https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคมือ เท้า ปาก MUSLIMTHAIPOST

 

โรคมือ เท้า ปาก


1,107 ผู้ชม


โรคมือ เท้า ปาก

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและวิชาการดอทคอม
https://ict.moph.go.th/English/Eindex.htm  


           เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด  พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง

การแพร่ติดต่อของโรค
           การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย  โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล  หรืออุจจาระของผู้ป่วย  และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน  ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน  จะพบเชื้อในอุจจาระได้  แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า

อาการของโรค

           หลังจากได้รับเชื้อ  3 - 6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย  เริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ  อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปากและไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม  ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส  ซึ่งบริเวณรอบ ๆ จะอักเสบและแดง  ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ จะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย  อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน  7-10 วัน


โรคมือ เท้า ปาก


การรักษา
           โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้  ยาแก้ปวด ควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะ  และให้ผู้ป่วยรับประทานทานอาหารอ่อน ๆ  รสไม่จัด  ดื่มน้ำและน้ำผลไม้  และนอนพักผ่อนมาก ๆ  ถ้าเป็นเด็กอ่อน  อาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดจากขวดตามปกติโรคมักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เชื้อไวรัสบางชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้  จึงควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมทานอาหารและดื่มน้ำ  อาเจียนบ่อย  หอบ  แขนขาอ่อนแรง  อาจเกิดภาวะสมองหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด  ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

การป้องกันโรค
           โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้รักษาความสะอาด  ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ (ด้วยน้ำและสบู่)  โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร   รวมทั้งการใช้ช้อนกลาง  และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน  เช่น  แก้วน้ำ  หลอดดูด  ผ้าเช็ดหน้า  และผ้าเช็ดมือ  เป็นต้น
โรคมือ เท้า ปาก
           สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ  รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้องด้วย หากพบเด็กป่วย  ต้องรีบป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ๆ  ควรแนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์  และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วันหรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ  ระหว่างนี้ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด  เช่น สนามเด็กเล่น  สระว่ายน้ำ และห้างสรรพสินค้า  และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย  หรืออุจจาระเด็กป่วย
           หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว (1-2 สัปดาห์) และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน



อัพเดทล่าสุด