https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
น้ำมันพืช (Vegetable Oil) MUSLIMTHAIPOST

 

น้ำมันพืช (Vegetable Oil)


2,937 ผู้ชม


 น้ำมันพืช (Vegetable Oil)

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ วิชาการ.คอม
                                                                   https://www.pttplc.com/TH/Default.aspx




น้ำมันพืช (Vegetable Oil)
น้ำมันพืช (Vegetable Oil)
น้ำมันพืชคืออะไร

น้ำมันพีช (Vegetable Oil) คือน้ำมันที่ผลิตได้จากพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ดอกคำฝอย ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ละหุ่ง สบู่ดำ เมล็ดเรพ ฯลฯ โดยทั่วไปน้ำมันพืชเป็นสารประกอบไตรกลีเซอไรด์มีความหนืดสูงมีโครงสร้างเป็น C3H5 เชื่อมต่อกับกรดไขมันซึ่งมีองค์ประกอบชนิดต่างๆกัน และมีปริมาณไขมันอยู่ในโครงสร้างถึงร้อยละ 94-96 ของน้ำหนักโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ ทำให้น้ำมันพืชแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน
การใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิง
เนื่องจากน้ำมันพืชมีสมบัติโดยรวมใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมากกว่าเครื่องยนต์เบนซินจึงเหมาะที่จะนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลมากกว่าเครื่องเบนซิน โดยมักใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีความเร็วรอบต่ำ เช่น เครื่องยนต์สำหรับเกษตรกรรม และการประมง 
น้ำมันพืชแต่ละชนิดให้ค่าความร้อนต่อน้ำหนักประมาณร้อยละ 83-85 ของน้ำมันดีเซล และมีความหนืดสูงกว่า 10 เท่า ทำให้หัวฉีดฉีดน้ำมันเป็นฝอยได้ยาก เป็นปัญหาต่อการป้อนน้ำมัน การสันดาปจึงไม่สมบูรณ์ เกิดคราบเขม่าเกาะที่หัวฉีด ผนังลูกสูบ แหวนและวาล์วภายหลังการเผาไหม้ และเมื่ออุณหภูมิต่ำก็อาจจะเกิดเป็นไขขึ้นได้ นับว่าเป็นปัญหาต่อระบบการใช้เชื้อเพลิง และการใช้งานในฤดูหนาวที่มีอุณหหภูมิต่ำ นอกจากนี้การที่น้ำมันพืชระเหยได้ช้า ทำให้จุดระเบิดได้ช้า และยังระเหยตัวกลายเป็นไอได้น้อยเมื่อใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบสูง


ลักษณะทางเคมีและกายภาพที่สำคัญ
ค่าความร้อนของน้ำมันพืชชนิดต่างๆ เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซล
น้ำมันพืช (Vegetable Oil)
น้ำมันพืช (Vegetable Oil)
การนำน้ำมันพืชไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
ปรับปรุงเครื่องยนต์ ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณมาก ได้แก่ การปรับปรุงระบบหัวฉีด และห้องเครื่อง การเปลี่ยนวัสดุบางชนิดในระบบเชื้อเพลิงที่อาจถูกกัดกร่อน เช่น ยาง เป็นต้น
ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันพืช ซึ่งมีความยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการปรับปรุงเครื่องยนต์ เช่น การลดค่าความหนืด เพิ่มการระเหยตัวเปนไอให้ใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล เพื่อให้สะดวกต่อการป้อนเชื้อเพลิงเข้าห้องเผาไหม้และการสันดาปที่สมบูรณ์ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเครื่องยนต์ในระยะยาวเป็นต้น ซึ่งทำได้โดยของน้ำมันพืชที่นำมาใช้ เช่น น้ำมันมะพร้าวผสมน้ำมันดีเซล เรียกว่าดีเซลมะพร้าว น้ำมันปาล์มผสมน้ำมันดีเซล เรียกว่า ดีเซลปาล์ม
การผลิตเป็นไบโอดีเซล โดยนำน้ำมันพืชไปผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้เกิดเป็นสารเอสเตอร์ ซึ่งมีคุณลักษณะทางเคมีและกายภาพใกล้เคียงน้ำมันดีเซล แต่มีจุดวาบไฟและค่าซีเทนสูงกว่า


เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันพืชมีความปลอดภัยกว่า ให้มลพิษน้อยกว่าจึงถือเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนราคาจะถูก หรือแพงกว่าน้ำมันดีเซล ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบและองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปริมาณการเพาะปลูกที่เพียงพอและเหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น เช่น สหภาพยุโรปเลือกใช้เมล็ดเรพ (Rape seed) เมล็ดดอกทานตะวัน สหรัฐอเมริกาใช้ถั่วเหลือง  เอเซียใช้มะพร้าวปาล์มน้ำมัน งา ละหุ่ง สบู่ดำ เป็นต้น

อัพเดทล่าสุด