อาหารสมุนไพรไทย อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เมนูอาหารที่น่าสนใจ ทำกินเองง่าย MUSLIMTHAIPOST

 

อาหารสมุนไพรไทย อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เมนูอาหารที่น่าสนใจ ทำกินเองง่าย


9,405 ผู้ชม


อาหารสมุนไพรไทย อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 
อาหารไทยมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการผสมผสาน ทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยา เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ สูงสุดทั้งในแง่การป้องกัน การบำรุงและการรักษาเครื่องปรุงอาหารไทยที่สะท้อนให้เห็นสรรพคุณทางยาและสมุนไพร มีหลายอย่างเช่น 

กระเพรา ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ,ขับลม,ขับเสมหะ,บำรุงธาตุ เพิ่มน้ำนมในหญิงหลังคลอด 
กระชาย แก้บิด,แก้ปวดท้อง,แก้ท้องร่วง,บำรุงหัวใจ 
กระเทียม แก้ไขมันอุดตันในเส้นเลือด, ลดความดันโลหิตสูง, ขับลม ขับเสมหะ, แก้จุกเสียด,ขับพยาธิเส้นด้าย 
ขิง แก้ขับลม, ขับเสมหะ, แก้จุกเสียดแน่นท้อง, แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเหงื่อ ขยายหลอดเลือดใต้ผิวหนัง 
ข่า ช่วยแก้ลมพิษ, แก้บิด, ช่วยย่อยอาหาร,แก้ฟกช้ำ 
ตะไคร้ แก้ขับลม, ท้องอืด, แน่นจุกเสียด, ขับปัสสาวะแก้นิ่ว 
ผักชี ขับลม, แก้ไข้, แก้ไอ, บำรุงธาตุ 
พริก แก้บิด, กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้เจริญอาหาร, ลดอาการอักเสบ, ละลายลิ่มเลือด, ป้องกันมะเร็งในลำไส้ 
ใบมะกรูด ขับลมในลำไส้, แก้จุกเสียด 
มะนาว แก้ไอ, แก้เจ็บคอ, ขับเสมหะ, แก้เหงือกบวมและเลือดออก ตามไรฟัน 

อาหารไทยที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางโภชนาการ ยาสมุนไพร และทางภูมิปัญญาคือ 

แกงเลียง เป็นอาหารที่ให้แร่ธาตุแคลเซียม,ฟอสฟอรัส,เหล็กและ ให้วิตามินเอสูงเหมาะสำหรับกินให้แม่ลูกอ่อนมีน้ำนมมาก เป็นอาหารบำรุงร่างกาย, บำรุงตาราคาถูก,ปลอดสารพิษเพราะปรุงจากผักพื้นบ้านเป็นหลัก 
ต้มยำ เป็นอาหารให้พลังงานให้โปรตีนสูงมีเครื่องปรุงสมุนไพรนานาชนิด แก้หวัดและลดความดันโลหิตสูง 
สะเดาน้ำปลาหวาน เป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างมากแต่ให้ไขมันต่ำ มีทั้งแร่ธาตุ,แคลเซียม,วิตามินเอ,วิตามินบี1, วิตามินซี ช่วยแก้ไขหัวลม บรรเทาความร้อน, ช่วยปรับธาตุให้สมดุล 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล หนังสือโภชนาการดี ชีวีมีสุข กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารสุข

            การทำอาหารไทยให้อร่อย ต้องเริ่มต้นด้วยความพิถีพิถันในการเลือกซื้อ เครื่องปรุงที่สดใหม่ จัดเก็บเพื่อรอนำไปประกอบอาหารด้วยวิธีที่ถูกต้อง วัตถุดิบในส่วนของพืชผัก และสมุนไพรที่ใช้ในการทำอาหารไทยมีหลายประเภท อาหารไทยเป็นที่นิยมของคนทั่วโลกว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพเพราะสรรพคุณทางยาของผักและสมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหารเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งเครื่องปรุงหลักๆมีดังต่อไปนี้ :

กระชาย [Finger Root] : เลือกรากที่สด อวบอ้วน เนื้อจะมีน้ำมาก กลิ่นหอม รสซ่า ล้างให้สะอาดก่อนใช้ ขูดเอาเปลือกออก แล้วล้างอีกครั้ง สรรพคุณ ช่วยไล่แก๊ส, ช่วยในระบบการย่อยอาหาร บรรเทาอาการจุกเสียดกระเพาะอาหาร กระชายยังอุดมด้วยวิตามิน เอ, บี12 และแคลเซียมด้วย

พริกแห้ง [Dried Chilies] : พริกแห้งโดยทั่วไปมักจะนำไปคั่วและตำให้ละเอียดเพื่อใช้เป็นเครื่องปรุง นอกจากนั้นพริกแห้งยังนิยมใช้ในการทำอาหารประเภทแกง สรรพคุณของพริกช่วยทำให้เจริญอาหาร ยังช่วยไล่แก๊ส, ลดเสมหะ, ขับปัสสาวะ และยังช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยอีกด้วย.

หัวหอมใหญ่ [Onions] : หอมใหญ่ที่มีคุณภาพดีจะต้องมีน้ำหนักมาก ผิวแห้งและเรียบ เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น ควรเก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ควรแช่ไว้ในตู้เย็น

ข่า [Galangal] : เป็นพืชในตระกูลเดียวกับขิง มีรสเผ็ดร้อนและกลิ่นแรง ไม่เหมือนกับขิงธรรมดาทั่วไป ควรเลือกซื้อเฉพาะข่าอ่อน รากอวบอ้วน และผิวมีสีชมพูอ่อน สรรพคุณของข่าคือ ช่วยไล่แก๊สในลำไส้ และรักษาโรคท้องร่วง โรคบิด และยังช่วยลดเสมหะ

ตะไคร้ [Lemongrass] : ควรเลือกซื้อตะไคร้ที่ฐานบริเวณลำต้นอวบอ้วนและมีสีม่วงอ่อน เวลาใช้ต้องควรปอกเปลือกข้างนอกออกจนกระทั่งเห็นเนื้อข้างในที่มีสีชมพู สรรพคุณของตะไคร้คือช่วยในส่วนการย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และช่วยบรรเทาอาการอาเจียน นอกจากนั้นยังช่วยลดความดัน และไล่แก๊ส ตะไคร้ยังใช้เป็นยาบรรเทาอาการเป็นไข้ และลดอาการปวดท้อง

หอมแดง [Shallots] : หอมแดงที่มีผิวสีม่วงอมแดง ให้กลิ่นที่แรงกว่าหอมแดงที่มีผิวสีออกเหลืองอ่อนซึ่งจะมีรสออกหวานกว่าเล็กน้อย สรรพคุณของหอมแดงช่วยไล่แก๊ส ขับปัสสาวะ และช่วยรักษาอาการไข้

ezythaicooking.com

แนะเมนูอาหารเพื่อสุขภาพและวิธีทำ

สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่า


อาหารสมุนไพรไทย		อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เมนูอาหารที่น่าสนใจ ทำกินเองง่ายซึ่งคนไทยนิยมรับประทานเป็นผักตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น คนไทยชอบรับประทานดอกสะเดาในช่วงต้นของฤดูหนาว เนื่องจากเชื่อว่า การกินสะเดาก่อนที่จะเป็นไข้ป้องกันได้ แต่ถ้ากินเมื่อเป็นแล้ว สามารถรักษาให้หายได้ (แต่ต้องเป็นไข้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ อุตุสมุฎฐานที่ร่างกายปรับไม่ทัน) จะทำให้มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกใส คนโบราณเรียกว่า ?ไข้หัวลม ?การรับประทานสะเดานั้นคนภาคกลางนิยมรับประทานกับน้ำปลาหวานและปลาดุกย่าง เนื่องจากรสหวานของน้ำปลาหวานจะช่วยกลบรสขมของสะเดาได้ จึงทำให้รู้สึกรสชาติกลมกล่อม(อร่อย) เจริญอาหารยิ่งขึ้น

 

เครื่องปรุง

  • น้ำตาลปีบ 2 ถ้วย (200 กรัม)
  • น้ำมะขามเปียกข้น ๆ ? ถ้วย (80 กรัม)
  • น้ำปลา ? ถ้วย (80 กรัม)
  • หอมแดงเจียว ? ถ้วย (50 กรัม)
  • กระเทียมเจียว ? ถ้วย (50 กรัม)
  • พริกขี้หนูแห้งหั่นบางๆทอดกรอบ ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ดอกสะเดาอ่อน 5-10 กำ (500 กรัม)
  • ปลาดุกอุย ? ตัว (400 กรัม)
  • น้ำมันพืชสำหรับทา 1-2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

วิธีทำ
น้ำเครื่องปรุงน้ำปลาหวาน
1. ล้างสะเดาให้สะอาด อย่าให้ช้ำ ต้มน้ำให้เดือดเทใส่ภาชนะที่ใส่สะเดาไว้ให้ท่วม ปิดฝา
2. ผสมน้ำตาล น้ำมะขาม น้ำปลา เข้าด้วยกัน ตั้งไฟกลางค่อนข้างเคี่ยวจนเหนียวพอเคลือบพายติด ยกลง
3. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยหอมแดง กระเทียม พริกเสิร์ฟพร้อมสะเดา และปลาดุกย่าง

เครื่องปรุงปลาดุกย่าง
 1. ล้างปลาให้สะอาด ผ่าท้อง ควักไส้ออก ล้างให้สะอาด บั้งปลาเฉียงๆ ทั้งสองด้าน
2. นำปลาขึ้นย่างบนตะแกรงที่ทาน้ำมันไว้แล้ว หรือจะทาที่ตัวปลาก็ได้ ย่างไฟกลาง จนสุกเหลืองทั้งสองด้าน

วิธีการลวกสะเดา
ให้นำดอกสะเดาลวกในน้ำเดือด หรืออาจใช้วิธีต้มลงในน้ำเดือดหรือน้ำข้าวร้อนๆ เพื่อลดความขมลงก็ได้ มรกรณีที่ดอกสะเดาออกมาก รับประทานไม่ทัน ชาวบ้านจะมีวิธีเก็บสะเดาไว้รับประทานนานๆ (การถนอมอาหาร) โดยการเก็บดอกสะเดามาลวก 1 ครั้ง แล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท เก็บไว้ในที่สะอาดและโปร่ง เมื่อต้องการจะรับประทานก็นำดอกสะเดาแห้งมาลวกน้ำร้อนอีกครั้งหนึ่งก็จะได้สะเดาที่มีรสจืด (ไม่ขมหรือขมน้อย) ลักษณะเช่นเดียวกับสะเดาสดทุกประการ

สรรพคุณทางยา
 1. ดอกสะเดา รสขมจัด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ แก้ไข้หัวลม
2. น้ำมะขามเปียก รสเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบายแก้ท้องผูก
3. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
4. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
5. พริกขี้หนูแห้ง รสเผ็ด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย

ประโยชน์ทางอาหาร
สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่าง นิยมใช้เป็นผักในช่วยฤดูหนาว โดยการนำมาลวกกับน้ำร้อน รับประทานกับน้ำปลาหวานและปลาดุกย่าง เพื่อช่วยบรรเทาความร้อนและเจริญอาหาร พร้อมๆ กับการป้องกันการเกิดไข้หัวลมในช่วงที่ธาตุน้ำกระทบธาตุไฟในต้นฤดูร้อน สะเดารสขมจึงบำรุงธาตุไฟและธาตุน้ำเป็นอย่างดี ปรับธาตุทั้งสองเป็นลำดับใครรู้สึกว่าธาตุใดแปรปวนก็แต่งรสให้สอดคล้องตามธาตุของตัวเอง บางครั้งมีปลาเผา ปลาดุดย่าง รับประทานร่วมด้วยก็ยิ่งเสริมธาตุดินมากยิ่งขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการ
สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่าง 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 1938 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

- น้ำ 96 กรัม
- โปรตีน 27.8 กรัม
- ไขมัน 16.1 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 331.3 กรัม
- กาก 24.6 กรัม
- ใยอาหาร 8 กรัม
- เถ้า 2.5 กรัม
- แคลเซียม 2038.2 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 751.7 มิลลิกรัม
- เหล็ก 72.5 กรัม
- เรตินอล 2.2 ไมโครกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 18055 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 25388 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 139.34 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 1.2 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 24.85 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 984.40 มิลลิกรัม

แกงหน่อไม้ใบย่านาง

อาหารสมุนไพรไทย		อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เมนูอาหารที่น่าสนใจ ทำกินเองง่าย ไม้ไผ่เป็นทรัพยากรป่าไม้ที่มีค่ายิ่งต่อชีวิตและความเป็นอยู่ประจำวันของคนไทย โดยเฉพาะชาวชนบทจะมีความสัมพันธ์กับไม้ไผ่อย่างแน่นแฟ้น ทุกส่วนของไม้ไผ่นับตั้งแต่รากถึงยอดจะใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เริ่มตั้งแต่รากฝอยของไม้ไผ่ช่วยยึดติดไม่ให้ดินพังทลาย ต้นอ่อนของไผ่หรือหน่อไม้เป็นอาหารธรรมชาติของคนไทยมาช้านาน เหง้าสามารถนำไปทำเครื่องประดับ กิ่งก้าน มัดรวมกันสามารถใช้ทำเป็นไม้กวาดได้ และลำไม้ไผ่ใช้ทำบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำเครื่องเรือน ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร และภาชนะต่างๆ ทำเครื่องดนตรี เครื่องจักรสาน ใช้เป็นวัตถุ ดิบในอุตสาหกรรมผลินเยื่อกระดาษ การทำไหมเทียมตลอดจนไม้ไผ่นำมาทำเชื้อเพลิงได้

ส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้แก่ หน่ออ่อนของไม้ไผ่หรือหน่อไม้ รับประทานเป็นผัก หน่อไม้เป็นผักที่มีมากในฤดูฝนพบในท้องตลาดทุกภาคของเมืองไทย ที่นิยมทำเป็นอาหารกันมากของชาวอีสาน คือ แกงหน่อไม้ใบย่านาง

 
เครื่องปรุง

  • หน่อไม้รวกเผา 5 หน่อ (300 กรัม)
  • ใบย่านาง 20 ใบ (115 กรัม)
  • เห็ดฟางฝ่าครึ่ง ? ถ้วย (100 กรัม)
  • ชะอมเด็ดสั้น ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ฟักทองหั่นชิ้นพอคำ ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ข้าวโพดข้าวเหนียวฝานเอาแต่เมล็ด ? ถ้วย (50 กรัม)
  • แมงลักเด็ดเป็นใบ ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ตะไคร้ทุบหั่นท่อน2 ต้น (60 กรัม)
  • น้ำปลาร้า 3 ช้อนโต๊ะ (48 กรัม)
  • น้ำ 3?4 ถ้วย (300?400 กรัม)
  • กระชายทุบ ? ถ้วย (10 กรัม)
  • พริกขี้หนู 10 เม็ด (10 กรัม)
  • ข้าวเบือ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
  • น้ำปลา2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

หมายเหตุ ข้าวเบือ คือ ข้าวเหนียวแช่น้ำประมาณ 20 นาทีขึ้นไป

วิธีทำ

  • โขลกข้าวเบือให้ละเอียด
  • ปอกเปลือกหน่อไม้ ตัดส่วนแก่ทิ้ง ตัดเป็นท่อนยาว 2 นิ้ว ต้มน้ำทิ้ง 2-3 ครั้ง ให้หายขื่น
  • โขลกใบย่านาง แล้วนำไปคั้นกับน้ำ ให้น้ำใบย่านางออก กรองใส่หม้อ
  • นำหม้อที่ใส่น้ำใบย่านางยกขึ้นตั้งไฟ ใส่หน่อไม้พอเดือดใส่กระชาย พริกขี้หนู ตะไคร้ ข้าวเบือ น้ำปลาร้า น้ำปลา ต้มสักครู่ ใส่ฟักทอง เห็ดฟาง ข้าวโพด เมื่อทุกอย่างสุกทั่วกันดี ใส่ชะอม ใบแมงลัก ยกหม้อลง

สรรพคุณทางยา

 1. หน่อไม้ มีรสขมหวานร้อน

  • ราก รสอร่อยเอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
  • ใบไผ่ เป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย

2. ย่านาง มีรสจืด ทั้งต้นนำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ

  • ใบ ใช้เป็นยาถอนพิษ ปรุงรวมกับยาอื่นแก้ไข้
  • ราก แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ เป็นเมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง

3. เห็ดฟาง (เห็ดบัว) รสจืด ให้พลังงานและสารอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าแทนเนื้อสัตว์ช่วยกระจายโลหิต

4. ชะอม รากชะอมมีสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี ยอดชะอมใบอ่อน มีรสจืด กลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย

5. ฟักทอง มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุงสายตา บำรุงร่างกาย

??? 6. ข้าวโพด รสหวานมัน เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ

  • ?ราก ต้มกินรักษานิ่ว และอาเจียน

7. แมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม

8. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ

9. กระชาย รสร้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้บิดมีตัว ขับพยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก ใช้แต่งกลิ่น สี รสอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีพิษ

10. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยย่อย

คุณค่าทางโภชนาการ
แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง รสชาติโดยรวมจะออกไปทางขมร้อน จากการใส่ผักหลายชนิดซึ่งมีทั้งรสร้อน รสขม จืดมัน จึงช่วยในการบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับลม และช่วยเจริญอาหาร

แกงหน่อไม้ใบหญ้านาง 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 422 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

- น้ำ 651.75 กรัม
- โปรตีน 31 กรัม
- ไขมัน 8.97 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 55 กรัม
- กาก 13.8 กรัม
- ใยอาหาร 1.125 กรัม
- แคลเซียม 372 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 304.25 มิลลิกรัม
- เหล็ก 18 มิลลิกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 9 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 17595.9 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 0.694 มิลลิกรัม
- วิตามินปีสอง 1.4 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 22.2 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 130 มิลลิกรัม

แกงเลียง

อาหารสมุนไพรไทย		อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เมนูอาหารที่น่าสนใจ ทำกินเองง่ายอาหารที่มีรสชาติเฉพาะตัวอร่อยเผ็ดร้อนพริกไทย หอมกลิ่นสมุนไพรจากพืชผักหลากหลายชนิด มีประโยชน์ในการขับพิษ ไข้เป็นอย่างดี

แกงเลียง เป็นแกงที่ประกอบด้วยน้ำพริก ผัก เนื้อสัตว์ น้ำแกงและเครื่องปรุงรส น้ำพริกแกงเลียงจะแปลกกว่าน้ำพริกแกงชนิดอื่นๆ เพราะมีพริกไทย หัวหอม กะปิ กุ้งแห้ง ปลาย่างหรือปลากรอบ น้ำแกงมีลักษณะข้น ผักที่นิยมใส่ที่สามารถบอกลักษณะว่าเป็น

แกงเลียง คือ ใบแมงลักมีกลิ่นหอม่ารับประทาน นอกจากนั้นยังมีผักเช่น ตำลึง ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน หัวปลี บวบ ผักหวาน ฯลฯ เนื้อสัตว์ ได้แก่ กุ้งสด เนื้อไก่ ฯลฯ ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือเกลือ อิ้อฮือ! แค่นึกถึงภาพก็น้ำลายไหลซะแล้ว แต่ก่อนอื่นเราไปรู้จักวิธีการทำ “แกงเลียง” ดีกว่าค่ะ

เครื่องปรุง

  • ฟักทองเนื้อดี หันชิ้นพอคำ จำนวน 10 - 12 ชิ้น
  • บวบเหลี่ยม (หักชิมดูเสียก่อนว่าไม่ขม) ประมาณ 1 ลูก ขนาดพอดีปอกเปลือกออกจนเกลี้ยงเกลา ให้เหลือเปลือกไว้บ้าง เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหาร หั่นเป็นชิ้นขนาด 12 - 15 ชิ้น
  • ข้าวโพดอ่อนหั่นแฉลบ 4 ฝัก
  • กระชาย 2 หัว ทุบเบาๆแล้วหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 1 นิ้ว
  • ตำลึงยอดงามๆสัก 10 ยอดเด็ดเอาแต่ใบอ่อนๆ
  • ใบแมงลัก 3 - 4 กิ่ง เด็ดเอาแต่ใบหรือยอดดอกอ่อนๆ
  • กุ้งแม่น้ำหรือกุ้งชีแฮ้ 6 - 7 ตัว ปอกเปลือกเอาเส้นดำออก
  • น้ำซุป(จากการต้มซี่โครงหมูหรือโครงไก่) 4 ถ้วยตวง
  • น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ
  • ถ้าชอบเผ็ดเพิ่มพริกขี้หนูสดอีก5 - 6 เม็ด บุบพอแตก

เครื่องปรุงพริกแกง

  • พริกชี้ฟ้าแดงผ่าเอาเมล็ดออก 2 เม็ด
  • กระชาย 4 หัว
  • หอมแดงหัวขนาดกลาง 5 หัว
  • พริกไทยขาว 12 เม็ด
  • กะปิเผาไฟพอสุก 2 ขีดครึ่ง
  • กุ้งแห้ง 2 ขีดครึ่ง

?วิธีทำ

  • นำเครื่องปรุงพริกแกงโขลกให้ละเอียด ถ้าชอบให้น้ำแกงข้นอีกนิดก็ใช้เนื้อปลา จะย่างหรือต้มสุกก็ได้แล้วนำมาโขลกรวมกับพริกแกง
  • นำน้ำซุปตั้งไฟพอเดือด ใส่เครื่องแกงลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมให้ได้รสเค็มและเผ็ดนิดๆพอน้ำแกงเดือดอีกทีใส่ผักชนิดที่สุกยากลงก่อน เช่น ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน ตามด้วยกุ้งสดรอจนแน่ใจว่าผักสุกดีแล้วจึงใส่ใบตำลึง
  • ใส่ใบแมงลักเป็้นรายการสุดท้ายแล้วคนให้เข้ากัน ตักเสิร์ฟขณะร้อนได้รสชาติดี

สรรพคุณทางยา

  • พริกไทย รสเผ็ดร้อน ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร
  • หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
  • ผักต่าง ๆ เช่น ฟักทอง รสมันหวาน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา
  • บวบ รสเย็นจืดออกหวาน มีแคลเซียม เหล็กและฟอสฟอรัสมาก
  • น้ำเต้า
    - ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร
    - เมล็ด ประเทศจีนนำมาต้มกับเกลือกินเพื่อเจริญอาหาร เถา, ใบอ่อน, เนื้อหุ้มรอบ ๆ เมล็ด ประเทศอินเดียใช้เป็นยาทำให้อาเจียนและยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิและแก้อาการบวมน้ำ
  • ตำลึง รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ปวดแสบปวดร้อน และคั้นรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ
  • ข้าวโพด รสมันหวาน
    -เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาด สมานบำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
  • ใบแมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม

หมายเหตุ 
แกงเลียงที่อร่อยมักจะต้องสด ใหม่ จึงจะทำให้น้ำแกงหวานโดยธรรมชาติ และหอมน้ำพริกแกง ควรรับประทานขณะร้อนๆ แกงเลียงมักจะรับประทานกับน้ำพริกกะปิ

ประโยชน์ทางอาหาร 
แกงเลียงมีส่วนประกอบพริกขี้หนู หอม พริกไทย กะปิ เกลือ กุ้งแห้ง ผักต่าง ๆ เช่น บวบ ฟักทอง น้ำเต้า ตำลึง ข้าวโพด ใบแมงลัก โบราณเชื่อว่าเป็นอาหารที่ช่วยประสะน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้นมบริบูรณ์ และแก้ไข้หวัดได้เป็นอย่างดี

samunpri.com

อัพเดทล่าสุด