออมทรัพย์ สัจจะออมทรัพย์ หรือสหกรณ์   เราต้องลดค่าใช้จ่ายในการบริโภค  เราก็จะมีเงินเหลือเก็บ  ชีวิตขอแค่ความมั่นคง  มั่นคงทางสังคมทางสุขภาวะ  ทางอารมณ์  หลักปรัชญาเท่านั้นที่สร้างความสมดุลและพอเพียงให้กับสังคม
           คุณคือราแม  ดาราแม  ปราชญ์ชาวชาวบ้านจังหวัดนราธิวาส  กรรมการที่ปรึกษาโครงการฯ ฝากข้อคิดการดำเนินชีวิตที่ฝากไว้กับทรัพยากรธรรมชาติว่า  การที่เรายังพออยู่พอกิน  บ่งบอกว่าทรัพยากรเรายังดี  ทุกพื้นที่มีการพัฒนามาตลอดนักพัฒนาที่เข้าไปแต่ละพื้นที่ต่างก็มีวีการไม่ เหมือนกัน  บางคนก็ให้ปักป้ายอนุรักษ์  บางคนเข้าไปทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนโดยที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจดังนั้น อยากให้ทุกคนช่วยกันดูแลทรัพยากรร่วมไปถึงวัฒนธรรมของชุมชนการจะเกิดความ สามัคคีที่ได้มีปัจจัยอยู่ 2 อย่าง คือ ต้องเคารพสิทธิและคุณค่าของกันและกัน
ประชุมเครือข่าย สรุปบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมาภาคกลาง
           ปิดท้ายด้วยแกนนำหรือเครือข่ายตำบลวิถีพอเพียงภาคกลาง 22 ตำบล ณ ศูนย์อบรม ปตท. อำเภอวังน้อย จังหวัดนครศรีอยุธยา  ได้ข้อสรุปจากการระดมความคิดเห็นที่น่าสนใจ 
           1. การจัดการข้อมูลชุมชน  ซึ่งหน่วยงานในพื้นที่ได้มีการจัดเก็บอยู่แล้ว  แต่คุณภาพของข้อมูลจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้เก็บข้อมูลด้วย
           2. กระบวนการจัดทำแผนชุมชนเกิดจากการจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นหลัก  แล้วน้ำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้รู้ปัญหาแล้วนำมาจัดทำแผนชุมชน
           3. การทำงานเป็นทีม  แกนนำทุกคนต้องเข้าใจและมีความเห็นพ้องต้องกันจึงจะทำให้งานร่วมกันได้ดี
           4. การพัฒนาศักยภาพแกนนำ  จะต้องทำกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน  และแกนนำควรมีคุณสมบัติดังนี้  คือ ตาโต ค่อยสอดส่องดูแล หูกาง คอยรับฟัง ปากกว้าง ค่อยสอบถาม ใจสู้ ไม่ท้อเมื่อถูกต่อว่า สองมือชู แก้ไขเอาชนะความเดือนร้อน
           5. ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ควรมีการว่างแผนและตรวจสอบด้านการเงิน  เพื่อไม่กอ่ให้เกิดปัญหา 


อัพเดทล่าสุด