https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ความสุขของคนไทยกับตัวชี้วัด MUSLIMTHAIPOST

 

ความสุขของคนไทยกับตัวชี้วัด


791 ผู้ชม


ความสุขของคนไทยกับตัวชี้วัด

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่างวารสารสื่อชุมชนและวิชาการดอทคอม
www.pttplc.com
รศ.ดร.วิมุต  วานิชเจริญธรรม  คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย



          ความสุขในจิตใจเป็นสิ่งที่ยากต่อการประเมินค่ายิ่งนักแม้เราจะทราบดีว่า  ภาวะทางจิตใจมีผลต่อความกินดีความสุขหรือความทุกข์ในสังคมนั้น  ยังเป็นการค้นคว้าวิจัยที่อยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น



ความสุขของคนไทยกับตัวชี้วัด


          แนวทางการประเมินระดับความสุขของประชาชนในขณะนี้  จะใช้วิธีการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเป็นสำคัญ  อย่างไรก็ดีความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความรู้สึกส่วนบุคคลนั้น  ถือเป็นตัวชี้วัดที่ยากต่อการคำนวณและทำการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลด้วยกัน  ดังจะเห็นได้จากงานศึกษาของศาสตราจารย์ Blanchower และ ศาสตราจารย์ Oswald ในปี 2005 ซึ่งได้ใช้ข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นของ International  Social  Survey  Programme (ISSP) มาวิเคราะห์หาตัวชี้วัดระดับความสุขของคนออสเตรเลีย  โดย Blanchower และ Oswald อาศัยชุดข้อมูล ISSP ที่ทำการสำรวจความเห็นของประชาชนใน  35 ประเทศซึ่งทั้งสองได้ใช้คำถามต่อไปนี้  เพื่อวิเคราะห์และจัดหาดัชนีชี้วัดระดับความสุข อาทิ
        
  “หากให้ท่านพิจารณาความเป็นอยู่โดยทั่วไปในขระนี้  ท่านคิดว่าท่านีความสขหรือความทุกข์ในระดับใด” (ให้ตอบเป็นตัวเลขนช่วง1 ถึง 7)
          “เมื่อพิจารณาในทุกๆ ด้าน  ท่านมีความพอใจในชีวิตครอบครัวเพียงใด” (ให้ตอบเป็นตัวเลขในช่วง 1 ถึง 7)
          “เมื่อพิจารณาในทุกๆ ด้าน ท่านมีความพึงพอใจในงานอาชีพหลักของท่านเพียงใด” (ให้ตอบเป็นตัวเลขในช่วง 1 ถึง 7)
          “หากจะกล่าวว่า  งานของท่านนั้นไม่มีความเครียดเท่าใดนัก  ท่านจะเห้นด้วยหรือไม่เห็นด้วยแค่ไหน” (ตอบเป็นตัวเลขในช่วง 1 ถึง 5)
          “ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมานี้  บ่อยแค่ไหนที่ท่านรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงาน  จนรู้สึกไม่อยากทำอะไรอีกเมื่อกลับบ้าน” (ตอบเป็นตัวเลขในช่วง 1 ถึง 4)
          จากข้อมูลของกลุ่มประเทศที่ทำการศึกษา  ทั้งสองพบว่า  ตัวชี้วัดที่คำนวณได้ของประชาชนออสเตรเลียมีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพึงพอใจในอาชีพที่ทำอยู่ผลที่ปรากฏนี้  สามารถตีความได้ว่าชาวออสเตรเลียมีระดับของ ‘ความสุข’ ตำกว่าประชาชนในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับเดียวกัน
          อย่างไรก็ดีเมื่อนักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองนำตัวชี้วัดระดับความสุขนี้มาเทียบกับ Human  Development  Index  วึ่งเป็นตัวชี้วัดระดับคุรภาพชีวิตที่จัดเก็บดดยสหประชาชาติ  กลับพบว่าออสเตรเลี่ยมีระดับคุณภาพชีวิตดีเป้นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งเป็นอันดับที่สูงกว่าทุกชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางการสื่อสาร
ความสุขของคนไทยกับตัวชี้วัด           Haman  Development  Index นี้ ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลในฐานะตัวชี้วัดระดับการพัฒนาของประเทศที่มิได้มีเพียงระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  แต่ยังมีมิติทางด้านสุขภาพ  และด้านการศึกษาของประชาชนในประเทศรวมเข้าไว้ด้วย  โดยดัชนีนี้มีสามองค์ประกอบด้วยกัน  คือ  องค์ประกอบด้านสุขภาพ (ซึ่งวัดจากอายุเฉลี่ยของประชากรนับแต่แรกเกิด) องค์ประกอบด้านความรู้และการศึกษา (วัดจากอัตราการอ่านออกเขียนได้ อัตราส่วนการเข้าเรียนในระดับต่างๆ)  และองค์ประกอบด้านมาตรฐานความเป็นอยู่ซึ่งใช้รายได้ต่อหัวเป็นตัวแทนชี้วัด
          ความขัดแย้งระหว่างดัชนีชี้วัดต่างๆ เป็นข้อพึงระวังสำหรับการนำดัชนีชี้วัดตัวใดตัวหนึ่งไปใช้ตีความโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ‘ดัชนีความสุข’ ที่หลายฝ่ายในปัจจุบันกำลังพยายามประเมินค่าเป็นตัวเลขอยู่ในขณะนี้  ระดับของความสุขของแต่ละคนก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก  ยากเหลือเกินที่จะนำความแตกต่างนั้นมาสร้างเป็นดัชนีแสดงระดับความสุขของคนทั้งประเทศได้
          แม้เราอาจยังไม่มีตัวชี้วัดในระดับประเทศที่ดีแต่ระดับความสุขของตัวเราเองนั้นเราสามารถทราบได้  และที่สำคัญคือเราสามารถที่จะสร้างความสุขให้กับตัวเองหรืออย่างน้อยไม่ทำให้จิตใจเป็นทุกข์  วิธีการสร้างความสุขให้กับจิตใจนั้นก็ไม่ยากครับ  เพียงแค่มองทุกอย่างด้วยปัญญา  เข้าใจถึงต้นเหตุแห่งปัญหา (หรือต้นเหตุแห่งความทุกข์) และรู้จักปล่อยวางในบางเรื่องที่เกินกว่ากำลังเราจะแก้ไขเพียงเท่านี้ดัชนีความสุขของเราก็เพิ่มค่าขึ้นมาได้แล้วครับ



อัพเดทล่าสุด