https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
นักวิจัยเด่นรุ่นใหม่ MUSLIMTHAIPOST

 

นักวิจัยเด่นรุ่นใหม่


755 ผู้ชม


นักวิจัยเด่นรุ่นใหม่


ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของงานสื่อสารสังคม (สกว.) กับวิชาการดอทคอม
ที่มา :   ประชาคมวิจัย
รศ.ดร. ศุภวัจน์  รุ่งสุริยะวิบูลย์
 


          ฉบับนี้กอง บก. ขอเปิดตัวคอลัมน์นักวิจัยเด่นรุ่นใหม่อย่าง รศ.ดร.ศุภวัจน์  รุ่งสุริยะวิบูลย์ หนึ่งในผู้ได้รับรางวัล TRF-CHE-SCOPUS Young Researcher Awards 2009  จากเวทีการประชุม ”นักวิจัยรุ่นใหม่...พบ...เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” เมื่อปลายปีที่ผ่านมา  


นักวิจัยเด่นรุ่นใหม่


          รางวัล TRF-CHE-SCOPUS Young Researcher Awards นี้ถือเป็นครั้งแรกที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักพิมพ์ Elsevier ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและแพทยศาสตร์ระดับโลก และเป็นผู้จัดทำฐานข้อมูลวารสารวิชาการระดับนานาชาติ SCOPUS ฐานข้อมูลสากลที่รวบรวมข้อมูลการตีพิมพ์และการอ้างอิงวารสารจากทั่วโลก  ได้ร่วมกันจัดให้มีรางวัลนี้ขึ้นโดยมุ่งหวังเพื่อสนับสนุนให้ผู้รับทุนที่ เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ที่มีผลงานจากโครงการวิจัยที่ได้รับทุนอยู่ในเกณฑ์ดี เยี่ยม ให้มีกำลังใจในการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพสูง และเป็นแบบอย่างนักวิจัยอาชีพที่ดีแก่นักวิจัยในกลุ่มผู้รับทุน   
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จ
นักวิจัยเด่นรุ่นใหม่           “การได้รับทุนการศึกษาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อไปศึกษาในระดับปริญญาโท-เอก ในสาขาวิชาที่ตนเองสนใจและเป็นประโยชน์ในการนำมาพัฒนาประเทศ หลังจากที่ตนเองได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก การได้รับเงินทุนสนับสนุนด้านวิจัยในช่วงเริ่มต้นของการทำงานจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ส่งผลให้สามารถพัฒนางานวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น การได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อไปนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการนานาชาติจากหน่วยงานต้นสังกัด คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้มีโอกาสได้เผยแพร่ แลกเปลี่ยน และทำความรู้จักกับนักวิจัยชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ความร่วมมือของนักวิจัยต่างชาติจากสถาบัน Efficiency and Productivity Analysis ประเทศออสเตรเลีย และ สถาบัน Agricultural Development in Central and Eastern Europe (IAMO) ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี  มีส่วนอย่างมากที่ทำให้ตนเองสามารถพัฒนาความรู้และผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ”
งานวิจัยที่ได้ดำเนินการ
          “ได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อวัดปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรของไทยและทวีปเอเชียขึ้น    เนื่องจากวิกฤตด้านอาหารได้กลายเป็นประเด็นเชิงนโยบายของหลายๆประเทศทั่วโลก ภายหลังจากที่ราคาอาหารและพลังงานได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ค่าการเติบโตผลิตภาพและปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรของไทยและประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียที่วัดได้จากแบบจำลองจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ กำหนดนโยบายในการนำไปใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพภาคการเกษตรและ ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารของภูมิภาคนี้ต่อไป”
ทุนและรางวัลที่เคยได้รับ 
นักวิจัยเด่นรุ่นใหม่           • ทุนศึกษาระดับปริญญาโท-เอก จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ด้านเศรษฐศาสตร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย Pennsylvania State  ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2540-2546 
          • ทุน Research Fellowship สถาบัน Efficiency and Productivity Analysis มหาวิทยาลัย Queensland ประเทศออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2546 
          • ทุน 2006 Endeavour Australia Cheung Kong Award, Department of Education, Science and Training ประเทศ Australia ปี พ.ศ. 2549 
          • รางวัลผลงานวิจัยระดับชมเชย สาขาเศรษฐศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2549 
          • รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2550
          • รางวัล TRF-CHE-SCOPUS Young Researcher Awards 2009  สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปี พ.ศ. 2552



อัพเดทล่าสุด