เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย MUSLIMTHAIPOST

 

เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย


2,097 ผู้ชม


เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย

พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์  มะลิสุวรรณ
settapong_m@hotmail.com
ประจำกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
กรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)



            ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านวิทยุสื่อสารบรอดแบนด์ได้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีการใช้งานที่สูงมากในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการใช้งานที่สูง มากในอนาคต ทำให้มีผลกระทบต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ของประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับมีการกำหนดนโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดและจัดสรร คลื่นความถี่ในระดับสากลโดย ITU จึงทำให้มีความจำเป็นที่ประเทศต่างๆทั่วโลก (รวมทั้งประเทศไทย) จะต้องจัดการกับทรัพยากรคลื่นความถี่ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ ไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติ 
           โดยทั่วไป การดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) หรือที่รู้จักกันในนาม WiMAX มีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของชาติเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก BWA เป็นเทคโนโลยีที่ให้บริการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงด้วยความกว้างแถบความถี่ (Bandwidth) มากกว่า 1 MHz และรองรับอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงกว่า 1.544 Mbps ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาติได้
           ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกได้มีการพิจารณากำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใน ย่าน BWA โดยมีเหตุผลหลักคือ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะ (ITU–R Recommendation) ที่เกี่ยวข้องของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) อย่างไรก็ตาม หากประเทศใดๆไม่กำหนดความถี่ให้สอดคล้องกับ ITU ก็มิได้หมายความถึงการละเมิดกฎหมายระดับสากล แต่จะทำให้ประเทศนั้นๆยากลำบากเองที่จะต้องจัดหาอุปกรณ์เฉพาะที่ต้องสั่ง ผลิตเป็นพิเศษจากผู้ผลิตให้มีความถี่ตามที่ประเทศนั้นๆต้องการ ก็อาจจะทำให้อุปกรณ์มีราคาแพงกว่าท้องตลาดทั่วไป จนเป็นผลให้การลงทุนสูงเกินความจำเป็น และอาจจะไม่คุ้มค่าการลงทุน


เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย 3. ประโยชน์และความสำคัญของ BWA หรือ WiMAX 

           นอกจาก จุดเด่นของ WiMAX ในเรื่องระยะทางครอบคลุมที่ไกล ความเร็วที่สูง และไม่จำเป็นต้องใช้สายส่งสัญญาณ แล้วคำว่า “Interoperability”  ของ WiMAX ก็เป็นจุดแข็งอีกข้อหนึ่ง เพราะทำให้ไวแมกซ์ทำหน้าที่เป็นโครงข่ายของอุปกรณ์ใดๆก็ได้ ตั้งแต่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือ แม้กระทั่งใช้ในรูปแบบโครงข่ายปิดเพื่อการใดโดยเฉพาะ เช่น การควบคุมการเปิดปิดไฟจราจร ดังเช่นที่ประเทศไต้หวันที่ใช้บริการเครือข่ายแบบปิดพร้อมบริการแบบโซลูชั่นจาก นอร์เทล ในการควบคุมสัญญาณจราจร  นอกจากนี้  WiMAX ยังมีการ เข้ารหัสข้อมูลที่ปลอดภัยสูงอีกด้วย WiMAX จะทำให้การติดตั้งอินเทอร์เน็ตในสถานที่ต่าง ๆ ทำได้ง่าย ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต สามารถให้บริการได้หลากหลายมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งก็น้อยกว่า ความเร็วสูงกว่า เมื่อไปเทียบกับการให้บริการข้อมูลผ่านสายสัญญาณ การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับที่อยู่อาศัย ด้วยข้อจำกัดของการใช้งานระบบ ADSL ที่เป็นอยู่ในขณะนี้มีมากเช่น ระบบเครือข่ายที่จำกัดชุมสาย และระยะทางระหว่างผู้ใช้กับชุมสาย ทำให้กลุ่มผู้ใช้ตามที่อยู่อาศัยถูกจำกัด ไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นการนำเอาระบบ WiMAX มาใช้ จะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานให้มากขึ้น และบริการต่าง ๆ ที่จะให้บริการก็มีมากขึ้น เช่น การให้บริการ อินเทอร์เน็ต ในพื้นที่ห่างไกล หรือในชนบท (under-served area)  ด้วยข้อดีของระบบ WiMAX ที่มีระยะทางการรับส่งข้อมูลไกล ดังนั้น พื้นที่ใดที่ไม่สามารถให้บริการได้ทั้งสายโทรศัพท์ เคเบิล ก็เป็นอีกทางออกสำหรับการใช้งานบริการสื่อสารแบบไร้สายคุณภาพสูงมาตรฐาน IEEE 802.16e ซึ่งเป็นส่วนต่อเติมของ IEEE 802.16a เป็นคุณสมบัติที่พัฒนาขึ้นให้รองรับการใช้งานในแบบที่ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับอุปกรณ์แบบพกพาในการเดินทาง ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดี และมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา การส่งสัญญาณแบบ Cellular Backhaul สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นการรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีฐานของเครือข่าย โทรศัพท์ เพราะช่องสัญญาณของ WiMAX ที่มีขนาดใหญ่ทำให้สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลของสถานีฐานได้สะดวกมากขึ้น และไม่มีข้อจำกัดด้านภูมิประเทศและไม่ต้องอาศัยสายส่งสัญญาณอีกด้วย ทำให้ต้นทุนและค่าเช่าต่อเดือนในการตั้งสถานีฐานลดลงอย่างมาก โดยกล่าวได้ว่า WiMAX จะช่วยเป็นสะพานเชื่อมเพื่อกำจัดช่องว่างระหว่างการ‘มี’ และ ‘ไม่มี’ เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยศักยภาพของ WiMAX นั้นมากกว่าแค่การขยายกำลังและการเข้าถึงของโครงข่ายการสื่อสารแบบไร้สาย แต่ WiMAX จะช่วยส่งเสริมขอบเขตของการติดต่อระหว่างชุมชนทั่วโลกที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน  WiMAX จะทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็น การใช้อินเทอร์เนตความเร็วสูงแบบพื้นฐานตามบ้านเรือน, การติดต่อเชื่อมโยงทางธุรกิจ, และยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่สถานศึกษาและสถานที่ราชการอีกด้วย โดย Scott Richardson รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Intel-Service provider Business Group ได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อเทคโนโลยี WiMAX ได้ถึงจุดที่มีการใช้อย่างเต็มรูปแบบ ผู้บริโภคทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจจะได้รับความง่ายดาย และพลังอันเกิดจากโครงข่ายไร้สายที่มีความประหยัดทางต้นทุน” และวางแนวทางการให้บริการของบริษัทว่า “เรากำลังจะส่งมอบพันธะสัญญาของWiMAX ซึ่งครอบคลุมถึง การเป็นช่องทางบรอดแบนด์ไร้สายที่มีความเร็วสูง และใช้ต้นทุนต่ำ  ให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภคในตัวเมืองและเขตรอบนอกที่ห่างไกลทั่วโลก” และ Sean Maloney รองประธานฝ่ายบริหารของ Intel Mobility Group ยังได้ยืนยันถึงวิสัยทัศน์ต่อ WiMAX ว่า “ผู้ให้บริการโครงข่ายไร้สายและอุตสาหกรรมอุปกรณ์โทรคมนาคมนั้นกำลังวิ่งตาม และต้องปรับตัวให้ทันเทคโนโลยี WiMAX เพราะความได้เปรียบทางด้านต้นทุนที่มหาศาลในการให้บริการการติดต่อเชื่อมโยง ในระยะทางไกลหลายไมล์แก่พื้นที่ต่างๆในโลกที่ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปใน การลงทุนเพื่อให้บริการด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใช้สาย”  กล่าวคือ WiMAX เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีโอกาสขยายตัวได้อย่างมาก ในแง่ตลาด WiMAX สามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าโอเปอเรเตอร์ได้ทุกตลาดทั้ง โมบายโอเปอเรเตอร์ ฟิกซ์ไลน์ โอเปอเรเตอร์ บรอดแบรนด์ อินเทอร์เน็ต ตลาดทุกประเภทสามารถพัฒนา WiMAX ได้ทั้งสิ้น ทั้งไม่ต้องมีการวางเครือข่ายใหม่เหมือน 3G นอกจากนี้ WiMAX ยังมีต้นทุนในการติดต่อน้อยกว่า 3G ทำให้ผู้ให้บริการสามารถนำเสนอบริการ ได้ในราคาที่ถูกลง เพราะข้อดีหลัก คือ ราคาถูก ใช้งานได้เร็ว เป็นมาตรฐานทั่วโลก  นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเองจะได้รับประโยชน์และคุณค่าทางธุรกิจจาก WiMAX ที่สำคัญอีกประการ คือ สามารถลดความเสี่ยงในการนำระบบการสื่อสารแบบไร้สายความเร็วสูงมาใช้หากเลือก ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและสามารถทำงานร่วมกันได้ ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนต่อหน่วยลดลงเนื่องจากมาตรฐานจะช่วยลดความเสี่ยง ทางการเงิน (Financial Risk) ผู้ประกอบการไม่ต้องติดอยู่กับผู้ค้ารายใดรายหนึ่งเนื่องจากสถานีฐานสามารถ ทำงานร่วมกันได้กับสถานีของผู้ใช้จากผู้ผลิตรายต่างๆ  ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ประกอบการยังสามารถได้รับประโยชน์จากอุปกรณ์ที่มีต้นทุนต่ำลงและมี ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตอุปกรณ์สามารถสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์บนแพล็ตฟอร์มมาตรฐาน ปกติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถขยายการให้บริการในตลาดใหม่ (New less-populated market) โดยไม่ต้องลงทุนวางโครงสร้างพื้นฐานใหม่ทั้งหมด อีกทั้งต้นทุนที่ต่ำกว่าจึงเสนอราคาที่คุ้มค่ากว่าสำหรับผู้บริโภค จึงใช้เวลาไม่นานนักที่จะเกิดการยอมรับเทคโนโลยีใหม่นี้อย่างกว้างขวาง (Rapid Adoption Rate-ประมาณการณ์ที่ 3-5ปี ซึ่งพื้นที่ที่มีทางเลือกในการสื่อสารแบบบรอดแบนด์ยิ่งน้อย จะยิ่งใช้เวลาในการยอมรับเทคโนโลยีไวแมกซ์ได้เร็วขึ้น)
เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย
4. ประโยชน์ต่อประเทศในการนำเทคโนโลยี BWA (WiMAX) มาใช้
           ด้านการศึกษา และวัฒนธรรม
           การดำรงชีวิตของมนุษย์ในโลกยุคสังคมสารสนเทศ (Information society) จะพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อสนองความต้องการในการใช้ชีวิตให้สะดวกสบายและทันสมัย เทคโนโลยีการสื่อสารถือเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญที่สุดในการอำนวยความสะดวก ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากรที่จำเป็นในการทำกิจกรรมในวิถีชีวิตส่วนบุคคลและหมู่คณะ
           การนำเทคโนโลยี BWA หรือ WiMAX มาใช้ในการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน และการเรียนรู้อย่างจริงจัง รวมทั้ง การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งจะช่วยให้เกิดการเร่งพัฒนาและขยายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ สร้างโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศสมัยใหม่เพื่อมาใช้ในการจัดการศึกษา พัฒนาระบบบริหาร จัดการความรู้ และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางทางการศึกษาที่เชื่อมโยงทุกระดับ
          
ด้านความมั่นคงของรัฐ
           การใช้คลื่นความถี่ทางทหารและความมั่นคงในอดีตนั้น สามารถเลือกและกำหนดคลื่นความถี่ได้ง่าย เนื่องจากมีคลื่นความถี่ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมากและเหตุผลทาง ความมั่นคงที่มีลำดับความสำคัญในการใช้งานสูงกว่า อุปกรณ์ที่ใช้มักเป็นอุปกรณ์เฉพาะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทางทหาร (Military Standard) ดังนั้น การใช้คลื่นความถี่ทางทหารและความมั่นคงในอดีตจึงกระทำได้ง่าย และไม่มีการรบกวนจากคลื่นความถี่เชิงการพาณิชย์ แต่ในปัจจุบันการใช้คลื่นความถี่เชิงพาณิชย์ได้ขยายการใช้คลื่นความถี่มาก ขึ้นเพราะความสำคัญด้านเศรษฐกิจมีสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้คลื่นความถี่ เพื่อกิจการ BWA หรือ WiMAX และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆจะเป็นตัวเร่งในการเพิ่มปริมาณการใช้คลื่นความถี่ มากยิ่งขึ้น ซึ่งหน่วยทหารและหน่วยความมั่นคงอื่นๆก็ยังนำอุปกรณ์ที่ใช้งานเชิงพาณิชย์มา ใช้งานด้วย ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์เชิงพาณิชย์เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีได้รวดเร็วกว่าและ ราคาถูก ยิ่งส่งผลให้ความถี่ทางทหารและความมั่นคงได้รับผลกระทบได้ง่ายขึ้น เช่น การรบกวนซึ่งกันและกัน มีความเชื่อถือและความปลอดภัยน้อยลง เป็นต้น ด้วยเหตุที่หน่วยทหารและหน่วยความมั่นคง มีภารกิจหลักที่สำคัญหลายๆด้าน จึงสมควรได้รับการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่เป็นการเฉพาะ เพื่อสามารถนำความถี่มาใช้งานได้ทันท่วงที มีความเชื่อถือได้ ปลอดภัย และไม่ถูกรบกวน 
           ด้านประโยชน์สาธารณะ 
           การนำเทคโนโลยีการ BWA หรือ WiMAX มาใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะมีวัตถุประสงค์นานับประการ รวมถึงการป้องกันแก้ไขปัญหาพิบัติภัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงนำมาใช้เพื่อ ประโยชน์สาธารณะและบริการอย่างทั่วถึง (Universal Access) แก่ประชาชน โดยที่ในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานในกำกับของรัฐ สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และองค์กร NGO ได้มีโครงการพัฒนาสาธารณะประโยชน์อีกจำนวนมาก ที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี BWA  


เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย 5. การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับ WiMAX ในกลุ่มประเทศต่าง ๆ

          
ยุโรป
           แถบคลื่นวิทยุย่าน 2.6 GHz ถูกกำหนดให้เป็นย่านหนึ่งของ IMT2000/UMTS extension ในปี 2000 ซึ่งในการประชุม WRC2000 ได้มีการพิจารณาและสรุปให้แถบคลื่นวิทยุย่าน 2.6 GHz เป็นส่วนขยายของ third-generation mobile เพิ่มเติมจากแถบคลื่นวิทยุหลักใน 2.1 GHz
           ประเทศนอร์เวย์
           องค์กรบริหารคลื่นความถี่ของประเทศนอร์เวย์หรือ The Norwegian Post and Telecommunications Authority (NPT) ได้มีการดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ในแถบคลื่นวิทยุ 2500-2690 MHz โดยกำหนดให้ การให้ License ในรูปแบบ Regional License โดยทำการแบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็น 6 พื้นที่ (Region) และมีการกำหนดให้เป็น National License ครอบคลุมทั้ง 6 พื้นที่ ด้วย Technology and Service Neutrality 
          
ประเทศอังกฤษ
           The Office of Communication หรือที่รู้จักกันในนาม Ofcom ได้มีการกำหนดแผนความถี่วิทยุ 2.6 GHz โดยมีนโยบายการกำหนด License แบบ Technology and Service Neutrality 
           เขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง
           The Office of the Telecommunications Authority (OFTA) ได้กำหนดแผนความถี่ 2.3 และ 2.6 GHz โดยมีนโยบายการกำหนด License แบบ Technology Neutrality และ National License
          
ประเทศสิงคโปร์
           Info-Communications Development Authority (IDA) ได้มีเปิดการประมูลคลื่นความถี่บนแถบคลื่นวิทยุ 2.5 GHz ในปี 2005 โดยมีนโยบายไม่อนุญาตให้ใช้งาน 3G จนกระทั่งถึงปี 2006 อย่างไรก็ตามกำหนดให้ใช้งาน Stationary Fixed และ Limited Mobility  License ถูกกำหนดเป็นแบบ Facilities-Based Operator (FBO) โดยไม่จำกัดเทคโนโลยีที่ใช้
           ประเทศญี่ปุ่น
           Ministry of Internal Affairs and Communications (MIC) ได้กำหนดแผนความถี่ 2.5 GHz และกำหนดให้ License แบบ Beauty Contest เมื่อเดือนธันวาคม2007 โดยมีผู้แข่งขัน 4 รายแข่งขันสำหรับ 2 Licenses   MIC มีนโยบาย Technology Neutrality และ National
          
จีนไต้หวัน 
           National Communication Commission (NCC) ออกแนวทางการจัดสรรความถี่ในย่านความถี่ 2.5 GHz เมื่อเดือนกรกฎาคม 2007 โดยมีเป้าหมายให้เกิดธุรกิจ Wireless เกิดขึ้น
เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย
6. สถานการณ์ BWA (WiMAX) ของประเทศไทย
           คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้กำหนดนโยบายความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีที่หลากหลาย อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนากิจการโทรคมนาคมให้ก้าวหน้าทันสมัยอยู่เสมอ สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมโทรคมนาคมใหม่ๆ อันเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น แต่ปัจจัยการหลอมรวมทางเทคโนโลยีก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการเลือก เทคโนโลยีที่จะนำมาพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับภาวะของตลาดโทรคมนาคมปัจจุบัน กิจการ  Broadband Wireless Access นับว่าเป็นกิจการโทรคมนาคมที่มีเทคโนโลยีที่จัดไว้ในระดับความเร่งด่วนสูง ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้เร่งรัดให้มีการนำมาใช้ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับผลการประชุมระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม WRC – 2007 และสนองตอบต่อความต้องการภายในประเทศ
ปัจจุบัน พัฒนาการทางเทคโนโลยีโทรคมนาคมด้าน Broadband Wireless Access (BWA) โดยเฉพาะเทคโนโลยี WiMAX เป็นไปอย่างรวดเร็ว กทช. ในฐานะหน่วยงานทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศ ได้ตระหนักถึงความแพร่หลายและความนิยมในเทคโนโลยีดังกล่าว จึงได้อนุญาตให้มีการทดลองทดสอบเทคโนโลยีดังกล่าวตามแผนความถี่วิทยุ Broadband Wireless Access (BWA) เพื่อทดลองหรือทดสอบในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและส่งเสริมเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นภายในประเทศ อีกทั้ง กทช. ยังได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับกิจการ Broadband Wireless Access คือ
           1. ประกาศ กทช. เรื่องแผนความถี่วิทยุกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่วิทยุ 2300 – 2400 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เมื่อ  24 กันยายน 2552 
           2. ประกาศ กทช. เรื่องแผนความถี่วิทยุกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่วิทยุ 2500 – 2690 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เมื่อ  24 กันยายน 2552
           3. ประกาศ กทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่องเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ซึ่งใช้เทคโนโลยี IMT – 2000 OFDMA TDD WMAN  เมื่อ 24 กันยายน 2552
           4. ประกาศ กทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่องเครื่องวิทยุคมนาคมลูกข่าย กิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ International Mobile Telecommunication (IMT) ซึ่งใช้เทคโนโลยี IMT – 2000 CDMA Direct Spread เมื่อ 24 กันยายน 2552
5. ประกาศ กทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับสถานีฐาน และสถานีทวนสัญญาณกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ International Mobile Telecommunications (IMT) ซึ่งใช้เทคโนโลยี IMT – 2000 Direct Spread เมื่อ 24  กันยายน 2552
           กทช. ได้จัดทำแผนความถี่วิทยุสำหรับทดลองหรือทดสอบ BWA รวมถึงประกาศเกี่ยวกับการขอรับจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการทดลองหรือทดสอบ โดยกำหนดย่านความถี่วิทยุไว้ทั้งหมด 4 ย่านความถี่ ดังนี้
           1) ความถี่วิทยุ 2300 – 2400 MHz
           2) ความถี่วิทยุ 2500 – 2520 MHz และ 2670 – 2690 MHz
           3) ความถี่วิทยุ 3300 – 3400 MHz
           4) ความถี่วิทยุ 3400 – 3700 MHz
           หากพิจารณาการจัดสรรคลื่นความถี่ของ WiMAX ในระดับสากลนั้น ได้มีการกำหนดย่านความถี่ให้ใช้งานได้หลายย่านความถี่ด้วยกัน ได้แก่ 2.3 GHz, 2.5 GHz, 3.5 GHz และ 5.7 GHz  ในประเทศไทยความถี่ย่าน 3.5 GHz ที่เป็นทางเลือกหนึ่งของเทคโนโลยี WiMAX ซึ่งมีผู้ได้รับสิทธิ์ใช้งานอยู่ก่อนแล้ว ในทางปฏิบัติความถี่ย่านดังกล่าวอยู่ภายใต้สัมปทานการใช้งานของดาวเทียมไทยคม ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่ดาวเทียมไทยคมจะไม่สามารถให้สิทธิ์การใช้คลื่นความถี่ย่าน 3.5 GHz กับผู้ให้บริการเครือข่าย WiMAX รายใดในการนำไปใช้งาน ดังนั้น ย่านความถี่ที่เหมาะสมการใช้งานในประเทศไทยจึงน่าจะเป็นย่าน 2.3 GHz และ 2.5 GHz  ซึ่งสามารถรองรับการสื่อสารแบบ WiMAX มาตรฐาน IEEE802.16e ที่รองรับการใช้งานในขณะเคลื่อนที่ได้ในอนาคต 
           เพื่อให้การจัดสรรคลื่นความถี่ของชาติมีประสิทธิภาพในระดับสากล และมีความเป็นธรรม คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการให้ผู้อื่นร่วมใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2550 ให้มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่” เพื่อให้มีอำนาจในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
           จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่า กทช. ได้เสนอให้ย่านความถี่ 2300-2400 MHz และ 2500-2690 MHz ใช้ในกิจการ WiMAX และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กำหนดให้ย่านความถี่ 2500-2690 MHz เป็นย่านความถี่ที่มีการกำหนดให้ใช้ร่วมระหว่างกิจการโทรคมนาคมและกิจการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ นอกจากนั้นจากการตรวจสอบสถานะการใช้คลื่นความถี่ของประเทศไทยพบว่ามีหน่วยงานที่ใช้ความถี่ในย่านนี้คือ อสมท. และกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งนำไปใช้ในกิจการวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ ดังนั้น การพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับความถี่ในย่านนี้ จำเป็นจะต้องดำเนินการในรูปของคณะกรรมการร่วมระหว่าง กทช. และ กสช. ตามที่กำหนดไว้ใน พรบ. องค์การจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543 ดังนั้น คณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ จึงพิจารณา การกำหนดหลักเกณฑ์ และกำหนดกรอบเวลาในการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ จะดำเนินการในย่านความถี่ 2300-2400 MHz เท่านั้น
           คณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ได้จัดทำร่างแผนการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ และให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับร่างแผนการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ เมื่อ 19 พ.ค. 2552 และในปัจจุบัน (มี.ค. 2553) คณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ กำลังจัดทำร่าง “แผนปฏิบัติการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่เพื่อกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ในย่านความถี่ 2300-2400 MHz”  เพื่อให้การดำเนินการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) เป็นไปอย่างสมบูรณ์และเกิดความต่อเนื่อง โดยได้มีการประเมินสถานะการใช้ความถี่ในย่าน 2300 - 2400 MHz และเพื่อเป็นการเร่งรัดกระบวนการในการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 2300-2400 MHz ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กทช. จึงได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการเรียกคืนและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่สำหรับกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่วิทยุ 2300-2400 MHz” โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการประสานงานและเจรจากับผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ 2300-2400 MHz เพื่อประกอบการเรียกคืนและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดดังกล่าวอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย 7. อุปสรรคทั่วไปของ WiMAX  
           แม้ในปัจจุบันได้มีการนำเอาระบบ WiMAX ไปลองใช้งานจริง ในส่วนโครงสร้างหลักได้มีการตั้งเสาสัญญาณ WiMAX กระจายเป็นเครือข่ายครอบคลุมบริเวณที่ต้องการให้บริการ หรือนำเอามาใช้เพื่อเพิ่มระยะทางในการให้บริการให้ไกลขึ้นถึงชานเมือง ส่วนในด้านผู้ใช้งานทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกในปี 2005 ที่ผ่านมา ได้นำเอาระบบมาให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Fix wireless access อุปกรณ์ตัวนี้จะเป็นตัวรับสัญญาณที่สามารถติดที่ไหนก็ได้ เช่น ข้างตัวตึก แล้วรับสัญญาณ WiMAX มา นำไปกระจายต่อยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ผ่าน Switch ซึ่งตัวอุปกรณ์จะอยู่กับที่ ดังนั้นในช่วงที่สอง จะมีการพัฒนาอุปกรณ์ลูกข่ายให้ใช้งานมาตรฐาน IEEE 802.16e เพื่อให้ใช้งานในขณะที่มีการเคลื่อนที่ เช่น ขับรถไปรอบเมืองก็ยังใช้งานได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเทคโนโลยี WiMAX เองนั้นก็ยังต้องเผชิญอุปสรรคและความท้าทายอีกไม่น้อย ทั้งในแง่เทคโนโลยีและแง่ผลประโยชน์ทางธุรกิจ (โดยเฉพาะในประเทศไทย)โดยอุปสรรคสำคัญของ WiMAX ประการแรกคือ ประเด็นเรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีการรับส่งระหว่างผู้พัฒนาอุปกรณ์สำหรับไวแมกซ์ ซึ่งได้ข้อสรุปที่มาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่ IEEE 802.16e ในปี 2544 และปมปัญหาที่ต้องเผชิญต่อมาก็เกี่ยวกับเรื่องของย่านความถี่ที่จะใช้ในการนำพาข้อมูลดิจิตอลไป เพราะนอกเหนือจากคลื่นความถี่สาธารณะที่อยู่ที่ 2.4 GHz แล้วแต่ละประเทศก็จัดสรรคลื่นความถี่ (ได้ประมูลไปแล้ว) เช่นในยุโรป ความถี่ 2.8 GHz ถูกกันไว้สำหรับเป็นคลื่นความถี่ของบริการโทรศัพท์มือถือ ไวแมกซ์ในยุโรปจึงเลี่ยงไปใช้ความถี่ที่ 3.5 GHz ในขณะที่อเมริกาที่ โมโตโรล่า อินเทล จับมือกับสปรินท์ วางโครงข่ายไวแมกซ์ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดกลับกำหนดความถี่ไว้ที่ 2.5 GHz  ซึ่งปัญหาการจัดสรรคลื่นความถี่นี้ขึ้นอยู่กับนโยบายที่แต่ละประเทศจะกำหนด แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขสำคัญว่า คลื่นความถี่ในย่านความถี่สูง (เช่น  3.5 GHz) นั้นจะถูกดูดซับโดยสภาพแวดล้อมได้ง่าย ในขณะที่คลื่นความถี่ในย่านความถี่ที่ต่ำ (เช่น 2.3 GHz) จะถูกดูดซับน้อยกว่า ความเสถียรของการรับส่งข้อมูลจึงสูงกว่า โดยในประเทศไทยนั้น ได้มีผู้เสนอให้ใช้คลื่นความถี่ 2.3 GHz นอกจากนี้จากประสิทธิภาพของ WiMAX เองที่สามารถเปิดโอกาสให้ธุรกิจด้าน Network สามารถขยายออกไปได้อีกมากเป็น Broadband Solution หลากหลายรูปแบบ เช่น โมโตโรล่า เสนอบริการ ‘Canopy’ และ ‘MOTO wi4 portfolio’ ซึ่งเป็นบริการทางเทคโนโลยีที่สามารถให้ประโยชน์แก่ธุรกิจหลายรูปแบบ และด้วยประสิทธิภาพของ WiMAX ที่สามารถทดแทนโครงข่ายเดิมได้ทั้งหมด ตั้งแต่โทรศัพท์บ้าน เครือข่ายมือถือและไวไฟ กลับนับเป็นแรงบีบที่สำคัญตามหลัก Porter’s Five Force model ที่อาจลดผลประโยชน์ให้ผู้ทำธุรกิจโทรคมนาคม (Telecommunication & Cellular industry) ในบางประเทศที่ได้ลงทุนสร้างเครือข่ายมือถือแบบ 3G ไปด้วยเม็ดเงินมหาศาลแล้ว อาจไม่นิ่งเฉยและมีการตอบโต้บางอย่างที่ขัดขวางไม่ให้โครงข่ายใหม่ที่มาทีหลังอย่าง WiMAX แย่งตลาดเดิมไปทั้งหมด หรืออาจมีกลยุทธ์เพื่อประวิงเวลาในการเปลี่ยนแปลงระบบของตนให้รองรับกับ WiMAX ให้ได้เสียก่อน ที่จะมีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีนี้อย่างเต็มรูปแบบ

เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย สรุป
เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย            เทคโนโลยี BWA หรือ WiMAX นับเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจและควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพราะในอนาคตข้าง หน้า ที่ประสิทธิผลในการทำงานของแต่ละบุคคล (Personal Productivity) นั้นล้วนขึ้นอยู่กับการทำงานแบบเคลื่อนที่ (Mobility) โดยไม่มีขีดจำกัดเรื่องการติดต่อสื่อสารกับแหล่งข้อมูล ซึ่งหมายความถึงการเข้าถึงการสื่อสารไร้สายด้วยความเร็วสูงได้ทุกที่ ทุกเวลา  ดังนั้น ในช่วงระหว่าง 5-10 ปีที่จะถึงนี้ ธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งหลายต่างต้องหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีไร้สาย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรและยกระดับประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิผลในการทำ งาน และเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่อย่าง WiMAX นั้น ก็เป็นหัวใจสำคัญในการเป็นทางเลือกของการเข้าถึงช่องทางการสื่อสารแบบ บรอดแบนด์ไร้สาย โดย WiMAX จะสร้างการเชื่อมต่อไร้สายความเร็วสูงที่คุ้มราคาในบ้านและธุรกิจทั้งในเขต เมืองและชนบทซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกได้โดยสะดวกและราคาถูกกว่าในอดีต อย่างไรก็ตาม เรายังคงต้องติดตามความคืบหน้าของ WiMAX กันต่อไป ว่าจะใช้งานได้จริงและแพร่หลายมากน้อยแค่ไหน เพราะแม้จุดเด่นของระบบไม่ว่าในเรื่องระยะทาง ความเร็ว การไร้ข้อจำกัดของการเชื่อมต่อ ได้ลบจุดอ่อนของระบบอื่นเกือบหมด แต่ WiMAX ก็ยังต้องเผชิญความใหม่ของมาตรฐานที่ยังไม่สมบูรณ์ รวมทั้งเรื่องความถี่ของการให้บริการ ซึ่งต้องมีการขออนุญาตก่อนให้บริการ ดังนั้นผู้ที่จะลงทุนวางระบบ WiMAX ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน รวมถึงภาครัฐของไทยที่ควรจะเรียนรู้จากกรณีศึกษาในประเทศอื่นๆ พร้อมกับนำมาปรับใช้กับการกำหนดนโยบายเพื่อเร่งผลักดันให้โครงสร้างพื้นฐาน ทางเทคโนโลยีของประเทศก้าวหน้าสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
[1] B. Walke, S. Mangold, and L. Berlemann, IEEE 802 Wireless Systems, John Wiley & Sons, 2006.
[2] International Telecommunications Union, ITU-R M. 1036-3, “ Frequency arrangement for implementation of the terrestrial component of International Mobile Telecommunications 2000 (IMT-2000) in the bands 806-960 MHz, 1710-2025 MHz, 2110-2200 MHz and 2500-2690 MHz”
[3] K. Etemad, “Overview of Mobile WiMAX Technology and Evolution,” IEEE Communications Magazine, IEEE Press, October 2008.
[4] M. Shalid, T. Shoulian, and A. Shan, “Mobile Broadband: Comparison of Mobile WiMAX and Cellular 3G/3G+ Technologies,” Information Technology Journal, Asian Network for Scientific Information, 2008.
[5] Ofcom, “Auction of Spectrum: 2500-2690 MHz, 2010-2025 MHz Information Memorandum”, 4 April 2008.
[6] Wimax Forum, Business Case Models for Fixed Broadband Wireless Access based on WiMAX Technology and the 802.16 Standard, October 10, 2004
[7] Intel and WiMAX: Bringing Broadband to the Underserved
[8] Motorola, Case Study: Texas A&M University: Motorola Wireless Deployed for Texas University Distance-Learning Network.
[9] ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, ไลฟ์&เทค-มติชน, อุปสรรคของ ‘ไวแมกซ์’จากเทคโนโลยีถึงผลประโยชน์ธุรกิจ.2 ธ.ค.2549
[10] เอกสารรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรการใช้คลื่นความถี่สำหรับ WiMAX, สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, ธ.ค. 2551


v

เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย 1. วิวัฒนาการของ BWA


เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย
รูปที่ 1 แสดงแนวโน้มใน Mobile Wireless Access ที่มีทิศทางมุ่งไปสู่ Mobile Broadband
Source: “3G/UMTS Evolution: towards a new generation of broadband mobile services,” UMTS Forum. Retrieved January 1, 2008, from
https://www.umts-forum.org


           จากรูปที่ 1 จะเห็นว่า BWA เป็นกลุ่มของเทคโนโลยีที่พัฒนามาคนละเส้นทางกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น 3G ซึ่ง BWA นั้นถูกพัฒนามาจากมาตรฐานทางเทคนิคที่เรียกว่า IEEE802.16 ซึ่งมุ่งเน้นไปในการพัฒนาด้านการส่งข้อมูลสื่อประสม (Multimedia) ด้วยความเร็วสูงเป็นหลัก โดยมิได้เน้นความสามารถในการเคลื่อนที่ (Mobility) มากนัก แต่ในปัจจุบันก็มีความพยายามที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ให้สูงขึ้นด้วย (พัฒนาจาก IEEE802.16d ไปเป็น IEEE802.16e) และสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น VoIP,  Web Browsing, Video Streaming, Video Conferencing, IPTV
           แต่ในทางกลับกันโทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มจากการมุ่งเน้นไปในการสื่อสารทางเสียง (Voice) ประกอบกับความสามารถในการเคลื่อนที่ (Mobility) พร้อมกันโดยมิได้มุ่งเน้นการส่งข้อมูลความเร็วสูง แต่การพัฒนาการด้านการส่งข้อมูลสื่อประสมด้วยความเร็วสูงบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็ถูกให้ความสนใจมากขึ้นในระยะหลังเนื่องจากความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้เปลี่ยนไปนั่นเอง จึงทำให้ทั้งสองเทคโนโลยีเริ่มมีการพัฒนาการเข้าหากันจนอาจเกิดการทับซ้อนกันในอนาคตตามรูปที่ 1
เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย 2. วิวัฒนาการ WiMAX ภายใต้เทคโนโลยีแพลทฟอร์ม BWA
           เทคโนโลยี BWA มีชื่อรหัสมาตรฐานว่า IEEE802.16 ซึ่งมีเทคโนโลยีหนึ่งที่ได้รับความนิยมภายใต้เทคโนโลยีแพลทฟอร์ม BWA ที่ชื่อว่า WiMAX โดยการพัฒนาเทคโนโลยี WiMAX นั้นเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง WiMAX Forum และ IEEE 802.16 ซึ่งมีพัฒนาการแสดงดังรูปที่ 2


เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย
รูปที่ 2  วิวัฒนาการ WiMAX


           WiMAX เป็นเทคโนโลยีสำหรับการเข้าถึงแบบบรอดแบนด์ (Broadband Access)  มีการพัฒนาโดยคณะกรรมการ IEEE 802 ซึ่งได้ตั้งกลุ่มทำงานขึ้นในปี ค.ศ. 1999 เพื่อพัฒนามาตรฐานใหม่สำหรับงานประยุกต์การเข้าถึงบรอดแบนด์แบบไร้สาย (Broadband Wireless Access: BWA) หรือที่เรียกว่า IEEE 802.16  ต่อมาองค์กรทาง อุตสาหกรรมที่มีชื่อว่า The Worldwide Interoperability for Microwave Access (WiMAX) Forum (WiMAX Forum) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2001 เพื่อสนับสนุน 802.16  ทั้งนี้เครือข่าย 802.16 จึงมักถูกเรียกว่า เครือข่าย WiMAX  
           เนื่องจากเทคโนโลยี WiMAX มีการกำหนดย่านความถี่ให้ใช้งานได้หลายย่านความถี่ด้วยกัน ได้แก่ 2.3 GHz, 2.5 GHz, 3.5 GHz และ 5.7 GHz  ซึ่งหากส่งสัญญาณด้วย Bandwidth ที่กว้าง ระบบก็จะสามารถรองรับข้อมูลจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน แต่หากส่งสัญญาณด้วย Bandwidth ที่แคบ ระบบก็จะรับส่งข้อมูลได้น้อยลงตามสัดส่วนของ Bandwidth กล่าวคือ การให้บริการ WiMAX ด้วยคลื่นความถี่วิทยุย่าน 5.7 GHz น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หลีกเลี่ยง เนื่องจากการรับส่งสัญญาณที่ย่านความถี่สูงมีผลกระทบจากการแพร่กระจายมากกว่าการส่งที่ความถี่ต่ำ จึงทำให้ต้องติดตั้งสถานีฐาน WiMAX เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การลงทุนไม่คุ้มค่า 
           ปัจจุบัน ย่านความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการให้ใบอนุญาตบริการ WiMAX อยู่ที่ย่านความถี่ 2.3 GHz – 2.4 GHz  และย่านความถี่ 2.5 GHz – 2.69 GHz โดยความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) ที่เหมาะสมสำหรับบริการ WiMAX มีแนวคิดแบ่งเป็น 2 แนวทางคือ
           1) บริษัท Intel แนะนำความกว้างของช่องสัญญาณไว้ที่ 30 MHz โดยความกว้างดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการบริการ WiMAX สามารถดำเนินกิจการอยู่ในตลาดได้
           2) บริษัท Huawei แนะนำความกว้างของช่องสัญญาณไว้ที่  20 MHz ซึ่งความกว้างดังกล่าวมีขนาดเพียงพอสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับบริการ WiMAX 
           เทคโนโลยี WiMAX มีความเหมาะสมในการเชื่อมโยงบริการเครือข่ายไปสู่บริเวณที่ห่างไกลหรือถิ่นธุรกันดารทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา และยังได้รับความนิยมในประเทศที่กำลังพัฒนาที่ผู้ให้บริการยังไม่ได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี 3G  อย่างไรก็ดี อุปสรรคหลักของการติดตั้งและใช้งาน WiMAX อยู่ที่ การไม่สามารถจัดสรรย่านความถี่ให้ WiMAX  นโยบายการกำกับดูแลที่ไม่สนับสนุนการเกิดของ WiMAX และ ปริมาณการใช้งานคอมพิวเตอร์และรายได้เฉลี่ยต่อประชากรที่ต่ำในประเทศที่กำลังพัฒนา



อัพเดทล่าสุด