องุ่น องุ่นแดง องุ่นไร้เมล็ด ประวัติความเป้นมา วิธีการปลูกให้ได้ผล ข้อมูลละเอียด MUSLIMTHAIPOST

 

องุ่น องุ่นแดง องุ่นไร้เมล็ด ประวัติความเป้นมา วิธีการปลูกให้ได้ผล ข้อมูลละเอียด


2,834 ผู้ชม


องุ่น เป็นพืชยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย มีลักษณะเนื้อแข็งและมีลำต้น กิ่งถาวรอายุเกิน 1 ฤดู ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะเลื้อยเกาะกิ่งไม้ ใบกลมขอบหยักเว้าลึก 5 พู โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อดอกบานกลีบดอกเมื่อบานสีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน) ผลย่อยรูปกลมรีและฉ่ำน้ำ มีผิวนวลเกาะและรสหวาน มีสีเขียว, ม่วงแดงและม่วงดำแล้วแต่พันธุ์ ในผลมีเมล็ดประมาณ 1 - 4 เมล็ด

ประวัติการปลูก

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีการบ่งบอกว่ามีการปลูกองุ่นกันมามากกว่า 5,000 ปี องุ่นสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตหนาว เขตกึ่งร้อนกึ่งหนาว และเขตร้อน สำหรับประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่านำเข้ามาในสมัยใด แต่คาดว่าน่าจะนำเข้ามาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ท่านได้นำพันธุ์ไม้แปลกๆ จากต่างประเทศที่ได้เสด็จประพาสมาปลูกในประเทศไทย และเชื่อว่าในจำนวนพันธุ์ไม้แปลกๆ เหล่านั้นน่าจะมีพันธุ์องุ่นรวมอยู่ด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีหลักฐานยืนยันว่าเริ่มมีการปลูกองุ่นกันบ้างแต่ผลองุ่นที่ได้มีรสเปรี้ยว การปลูกองุ่นจึงซบเซาไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้เริ่มมีการปลูกองุ่นอย่างจริงจัง โดย หลวงสมานวนกิจ ได้นำพันธุ์องุ่นมาจากมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และปี พ.ศ. 2497 ดร.พิศ ปัญญาลักษณ์ ได้นำพันธุ์องุ่นมาจากทวีปยุโรปซึ่งสามารถปลูกได้ผลเป็นที่น่าพอใจ นับแต่นั้นมาการปลูกองุ่นในประเทศไทยจึงการแพร่หลายมากขึ้น

สรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหาร

องุ่นมีสารอาหารที่สำคัญคือน้ำตาลและสารอาหารจำพวกกรดอินทรีย์ เช่น น้ำตาลกลูโคส, น้ำตาลซูโคส, วิตามินซี, เหล็กและแคลเซียม องุ่นยังสามารถนำไปทำเป็นเหล้าองุ่นซึ่งเป็นเหล้าบำรุงใช้เป็นยา การรับประทานองุ่นเป็นประจำมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง, บำรุงหัวใจ, แก้กระหาย, ขับปัสสาวะและบำรุงกำลัง คนที่ร่างกายผอมแห้ง แก่ก่อนวัยและไม่มีเรี่ยวแรง หากรับประทานองุ่นเป็นประจำจะสามารถช่วยเสริมทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้ ส่วนเครือและรากมีฤทธิ์ในการขับลม, ขับปัสสาวะ, รักษาโรคไขข้ออักเสบ, ปวดเอ็นและปวดกระดูก อีกทั้งยังมีฤทธิ์ระงับประสาท, แก้ปวดและแก้อาเจียนอีกด้วย

การปลูกองุ่นในประเทศไทย

ประเทศไทยนิยมปลูกองุ่นในแถบภาคตะวันตก เช่น

ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้ดี แต่เกษตรกรบางรายได้เปลี่ยนจากองุ่นเป็นพืชอื่น เนื่องจากมีปัญหาโรคแมลงระบาดมาก และแมลงดื้อยาไม่สามารถกำจัดได้ ทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นในแถบนี้ลดลง พื้นที่ปลูกองุ่นได้ขยายไปในแถบภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเล็กน้อย แต่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงระบาดมากทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นไม่ค่อยขยายเท่าที่ควร

พันธุ์องุ่นที่นิยมปลูก

  1. พันธุ์ไวท์มะละกา มี 2 สายพันธุ์ คือ ชนิดผลกลมและผลยาว ลักษณะช่อใหญ่ยาว การติดผลดีผลมีสีเหลืองอมเขียว รสหวานแหลม เปลือกหนาและเหนียว ในผลหนึ่งๆ มี 1-2 เมล็ด ช่วงเวลาหลังจากตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง ปีหนึ่งให้ผลผลิต 2 ครั้ง ผลผลิตประมาณ 10-15 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง
  2. พันธุ์คาร์ดินัล มีลักษณะช่อใหญ่ ผลดก ผลกลมค่อนข้างใหญ่ มีสีแดงหรือม่วงชมภู รสหวาน กรอบ เปลือกบาง จึงทำให้ผลแตกง่ายเมื่อผลแก่ในช่วงฝนตกชุก ในผลหนึ่งๆ มีเมล็ด 1-2เมล็ด ช่วงเวลาหลังจากตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลได้ใช้เวลา 3-3 เดือนครึ่ง ในเวลา 2 ปี สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 5 ครั้ง ผลผลิตประมาณ 10-15 ตัน/ต้น

อ้างอิง

  1. ^ Angiosperm Phylogeny Group (2009). An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG IIIBotanical Journal of the Linnean Society161: 105-121.
  2. ^ PLANTS Profile for Vitis (grape)USDA. สืบค้นวันที่ November 16, 2009

องุ่นแดงลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

 เมื่อเร็วๆ นี้ naturalNews ได้รายงานถึงการวิจัยซึ่งค้นพบว่าการบริโภคองุ่นแดงอาจจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน โดยทำการทดลองกับหนูซึ่งได้รับการทำหมัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน และให้องุ่นแดงเสริมไปในอาหาร และทำการเปรียบเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับองุ่นแดง

              ผลการวิจัยพบว่าหนูที่ได้รับอาหารปกตินั้นจะมีแคลเซียมและแร่ธาตุในกระดูกลดลง รวมทั้งยังมีสารในปัสสาวะที่ปรากฏเมื่อมีภาวะกระดูกเปราะมากกว่าหนูที่ได้รับอาหารปกติ

              นอกจากนี้ยังรายงานว่าการบริโภคองุ่นแดงเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้นต้องรับประทานในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมอีกด้วย

ที่มา : naturalNews

องุ่น	องุ่นแดง องุ่นไร้เมล็ด ประวัติความเป้นมา วิธีการปลูกให้ได้ผล ข้อมูลละเอียด
องุ่นไร้เมล็ด ไม้ผลเศรษฐกิจพื้นที่สูง โครงการหลวงหนุนเกษตรกรปลูกเพิ่มรายได้

มูลนิธิโครงการหลวง ได้พัฒนาการปลูกองุ่นบนพื้นที่สูงมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มชนิดของไม้ผลเศรษฐกิจที่จะส่งเสริมเป็นอาชีพและรายได้แก่เกษตรกร อีกทั้งให้ผลตอบแทนรวดเร็วกว่าไม้ผลชนิดอื่นๆ ผลผลิตมีคุณภาพสูงและที่สำคัญยังสามารถพัฒนาวิธีการปลูกในโรงเรือนได้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าหากปลูกและดูแลอย่างถูกวิธีจะสามารถให้ผลผลิตได้ภายใน 8-12 เดือน พร้อมทั้งสามารถบังคับผลผลิตออกได้ 2 ปี 5 ครั้ง เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นมีรายได้ตลอดทั้งปี

คุณสรศักดิ์ นาทิพย์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม้ผล ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรที่ปลูกองุ่นในศูนย์ มีจำนวน 12 ราย

คุณอนันต์ อมรเลิศศักดิ์ เป็นหนึ่งในสมาชิกของศูนย์ ปลูกองุ่นเป็นระยะเวลา 3 ปีแล้ว โดยพันธุ์องุ่นที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมีพันธุ์ “บิวตี้ซีดเลส” เป็นองุ่นไม่มีเมล็ด ทรงผลรี ขนาดปานกลาง สีดำช่อใหญ่ ออกดอกติดผลง่าย รสชาติอร่อย หวาน กรอบ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและมีราคาแพง อายุตั้งแต่ตัดแต่งกิ่งจนถึงเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับช่วงฤดู และสภาพพื้นที่ด้วย) ส่วนอีกพันธุ์ที่กำลังจะส่งเสริม คือ พันธุ์ “รูบี้ซีดเลส” เป็นองุ่นไม่มีเมล็ดเหมือนกัน ผลโต ยาวรี ผลมีสีแดงช่อใหญ่ เปลือกหนาพอๆ กัน พันธุ์บิวตี้ซีดเลส มีรสชาติอร่อย หวาน กรอบ และเป็นพันธุ์ที่มีราคาแพงเช่นกัน อายุตั้งแต่เริ่มตัดแต่งกิ่งจนถึงเก็บผลผลิตได้ประมาณ 5-6 เดือน (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับช่วงฤดู และสภาพพื้นที่เช่นกัน)

คุณนันต์ เกษตรกรสมาชิกผู้ปลูกองุ่น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นเกษตรกรปลูกผักปวยเล้งขาย แต่รายได้ไม่แน่นอน ดังนั้น จึงมีแนวคิดนำพืชมาปลูกเสริมรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว ประกอบกับโครงการหลวงได้นำองุ่นสายพันธุ์ใหม่มาส่งเสริม โดยได้คำแนะนำจากคุณสรศักดิ์ จึงได้เริ่มปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2549 และได้สร้างโรงเรือนจำนวน 6 โรงเรือน ในพื้นที่จำนวน 2 ไร่ จึงทำค้างแบบราวตากผ้า เพื่อให้องุ่นเลื้อย โดยความสูงของค้างประมาณ 1.80 เมตร ความกว้างด้านบนของค้างประมาณ 6 เมตร ใช้ลวด เบอร์ 14 ดึงระหว่างหัวแปลงกับท้ายแปลง ระยะระหว่างลวดประมาณ 25 เซนติเมตร หลังจากที่เตรียมดินและค้างเรียบร้อยแล้ว จึงนำกล้าองุ่นมาปลูกในระยะห่างกันประมาณ 3 เมตร จำนวน 300 ต้น ซึ่งในช่วงระหว่างรอผลผลิตออก จะจัดโครงสร้างของกิ่งทั้งกิ่งหลักและกิ่งสาขาให้สามารถมีกิ่งที่ให้ผลผลิต ต่อต้นจำนวนมาก และทุกกิ่งอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กิ่งหลักอย่างเป็นระเบียบ มีความสมบูรณ์ สม่ำเสมอกัน การจัดทรงจะเป็นรูปทรงตัว H และสร้างกิ่งแบบก้างปลาจากกิ่งแขนงที่เกิดอยู่ทุกข้อของเถา โดยการเร่งการเจริญเติบโตของเถาให้เร็วและสมบูรณ์ที่สุด ภายใน 8-12 เดือน ซึ่งตั้งแต่การติดดอกจนถึงวันเก็บเกี่ยวผลที่แก่จัด ใช้เวลาประมาณ 120-150 วัน

ก่อนที่จะออกผลผลิต ในแต่ละปีจะเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 2 ครั้ง ช่วงที่ผลองุ่นมีรสชาติที่หอมหวาน กรอบอร่อยที่สุด อยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ก่อนการเก็บผลผลิตจะทิ้งการใส่ปุ๋ย ฉีดยา ประมาณ 45 วัน และเก็บเกี่ยวผลผลิตจะนำไปตรวจสอบให้ปลอดภัยจากสารพิษทุกครั้ง ส่วนความหวานที่เหมาะกับการเก็บผลผลิตจะอยู่ในระหว่าง 16-18 บริกซ์ เป็นช่วงของความหวานที่อร่อย โดยราคาที่จะขึ้นอยู่กับจำนวนบริกซ์ ถ้าจำนวน 16 บริกซ์ ราคากิโลกรัมละ 100 บาท 17 บริกซ์ ราคากิโลกรัมละ 150 บาท และ 18 บริกซ์ ราคากิโลกรัมละ 200 บาท จำนวนต่อต้นจะให้ปริมาณ 15-30 กิโลกรัม ผลผลิตที่ได้ต่อปีประมาณ 2 ตัน คิดเป็นเงินประมาณ 300,000 บาท ซึ่งปลูกได้แล้ว 3 ปี สามารถคืนทุนที่ลงไปได้แล้ว ส่วนตลาดที่ออกจำหน่ายจะนำผลผลิตที่ได้ส่งให้กับโครงการหนองหอยบรรจุเรียบ ร้อย แล้วส่งให้กับโครงการหลวงที่แม่เหียะ และส่งต่อให้กับลูกค้าต่อไป

คุณ สรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงการจัดเถาและช่อองุ่นว่า เมื่อช่อดอกยาวออกมา ดอกจะบานหรือหลังจากตาองุ่นแตกได้ 2-3 สัปดาห์ จะปลิดตาข้างออกให้หมดเพื่อให้ยอดองุ่นอ่อนแตกออกมา หลังจากที่ดอกบานจนติดผลเล็กๆ แล้ว จะผูกเถาติดกับค้าง ให้มีความยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ต่อมาจะตัดปลายช่อองุ่นทิ้ง 1 ใน 4 หลังตัดแต่งกิ่งประมาณ 35 วัน จะปลิดผลเพื่อไม่ให้ผลในช่อมีปริมาณมากเกินไป โดยจะปลิดผลที่มีขนาดเล็ก ผลที่ไม่มีรูปทรง ผลที่เกิดจากโรคและแมลง การปลิดผลจะให้เหลือต่อช่อประมาณ 50-80 ผล ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของช่ออีกที

ส่วนการให้ปุ๋ยจะใช้ ปุ๋ยคอก ใส่บนดินโดยโรยรอบๆ ต้นองุ่นให้ทั่วแปลง 1 กระสอบ ต่อต้น ต่อการเก็บผลองุ่นแต่ละครั้ง โดยทำหลังจากเก็บผลองุ่นแล้วก่อนที่จะตัดแต่งกิ่งครั้งต่อไป สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ มีสูตรที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอายุของต้นองุ่น ระยะที่ต้นยังเล็กหรือยังไม่ได้ตัดแต่ง ใช้สูตร 15-0-0- สูตร 15-15-15 สูตร 20-20-20 และสูตร 12-24-12 อัตรา ต้นละ 300-500 กรัม ต่อต้น ใช้ร่วมกับปุ๋ยคอก 10 กิโลกรัม ต่อต้น ระยะที่สอง ให้ปุ๋ยเกรดเดียวกับระยะแรก เมื่อดอกบานแล้ว 15 วัน หลังการตัดแต่งกิ่งได้ประมาณ 45 วัน ระยะที่สาม ใส่ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง สูตร 13-13-21 สูตร 8-24-24 สูตร 0-52-34 สูตร 0-0-5 ต้นละ 300-500 กรัม หรือใส่ก่อนเก็บผลผลิตประมาณ 15-30 วัน ซึ่งจะให้ผลองุ่นมีคุณภาพสูง ผิวสวย หวาน กรอบ อร่อย

ส่วนการให้น้ำ ในระยะติดผลและผลกำลังพัฒนาจะให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะงดการให้น้ำหรือให้น้อยที่สุด เพื่อจะให้ผลมีคุณภาพดี น้ำตาลในผลสูง ผลไม่นิ่ม มีผิวสวย หวาน กรอบ อร่อย นอกจากนี้แล้ว เพื่อเพิ่มรสชาติจะมีการให้ฮอร์โมน โดยหลังจากตัดแต่งกิ่งองุ่นจะฉีดพ่นสารละลายคอร์เม็ท ชื่อสามัญ คือไฮโดรเจนไซยานาไมค์ 52% อัตรา 1,000 ซีซี ผสมน้ำ 10 ลิตร พร้อมทั้งเพิ่มสารฮอร์โมนช่วยยืดช่อให้ผลยาวขึ้น ทำให้ใบโปร่ง ผลไม่เบียดกันมาก ทุ่นแรงในการปลิดผล ผลโต ยาว ขั้วผลยาวสวยงามชวนซื้อ รสชาติของผลดี หวาน กรอบมากขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจการปลูกองุ่น สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานประชาสัมพันธ์มูลนิธิโครงการหลวง โทร. (053) 810-765 ต่อ 104 หรือ 108 หรือศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (053) 318-301

ว่าที่ ร.ต.หญิง พิมพ์ใจ กันชนะ -เทคโนโลยีชาวบ้าน

อัพเดทล่าสุด