จักกับปตท.สผ. ตอนที่ 4 MUSLIMTHAIPOST

 

จักกับปตท.สผ. ตอนที่ 4


892 ผู้ชม


จักกับปตท.สผ. ตอนที่ 4

ปตท.สผ. (14,780 views) first post: Wed 19 May 2010 last update: Wed 19 May 2010

ปทต.สผ. มุ่งมั่นทุกวิถีทางที่จะดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมโดยมิให้เกิดผลกระทบด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย ต่อพนักงาน ผู้รับเหมา สาธารณชน และสิ่งแวดล้อม


หน้าที่ 1 - รู้จักกับปตท.สผ. ตอนที่ 4

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของปตท.สผ. และ วิชาการ.คอม
https://www.pttep.com/


การบริหารงานความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม


จักกับปตท.สผ. ตอนที่ 4


          ปทต.สผ. มุ่งมั่นทุกวิถีทางที่จะดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมโดยมิให้เกิดผล กระทบด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย ต่อพนักงาน ผู้รับเหมา สาธารณชน และสิ่งแวดล้อม
          เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ และอัตราการสูญเสียให้น้อยที่สุด ปตท.สผ. จึงได้กำหนดแนวทางและเป้าหมายต่างๆ ที่จะปรับปรุงการดำเนินงานด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้จัดให้มีการประชุมกับผู้รับเหมาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนทำความเข้าใจและหาแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมร่วมกันอีกด้วย
          เนื่องจาก ปตท.สผ. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ จึงกำหนดให้มีสูตรการฝึกอบรมภาคบังคับต่างๆ  ในด้านความปลอดภัย นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานและผู้รับเหมาของ ปตท.สผ. ได้รับการฝึกอบรมอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามลักษณะงาน นอกจากนั่น บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นในการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังจิตสำนึกของพนักงาน และผู้รับเหมาให้ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
          สำหรับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) นัน ปตท.สผ. ได้พัฒนาเทคโนโลยีและวิธีการที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทั้งยังได้ปรับปรุงเทคนิคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินงานของ ปตท.สผ. นั้นจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสาธารณชน และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศในกลุ่ม Annex I ซึ่งจะต้องทำการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกตามพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ภาจใต้การให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Frameork Convention on Climate Change, UNFCCC) แต่ ปตท.สผ. ยังคงดำเนินการเพื่อสนับสนุนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของบริษัทฯ ทั้งในส่วนที่ต้องผ่านทางกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism, CDM) และโครงการที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจอยู่แล้วและไม่ต้องดำเนินการผ่านกลไก ดังกล่าวไปพร้อมกัน 
          และเพื่อเตรียมรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดต่างๆ ปตท.สผ. ได้เตรียมแผนฉุกเฉิน และได้ดำเนินการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ปตท.สผ. ยังได้จัดให้มีการตรวจสอบ (Audit) ในด้านความปลอดภัย มั่นคง  อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้แก่โครงการต่างๆ ของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง โดยผู้ตรวจสอบจากหน่วยงานภายในและภายนอก รวมถึงการตรวจสอบโดยผู้ร่วมทุนอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานสากลและมี ความปลอดภัยสูงสุด
ความสำเร็วจที่ผ่านมา
ระบบ การบริหารด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของ ปตท.สผ
.
          ระบบการบริหารด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของ ปตท.สผ.  ได้ถูกจัดเตรียมขึ้นโดยให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เป็นที่ ยอมรับในระดับสากล ซึ่งได้แก่ สมาคมผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซ (OGP) เป็นต้น โดย ปตท.สผ. ได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ ของบริษัทฯ เพื่อให้ความสอดคล้องกับมาตรฐานดังกล่าวตั้งแต่ปี 2550
ISO 14001

          ด้วยเจตจำนงที่จะดำเนินงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่ยอมรับและตรวจ สอบได้ในระดับสากล ปตท.สผ. จึงได้นำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสากล ISO 14001 เข้ามาปรับใช้ในการปฏิบัติงานในหน่วยปฏิบัติการต่างๆ ของบริษัท ได้แก่ โครงการพีทีทีอีพี 1 อาคารสำนักงาน ปตท.สผ. แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติบงกช ฐานสนับสุนการพัฒนาปิโตรเลียมและโครการเอส 1 ซึ่งส่งผลให้หน่วนปฏิบัติการเหล่านั้นได้รับการรับรองระบบมาตรฐานการจัดการ สิ่งแวดล้อม จากบริษัท AJA Registrars Ltd. ภายใต้การรับรองจากสถาบันการรับรองแห่งสหราชอาณาจักร (United Kingdom Accreditation Service หรือ UKAS) และได้ผ่านการตรวจติดตามผลจากคณะผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบจากบริษัท AJA Registrars Ltd. อย่างต่อเนื่อง
• 25 เมษายน 2540
          โครงการพีทีทีอีพี 1 ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมสากาล ISO 14001 ด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม นับเป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ รับรองดังกล่าว และในปี 2546 โครงการพีทีทีอีพี 1 ได้ขยายการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมสากล ISO 14001 ด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมครอบคลุมแหล่งผลิตสังฆจายอีกด้วย
• 25 มิถุนายน 2543
          อาคารสำนักงาน ปตท.สผ. ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมสากล ISO 14001 ด้านการบริหารและการบริหารบำรุงรักษาอาคารสำนักงาน นับเป็นอาคารสำนักงานแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับใบรับรองดังกล่าว นอกจากนั้นในปี 2547 อาคารสำนักงาน ปตท.สผ. ยังได้ขยายขอบเขตการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมสากล ISO 14001 ครอบคลุมศูนย์วิจัยตัวอย่างหิน ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย
• 19 ธันวาคม 2544
           แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติบงกช ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในอ่าวไทย ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดบ้อมสากล ISO 14001 ด้านการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ และคอนเดนเสท
          ฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียม ปตท.สผ. จังหวัดสงขลา ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมสากล ISO 14001 ด้านการสนับสนุนกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่งทะเล ซึ่งรวมถึงการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย การจัดการส่งพนักงานและวัสดุ การบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือและการจัดเก็บวัสดุ นับเป็นฐานส่งกำลังบำรุงสำหรับกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแห่งแรกใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับใบรับรองดังกล่าว
• 1 มกราคม 2547
          โครงการเอส 1 หรือแหล่งสิริกิต์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันบนบกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก็ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมสากล ISO 14001 ด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 โดยขณะนั้นบริษัท ไทยเชล์ เป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เมื่อ ปตท.สผ. ได้เข้าเป็นผู้ดำเนินการโครงการดังกล่าว ปตท.สผ. ยังคงยึดนโยบายที่จะรักษามาตรฐานและพัฒนาการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในโครงการเอส 1 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
          ในปี 2549 หน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001:1996 สามารถผ่านการตรวจสอบเพื่อให้ได้รับการรับรองในมาตรฐาน ISO 14001:2004 ได้ทั้งหมด นับว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการบริหารและจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ
ประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย ของเรือ และท่าเรือระหว่าประเทศ
          นับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 เป็นต้นมา โลกได้ให้ความสำคัญในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย (Security) มากขึ้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเป็นสาเหตุของความสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินอย่างมหาศาล จึงเป็นเหตุให้องค์กรระหว่างประเทศคือ International Maritime Organization (IMO) ได้กำหนดประมวลข้อบังคับดังกล่าว เพื่อให้ความมั่นคง ปลอดภัย กับเรือ และท่าเรือระหว่างประเทศ ซึ่งมีโอกาศจะประสบภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security) เช่น ภัยจากการก่อการร้าย การก่อวินาศกรรม เป็นต้น


จักกับปตท.สผ. ตอนที่ 4


          ท่าเรือ ปตท.สผ. ซึ่งตั้งอยู่ ณ ฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียม จังหวัดสงขลา ได้ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยต่อท่าเรือ และเรือที่ใช้บริการจากท่าเรือนี้ จึงได้พัฒนาจัดทำแผนการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยท่าเรือ (Jetty Security Plan) ขึ้นโดยให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย ของเรือ และท่าเรือระหว่างประเทศ ซึ่งแผนดังกล่าวได้รับการอนุมัติและรับรองจากกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์ นาวี (ขน) อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา


จักกับปตท.สผ. ตอนที่ 4


การกำกับดูแลกิจการที่ดี และ จรรยาบรรณธุรกิจ ของ ปตท.สผ.
          ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานโดยยึดการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นแนวทางในการ บริหารจัดการบริษัทฯ และได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือปฏิบัติตั้งแต่ปี 2544 ซึ่ง ปตท.สผ. เชื่อมั่นว่าจะสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายในการ “เติบโต รุ่งเรือง มั่นคง ยั่งยืน และสง่างาม” และเป็นการสร้างมูลค่าระยะยาวให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยได้คำนึงถึงความถูกต้อง โปร่งใน ยุติธรรม เพื่อเป็นที่ไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย หลักการสำคัญ 6 ประการของการกำกับดูแลกิจการที่ดีประกอบด้วย (1) ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทำของตนเอง (2) ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ (3) ความยุติธรรมและซื่อสัตย์ (4) การดำเนินงานที่โปร่งใส (5) การสร้างคุณค่าระยะยาวแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุฝ่าย และ (6) การส่งเสริมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
          เพื่อให้มีมาตรฐานด้านจริยธรรมในการทำงานตามการกำกับดูแลกิจการที่ดี ปตท.สผ. จึงได้จัดให้มีจรรยาบรรณธุรกิจที่มีเจตนารมณ์และมุ่งมั่นให้การดำเนินธุรกิจ เป็นไปอย่างซื่อสัตย์ เป็นธรรม และตรวจสอบได้ขึ้นมา สำหรับใช้เป็นกรอบความประพฤติที่พึงประสงค์ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการ ปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งใช้กำกับดูแลการปฏิบัติงานขอกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานและเป็นเสมือนเกราะป้องกันไม่ให้มีการทำผิด โดยเป็นกรอบความประพฤติในเรื่องหลักๆ 13 หัวข้อ ที่ ปตท.สผ. จะสร้างคุณค่าระยะยาวได้อย่างยั่งยืน ซึ่งใช้ยุทธวิธีที่เป็นรูปธรรมและสามารถตรวจสอบได้ 4 ประการ คือ มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความโปร่งใส และมีความยุติธรรม
          ปตท.สผ. เชื่อมั่นว่าการยึดถือปฏิบัติตามการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำพาบริษัทฯ ไปสู่ความสำเร็จที่มั่นคงยั่งยืน เป็นที่ยอมรับและมั่นใจของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย


จักกับปตท.สผ. ตอนที่ 4



อัพเดทล่าสุด