https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อุบัติการณ์ ของ มะเร็งปอด ความหมายและการดูแลรักษาที่ถูกต้อง MUSLIMTHAIPOST

 

อุบัติการณ์ ของ มะเร็งปอด ความหมายและการดูแลรักษาที่ถูกต้อง


994 ผู้ชม


อุบัติการณ์ ของ มะเร็งปอด ความหมายและการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

                                                                                                                               ภาพประกอบ มะเร็งปอด


        ในประเทศไทย มะเร็งปอด เป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการตาย ในอันดับ ต้นทั้งในเพศชายและหญิงและอุบัติการณ์โรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเพศหญิง ผู้ป่วยมะเร็งปอด ส่วนใหญ่ (80-90%) เกิดจากการสูบบุหรี่จึงสามารถป้องกันได้ ธรรมชาติทาง ชีววิทยาของมะเร็งปอด ทำให้เราพบผู้ป่วย เมื่อเริ่มมีอาการ ในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และแพร่กระจาย เป็นผลให้ผู้ป่วยประมาณ 90% เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายใน เวลา 1-2 ปี

มะเร็งปอดคืออะไร

ปกติเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเมื่อทำงานไปถึงอายุขัยก็จะเสื่อมลงและตายไป ร่างกายจะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป การสร้างเซลล์ใหม่อยู่ใต้การควบคุมของร่างกายเรา เมื่อไหร่เราคุมไม่ได้เซลล์นั้นจะเติบโตไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นก้อนเนื้อที่ผิดปกติ เราเรียกก้อนเนื้อส่วนนั้นว่าเนื้องอก (Neoplasm) ถ้าเนื้องอกนั้นโตขึ้นโดยเบียดอวัยวะของเราแต่ไม่แทรกออกไปทำลายอวัยวะใกล้เคียงเราก็เรียกว่า เป็นเนื้องอกธรรมดาไม่ใช่เนื้อร้าย (Benign Tumor) แต่ถ้ามันทำลายอวัยวะของเราที่อยู่ใกล้เคียงกับมัน เราก็เรียกว่าเนื้อร้ายหรือ มะเร็ง (Cancer)

        นอกนั้นมะเร็งส่วนใหญ่ยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายทางกระแสน้ำเหลืองและกระแสเลือด การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เป็นเพราะเซลล์ที่ปกติถูกกระตุ้นหรือถูกพิษทำให้ส่วนประกอบของเซลล์ (DNA หรือ Gene) เปลี่ยนไปกลายเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ

        โดยทั่วไปเราแบ่งมะเร็งของปอดเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มซึ่งเซลล์ของมะเร็งเป็นเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) และกลุ่มที่เซลล์ของมะเร็งไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC)

        1. กลุ่มมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) พบราวๆ 15-20% มะเร็งพวกนี้แพร่ไปเร็ว แม้ว่าเมื่อแรกพบมะเร็งจะยังมีก้อนเล็กแต่ก็มักแพร่กระจายไปแล้ว การรักษามะเร็งพวกนี้จึงมักเป็นการรักษาทางยา

        2. กลุ่มมะเร็งชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) พบประมาณ 80% ของมะเร็งปอด พวกนี้การพยากรณ์โรคดีกว่าและมีชีวิตอยู่ได้นานกว่ากลุ่มมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็กมาก แบ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มมะเร็งชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็กตามลักษณะของเซลล์ได้คือ

- เป็นเซลล์ชนิด Squamous Cell Carcinoma ประมาณ 40-45% มะเร็งพวกนี้สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่มาก มักพบในปอดส่วนกลางใกล้ๆ ขั้วปอด - เป็น Adenocarcinoma ประมาณ 25-30% มักพบในปอดส่วนนอก และอาจพบได้ในคนที่ไม่สูบบุหรี่ และอาจเกิดจากแผลเป็นในปอด เช่น แผลเป็นวัณโรค แผลเป็นจากปอดบวม เป็นต้น - เป็น Large Cell Undiferentiated Cancer ประมาณ 5-10% - เป็น Bronchioloalveolar Carcinoma น้อยกว่า 5% - เป็นชนิดอื่นๆ น้อยกว่า 5%

        มะเร็งของเยื่อหุ้มปอด หรือ Mesothilioma พบได้ในพวกทำงานอุสาหกรรมหรือเหมืองแร่โดยเฉพาะเกี่ยวกับผง Abestos

สาเหตุของมะเร็งปอด

ภาพ:บุหรี่ต้นเหตุหนึ่งของมะเร็งปอด.jpg

ภาพประกอบ บุหรี่ อีกต้นเหตุของมะเร็งปอด.jpg

        สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมีหลายอย่าง ที่สำคัญคือ การสูบบุหรี่ ประมาณ 80% ของมะเร็งปอดเกิดในผู้ที่สูบบุหรี่ ยิ่งสูบวันละมากๆ และสูบมานานยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น

  • ผงแอสเบสตอส (Asbestos) เป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ ผู้ที่ทำงานในโรงงานที่มีการใช้ แอสเบสตอสในอุตสาหกรรมนั้นๆ รวมทั้งใช้เป็นส่วนประกอบของๆ ที่ใช้ในบ้านด้วยทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ คนงานที่ทำงานในโรงงานอุสาหกรรมนั้นมีโอกาสเป็นมะเร็งในปอดมากกว่าคนปกติถึง 7 เท่า และถ้าสูบบุหรี่ด้วยโอกาสเป็นมากกว่าถึง 50-90 เท่า นอกนั้นอาจทำให้เกิดมะเร็งของเยื่อหุ้มปอด (Mesothelioma)
  • เรดอน (Radon) เป็นก๊าซกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของยูเรเนี่ยม ซึ่งหลายแห่งมีสารยูเรเนี่ยมอยู่ในดินจะมีก๊าซเรดอนสูงกว่าปกติรวมทั้งในเหมืองบางแห่ง โอกาสที่มีเรดอนสูงกว่าปกติจะทำให้คนเป็นมะเร็งได้โดยเฉพาะถ้าสูบบุหรี่ด้วยยิ่งเป็นมากขึ้น
  • สารในที่ทำงานที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ และเราควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ยูเรเนี่ยม (Uranium), สารหนู (Arsenic), พลาสติก (Vinyl), คลอไรด์ (Chloride), นิเกิล (Nickel Chromates), ผลิตภัณท์จากถ่านหิน (Coal Products), ควันพิษมัสตัส (Mustard Gas), อีเธอร์ (Chloromethyl Ethers), น้ำมันเบนซิน (Gasoline), ควันท่อไอเสียจากน้ำมันดีเซล (Diesel Exhaust)
  • กัญชา (Marijuana) บุหรี่กัญชาจะมีน้ำมันดิบปนมากกว่าบุหรี่ธรรมดา และยังมีสารอื่นที่ทำให้เกิดมะเร็งร่วมอยู่ด้วย ยิ่งกว่านั้นผู้สูบกัญชามักสูดควันเข้าไปลึกและกลั้นหายใจค้างไว้ทำให้ควันถึงปอดได้มากกว่า
  • รังสีรักษามะเร็ง (Radiotherapy) ผู้ที่ต้องฉายแสงรังสีเพื่อรักษาโรคในทรวงอกด้วยรังสีรักษาอาจเกิดมะเร็งของปอดได้ โดยเฉพาะถ้าสูบบุหรี่ยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น
  • โรคอื่นๆ โรคที่ทำให้เกิดมีแผลเป็นในปอด เช่น วัณโรค ปอดบวมบางอย่าง อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งในปอด บางโรคที่เกิดจากการหายใจเอาสารแร่เข้าไปในปอดอาจมีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น เช่น โรคซิลิโคซีส
  • ประวัติครอบครัว ถ้ามีบุคลในครอบครัวที่มีสายเลือดเดียวกันเป็นมะเร็งปอด เรามีโอกาสเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • อาหาร มีรายงานแนะว่า ผู้ที่ทานอาหารที่มีผลไม้และผักน้อยมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น และมีผู้เชื่อว่าอาหารพวกนี้อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งของปอด
  • มลภาวะเป็นพิษ อาจทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นแต่น้อยกว่าสูบบุหรี่ ผู้ที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่อยู่ในชนบท 1.2-2.3 เท่า

ผู้ป่วยเป็นมะเร็งปอดมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร

ภาพ:ก้อนมะเร็งในปอด.jpg

ภาพประกอบ ก้อนมะเร็งในปอด

        ผู้ป่วยเป็นมะเร็งของปอดจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร แล้วแต่เวลาที่ตรวจพบและเริ่มรักษาว่ามะเร็งนั้นอยู่ในระยะไหน การแบ่งระยะของมะเร็งจึงมีความสำคัญในการพยากรณ์โรคโดยเฉพาะมะเร็งชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) ส่วนมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) นั้นการแบ่งระยะของโรคมีความสำคัญน้อยกว่าเพราะโรคแพร่เร็วและผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ระยะสั้นๆ หลังเป็นโรค การรักษาก็ยังไม่ได้ผลดี

        มะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) นั้นการแบ่งระยะของโรคเราแบ่งออกเป็นเพียง 2 ระยะเท่านั้นคือ

  • ระยะโรคจำกัดที่ (Limited Stage) หมายถึง มะเร็งอยู่ในปอดข้างหนึ่งและถ้าไปที่ต่อมน้ำเหลืองก็ไปที่ทรวงอกด้านเดียวกัน ผู้ป่วยพวกนี้มีชีวิตอยู่ได้ 2 ปีราวๆ 20%
  • ระยะที่โรคกระจายไปแล้ว (Extensive Stage) หมายถึง โรคกระจายไปยังปอดด้านตรงข้ามแล้ว หรือกระจายไปอวัยวะอื่นแล้ว ผู้ป่วยพวกนี้อยู่ได้ 2 ปีประมาณ 5%

        สำหรับมะเร็งชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) นั้นการพยากรณ์โรคดีกว่ามากโดยเฉพาะผู้ป่วยที่พบในระยะแรก (Stage I)

        การแบ่งระยะของมะเร็งพวกนี้ที่นิยมกันใช้เรียกว่า TNM System (T คือ ขนาดของก้อนมะเร็ง, N คือ ไปต่อมน้ำเหลืองแล้วหรือไม่ ไปที่ต่อมไหน, M คือ มีการกระจายไปอวัยวะอื่นแล้วหรือยัง)

Stage 0 : มะเร็งพบในหลอดลมแต่ไม่กินลึกลงไปในปอด อยู่เฉพาะที่ และไม่กระจายไปที่ใด (Carcinoma in Situ)
Stage I : มะเร็งจำกัดอยู่ในปอด ยังไม่กระจายแพร่ออกไป ก้อนมะเร็งจะโตเท่าไรก็ได้
Stage II : มะเร็งแพร่กระจายไปในต่อมน้ำเหลืองในปอดข้างเดียวกันแล้ว
Stage IIIA : มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองรอบๆ หลอดลม อาจลามไปถึงทรวงอก และกระบังลมข้างเดียวกัน
Stage IIIB : มะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ปอดด้านตรงข้าม และที่คอ
Stage IV : มะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นในร่างกายแล้ว

        อัตราการตายขึ้นอยู่กับระยะของโรค รายงานจากสมาคมโรคมะเร็งของสหรัฐฯ ประมาณว่าผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ 5 ปี ถ้าผู้ป่วยอยู่ใน : Stage I = 47%, Stage II = 26%, Stage III = 8%, Stage IV = 2% ผู้ป่วยใน Stage I นั้นขนาดของก้อนมะเร็งมีความสำคัญมาก ก้อนเล็กมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าก้อนโต

อาการของมะเร็งปอด

        อาการของมะเร็งปอดเป็นอาการของปอด ของตัวมะเร็งเองและจากการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น

  • อาการทางปอด มี ไอ ไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือด เหนื่อย เจ็บหน้าอก ไข้อาจเป็นจากการติดเชื้อหรือจากมะเร็งก็ได้
  • อาการจากมะเร็ง มี เพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • อาการจากการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น เช่น ไปต่อมน้ำเหลืองจะมีต่อมน้ำเหลืองโต บางคราวอาจอุดหลอดเลือดที่พบบ่อยคือ อุดหลอดเลือดดำที่คอทำให้เลือดคั่งบวมที่หน้า อาจร่วมกับอาการอื่น ไปที่เยื่อหุ้มปอดทำให้มีน้ำในช่องเยื่อบุหุ้มปอด (Pleural Effusion) ไปที่สมอง มีปวดหัว ชัก อัมพาต ซึม หมดสติ ไปที่กระดูก มีปวดกระดูก กระดูกหัก ไปที่ตับ มีตัวเหลือง ตาเหลือง

        ผู้ป่วยบางรายมีอาการที่เรียกว่า Paraneoplastic Syndrome ซึ่งเรายังไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการพวกนี้แน่นอน เช่น มีไข้หนาวสั่น ปวดข้อและกล้ามเนื้อ ข้อบวม ระดับแคลเซี่ยมในเลือดสูง และระดับฮอร์โมนบางตัวในเลือดสูง อาการเหล่านี้จะหายไปถ้าเราตัดก้อนมะเร็งออกไป และถ้าโรคกลับมาอาการก็จะกลับมาใหม่ได้

 ใครบ้างควรตรวจและหลังตรวจจะต้องทำอะไรต่ออีกบ้าง

ภาพ:แนวโน้มมะเร็งปอดในเพศหญิง.jpg

ภาพประกอบ แนวโน้มมะเร็งปอดในเพศหญิงที่มีอัตราเพิ่มขึ้น

        ผู้ที่ควรตรวจก็คือ

  • ผู้สูงอายุ อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงมีโอกาสเป็นโรคสูงตามที่กล่าวมาข้างต้นโดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัด
  • ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งปอดตามที่กล่าวมาแล้ว เช่นกัน
  • ผู้ที่มีประวัติมะเร็งในครอบครัวสายตรง

ผู้ป่วยที่ตรวจแล้วพบว่าผลปกติก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ

        ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงอาจตรวจซ้ำปีละครั้ง ผู้ป่วยที่พบว่ามีก้อนในปอด แพทย์จะพิจารณาดูว่าโอกาสที่ก้อนนั้นจะเป็นมะเร็งมากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสเป็นไปได้มากว่าเป็นมะเร็งและก้อนโตอาจพิจารณาตัดออก ถ้าก้อนไม่โตมากและยังสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งได้ ก็อาจพิจารณาตัดชิ้นเนื้อไปตรวจพิสูจน์ก่อน ถ้าก้อนมีขนาดเล็กวินิจฉัยโรคไม่ได้แน่นอนก็อาจรอดูโดยทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของปอดหรือใช้ Spiral CT ซ้ำในเวลา 6-12 เดือนว่าก้อนโตขึ้นหรือไม่ อาจต้องทำซ้ำอีกครั้งถ้ายังไม่แน่ใจอีก

ความก้าวหน้าของการตรวจในอนาคต

        โดยที่มะเร็งปอดเป็นโรคพบบ่อยและร้ายแรงจึงมีการปรับปรุงหาวิธีตรวจที่พบผู้ป่วยให้เร็วขึ้น และผลแน่นอนขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น

  • การตรวจยีนที่ผิดปกติ เซลล์ของมะเร็งเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ ดังนั้นจึงมียีนที่ผิดปกติ (Oncogene) ซึ่งมีนักวิจัยพบว่ามีอย่างน้อย 26 ยีน การตรวจหายีนเหล่านี้อาจทำให้พบมะเร็งระยะแรกเริ่มได้
  • การตรวจเลือดเพื่อหาผลิตภัณฑ์จากเซลล์มะเร็งที่เรียกว่า Marker ชนิดต่างๆ เช่น การตรวจเลือดที่หา Anti-malignin Antibody Screen หรือ AMAS โดยเซลล์มะเร็งจะหลั่งสาร malignin ซึ่งเป็น antigen ออกมาในเลือด โดยที่ไม่มีการสร้างในเซลล์ปกติ การตรวจผลโดยใช้ *antibody เข้าไปทำปฏิกิริยาดูว่าในเลือดมีสารนี้หรือไม่
  • การปรับปรุงเครื่องเอกซ์เรย์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

PET Scan (Positron Emmision Tomography)

        เป็นเครื่องมือใหม่ ไม่เหมือนเอกซ์เรย์ ไม่เหมือนเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (Computer Tomography) ไม่เหมือน Magnetic Resonance Image (MRI) หรือ อัลตร้าซาวด์ หลักการคือ การตรวจหาเซลล์ที่มีเมตะบอลลิสม์ผิดปกติ เป็นการตรวจหาการทำงานของเซลล์และผ่านกลวิธีทำให้ออกมาเป็นรูปให้เราเห็น ในการตรวจมะเร็งปอดเราใช้น้ำตาล เมื่อเราทำให้น้ำตาลนั้นจับกับสารกัมมันตภาพ (Glucose 2-fluoro-2-deoxy-D-glucose หรือ FDG) ฉีดเข้าไปในเลือด เซลล์ไหนที่มีเมตะบอลลิสม์สูงจะใช้น้ำตาลมาก เช่น เซลล์ของมะเร็ง เซลล์ไหนที่ตายหรือมีเมตะบอลลิสม์ต่ำจะใช้น้ำตาลน้อย เมื่อใช้ Radiotracer จับปริมาณกัมมันตภาพ เราจะพบว่าก้อนมะเร็งนั้นมีกัมมันตภาพสูงกว่าเนื้อธรรมดาและใช้ตรวจทั้งตัวก็ได้

มะเร็งปอดคืออะไร

ปกติเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเมื่อทำงานไปถึงอายุขัยก็จะเสื่อมลงและตายไป ร่างกายจะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป การสร้างเซลล์ใหม่อยู่ใต้การควบคุมของร่างกายเรา เมื่อไหร่เราคุมไม่ได้เซลล์นั้นจะเติบโตไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นก้อนเนื้อที่ผิดปกติ เราเรียกก้อนเนื้อส่วนนั้นว่าเนื้องอก (Neoplasm) ถ้าเนื้องอกนั้นโตขึ้นโดยเบียดอวัยวะของเราแต่ไม่แทรกออกไปทำลายอวัยวะใกล้เคียงเราก็เรียกว่า เป็นเนื้องอกธรรมดาไม่ใช่เนื้อร้าย (Benign Tumor) แต่ถ้ามันทำลายอวัยวะของเราที่อยู่ใกล้เคียงกับมัน เราก็เรียกว่าเนื้อร้ายหรือ มะเร็ง (Cancer)

        นอกนั้นมะเร็งส่วนใหญ่ยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายทางกระแสน้ำเหลืองและกระแสเลือด การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เป็นเพราะเซลล์ที่ปกติถูกกระตุ้นหรือถูกพิษทำให้ส่วนประกอบของเซลล์ (DNA หรือ Gene) เปลี่ยนไปกลายเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ

        โดยทั่วไปเราแบ่งมะเร็งของปอดเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มซึ่งเซลล์ของมะเร็งเป็นเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) และกลุ่มที่เซลล์ของมะเร็งไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC)

        1. กลุ่มมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) พบราวๆ 15-20% มะเร็งพวกนี้แพร่ไปเร็ว แม้ว่าเมื่อแรกพบมะเร็งจะยังมีก้อนเล็กแต่ก็มักแพร่กระจายไปแล้ว การรักษามะเร็งพวกนี้จึงมักเป็นการรักษาทางยา

        2. กลุ่มมะเร็งชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) พบประมาณ 80% ของมะเร็งปอด พวกนี้การพยากรณ์โรคดีกว่าและมีชีวิตอยู่ได้นานกว่ากลุ่มมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็กมาก แบ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มมะเร็งชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็กตามลักษณะของเซลล์ได้คือ

- เป็นเซลล์ชนิด Squamous Cell Carcinoma ประมาณ 40-45% มะเร็งพวกนี้สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่มาก มักพบในปอดส่วนกลางใกล้ๆ ขั้วปอด - เป็น Adenocarcinoma ประมาณ 25-30% มักพบในปอดส่วนนอก และอาจพบได้ในคนที่ไม่สูบบุหรี่ และอาจเกิดจากแผลเป็นในปอด เช่น แผลเป็นวัณโรค แผลเป็นจากปอดบวม เป็นต้น - เป็น Large Cell Undiferentiated Cancer ประมาณ 5-10% - เป็น Bronchioloalveolar Carcinoma น้อยกว่า 5% - เป็นชนิดอื่นๆ น้อยกว่า 5%

        มะเร็งของเยื่อหุ้มปอด หรือ Mesothilioma พบได้ในพวกทำงานอุสาหกรรมหรือเหมืองแร่โดยเฉพาะเกี่ยวกับผง Abestos

สาเหตุของมะเร็งปอด

ภาพ:บุหรี่ต้นเหตุหนึ่งของมะเร็งปอด.jpg

ภาพประกอบ บุหรี่ อีกต้นเหตุของมะเร็งปอด.jpg

        สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมีหลายอย่าง ที่สำคัญคือ การสูบบุหรี่ ประมาณ 80% ของมะเร็งปอดเกิดในผู้ที่สูบบุหรี่ ยิ่งสูบวันละมากๆ และสูบมานานยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น

  • ผงแอสเบสตอส (Asbestos) เป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ ผู้ที่ทำงานในโรงงานที่มีการใช้ แอสเบสตอสในอุตสาหกรรมนั้นๆ รวมทั้งใช้เป็นส่วนประกอบของๆ ที่ใช้ในบ้านด้วยทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ คนงานที่ทำงานในโรงงานอุสาหกรรมนั้นมีโอกาสเป็นมะเร็งในปอดมากกว่าคนปกติถึง 7 เท่า และถ้าสูบบุหรี่ด้วยโอกาสเป็นมากกว่าถึง 50-90 เท่า นอกนั้นอาจทำให้เกิดมะเร็งของเยื่อหุ้มปอด (Mesothelioma)
  • เรดอน (Radon) เป็นก๊าซกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของยูเรเนี่ยม ซึ่งหลายแห่งมีสารยูเรเนี่ยมอยู่ในดินจะมีก๊าซเรดอนสูงกว่าปกติรวมทั้งในเหมืองบางแห่ง โอกาสที่มีเรดอนสูงกว่าปกติจะทำให้คนเป็นมะเร็งได้โดยเฉพาะถ้าสูบบุหรี่ด้วยยิ่งเป็นมากขึ้น
  • สารในที่ทำงานที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ และเราควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ยูเรเนี่ยม (Uranium), สารหนู (Arsenic), พลาสติก (Vinyl), คลอไรด์ (Chloride), นิเกิล (Nickel Chromates), ผลิตภัณท์จากถ่านหิน (Coal Products), ควันพิษมัสตัส (Mustard Gas), อีเธอร์ (Chloromethyl Ethers), น้ำมันเบนซิน (Gasoline), ควันท่อไอเสียจากน้ำมันดีเซล (Diesel Exhaust)
  • กัญชา (Marijuana) บุหรี่กัญชาจะมีน้ำมันดิบปนมากกว่าบุหรี่ธรรมดา และยังมีสารอื่นที่ทำให้เกิดมะเร็งร่วมอยู่ด้วย ยิ่งกว่านั้นผู้สูบกัญชามักสูดควันเข้าไปลึกและกลั้นหายใจค้างไว้ทำให้ควันถึงปอดได้มากกว่า
  • รังสีรักษามะเร็ง (Radiotherapy) ผู้ที่ต้องฉายแสงรังสีเพื่อรักษาโรคในทรวงอกด้วยรังสีรักษาอาจเกิดมะเร็งของปอดได้ โดยเฉพาะถ้าสูบบุหรี่ยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น
  • โรคอื่นๆ โรคที่ทำให้เกิดมีแผลเป็นในปอด เช่น วัณโรค ปอดบวมบางอย่าง อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งในปอด บางโรคที่เกิดจากการหายใจเอาสารแร่เข้าไปในปอดอาจมีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น เช่น โรคซิลิโคซีส
  • ประวัติครอบครัว ถ้ามีบุคลในครอบครัวที่มีสายเลือดเดียวกันเป็นมะเร็งปอด เรามีโอกาสเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • อาหาร มีรายงานแนะว่า ผู้ที่ทานอาหารที่มีผลไม้และผักน้อยมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น และมีผู้เชื่อว่าอาหารพวกนี้อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งของปอด
  • มลภาวะเป็นพิษ อาจทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นแต่น้อยกว่าสูบบุหรี่ ผู้ที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่อยู่ในชนบท 1.2-2.3 เท่า

ผู้ป่วยเป็นมะเร็งปอดมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร

ภาพ:ก้อนมะเร็งในปอด.jpg

ภาพประกอบ ก้อนมะเร็งในปอด

        ผู้ป่วยเป็นมะเร็งของปอดจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร แล้วแต่เวลาที่ตรวจพบและเริ่มรักษาว่ามะเร็งนั้นอยู่ในระยะไหน การแบ่งระยะของมะเร็งจึงมีความสำคัญในการพยากรณ์โรคโดยเฉพาะมะเร็งชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) ส่วนมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) นั้นการแบ่งระยะของโรคมีความสำคัญน้อยกว่าเพราะโรคแพร่เร็วและผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ระยะสั้นๆ หลังเป็นโรค การรักษาก็ยังไม่ได้ผลดี

        มะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) นั้นการแบ่งระยะของโรคเราแบ่งออกเป็นเพียง 2 ระยะเท่านั้นคือ

  • ระยะโรคจำกัดที่ (Limited Stage) หมายถึง มะเร็งอยู่ในปอดข้างหนึ่งและถ้าไปที่ต่อมน้ำเหลืองก็ไปที่ทรวงอกด้านเดียวกัน ผู้ป่วยพวกนี้มีชีวิตอยู่ได้ 2 ปีราวๆ 20%
  • ระยะที่โรคกระจายไปแล้ว (Extensive Stage) หมายถึง โรคกระจายไปยังปอดด้านตรงข้ามแล้ว หรือกระจายไปอวัยวะอื่นแล้ว ผู้ป่วยพวกนี้อยู่ได้ 2 ปีประมาณ 5%

        สำหรับมะเร็งชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) นั้นการพยากรณ์โรคดีกว่ามากโดยเฉพาะผู้ป่วยที่พบในระยะแรก (Stage I)

        การแบ่งระยะของมะเร็งพวกนี้ที่นิยมกันใช้เรียกว่า TNM System (T คือ ขนาดของก้อนมะเร็ง, N คือ ไปต่อมน้ำเหลืองแล้วหรือไม่ ไปที่ต่อมไหน, M คือ มีการกระจายไปอวัยวะอื่นแล้วหรือยัง)

Stage 0 : มะเร็งพบในหลอดลมแต่ไม่กินลึกลงไปในปอด อยู่เฉพาะที่ และไม่กระจายไปที่ใด (Carcinoma in Situ)
Stage I : มะเร็งจำกัดอยู่ในปอด ยังไม่กระจายแพร่ออกไป ก้อนมะเร็งจะโตเท่าไรก็ได้
Stage II : มะเร็งแพร่กระจายไปในต่อมน้ำเหลืองในปอดข้างเดียวกันแล้ว
Stage IIIA : มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองรอบๆ หลอดลม อาจลามไปถึงทรวงอก และกระบังลมข้างเดียวกัน
Stage IIIB : มะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ปอดด้านตรงข้าม และที่คอ
Stage IV : มะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นในร่างกายแล้ว

        อัตราการตายขึ้นอยู่กับระยะของโรค รายงานจากสมาคมโรคมะเร็งของสหรัฐฯ ประมาณว่าผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ 5 ปี ถ้าผู้ป่วยอยู่ใน : Stage I = 47%, Stage II = 26%, Stage III = 8%, Stage IV = 2% ผู้ป่วยใน Stage I นั้นขนาดของก้อนมะเร็งมีความสำคัญมาก ก้อนเล็กมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าก้อนโต

 อาการของมะเร็งปอด

        อาการของมะเร็งปอดเป็นอาการของปอด ของตัวมะเร็งเองและจากการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น

  • อาการทางปอด มี ไอ ไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือด เหนื่อย เจ็บหน้าอก ไข้อาจเป็นจากการติดเชื้อหรือจากมะเร็งก็ได้
  • อาการจากมะเร็ง มี เพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • อาการจากการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น เช่น ไปต่อมน้ำเหลืองจะมีต่อมน้ำเหลืองโต บางคราวอาจอุดหลอดเลือดที่พบบ่อยคือ อุดหลอดเลือดดำที่คอทำให้เลือดคั่งบวมที่หน้า อาจร่วมกับอาการอื่น ไปที่เยื่อหุ้มปอดทำให้มีน้ำในช่องเยื่อบุหุ้มปอด (Pleural Effusion) ไปที่สมอง มีปวดหัว ชัก อัมพาต ซึม หมดสติ ไปที่กระดูก มีปวดกระดูก กระดูกหัก ไปที่ตับ มีตัวเหลือง ตาเหลือง

        ผู้ป่วยบางรายมีอาการที่เรียกว่า Paraneoplastic Syndrome ซึ่งเรายังไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการพวกนี้แน่นอน เช่น มีไข้หนาวสั่น ปวดข้อและกล้ามเนื้อ ข้อบวม ระดับแคลเซี่ยมในเลือดสูง และระดับฮอร์โมนบางตัวในเลือดสูง อาการเหล่านี้จะหายไปถ้าเราตัดก้อนมะเร็งออกไป และถ้าโรคกลับมาอาการก็จะกลับมาใหม่ได้

ใครบ้างควรตรวจและหลังตรวจจะต้องทำอะไรต่ออีกบ้าง

ภาพ:แนวโน้มมะเร็งปอดในเพศหญิง.jpg

ภาพประกอบ แนวโน้มมะเร็งปอดในเพศหญิงที่มีอัตราเพิ่มขึ้น

        ผู้ที่ควรตรวจก็คือ

  • ผู้สูงอายุ อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงมีโอกาสเป็นโรคสูงตามที่กล่าวมาข้างต้นโดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัด
  • ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งปอดตามที่กล่าวมาแล้ว เช่นกัน
  • ผู้ที่มีประวัติมะเร็งในครอบครัวสายตรง

 ผู้ป่วยที่ตรวจแล้วพบว่าผลปกติก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ

        ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงอาจตรวจซ้ำปีละครั้ง ผู้ป่วยที่พบว่ามีก้อนในปอด แพทย์จะพิจารณาดูว่าโอกาสที่ก้อนนั้นจะเป็นมะเร็งมากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสเป็นไปได้มากว่าเป็นมะเร็งและก้อนโตอาจพิจารณาตัดออก ถ้าก้อนไม่โตมากและยังสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งได้ ก็อาจพิจารณาตัดชิ้นเนื้อไปตรวจพิสูจน์ก่อน ถ้าก้อนมีขนาดเล็กวินิจฉัยโรคไม่ได้แน่นอนก็อาจรอดูโดยทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของปอดหรือใช้ Spiral CT ซ้ำในเวลา 6-12 เดือนว่าก้อนโตขึ้นหรือไม่ อาจต้องทำซ้ำอีกครั้งถ้ายังไม่แน่ใจอีก

ความก้าวหน้าของการตรวจในอนาคต

        โดยที่มะเร็งปอดเป็นโรคพบบ่อยและร้ายแรงจึงมีการปรับปรุงหาวิธีตรวจที่พบผู้ป่วยให้เร็วขึ้น และผลแน่นอนขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น

  • การตรวจยีนที่ผิดปกติ เซลล์ของมะเร็งเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ ดังนั้นจึงมียีนที่ผิดปกติ (Oncogene) ซึ่งมีนักวิจัยพบว่ามีอย่างน้อย 26 ยีน การตรวจหายีนเหล่านี้อาจทำให้พบมะเร็งระยะแรกเริ่มได้
  • การตรวจเลือดเพื่อหาผลิตภัณฑ์จากเซลล์มะเร็งที่เรียกว่า Marker ชนิดต่างๆ เช่น การตรวจเลือดที่หา Anti-malignin Antibody Screen หรือ AMAS โดยเซลล์มะเร็งจะหลั่งสาร malignin ซึ่งเป็น antigen ออกมาในเลือด โดยที่ไม่มีการสร้างในเซลล์ปกติ การตรวจผลโดยใช้ *antibody เข้าไปทำปฏิกิริยาดูว่าในเลือดมีสารนี้หรือไม่
  • การปรับปรุงเครื่องเอกซ์เรย์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

PET Scan (Positron Emmision Tomography)

        เป็นเครื่องมือใหม่ ไม่เหมือนเอกซ์เรย์ ไม่เหมือนเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (Computer Tomography) ไม่เหมือน Magnetic Resonance Image (MRI) หรือ อัลตร้าซาวด์ หลักการคือ การตรวจหาเซลล์ที่มีเมตะบอลลิสม์ผิดปกติ เป็นการตรวจหาการทำงานของเซลล์และผ่านกลวิธีทำให้ออกมาเป็นรูปให้เราเห็น ในการตรวจมะเร็งปอดเราใช้น้ำตาล เมื่อเราทำให้น้ำตาลนั้นจับกับสารกัมมันตภาพ (Glucose 2-fluoro-2-deoxy-D-glucose หรือ FDG) ฉีดเข้าไปในเลือด เซลล์ไหนที่มีเมตะบอลลิสม์สูงจะใช้น้ำตาลมาก เช่น เซลล์ของมะเร็ง เซลล์ไหนที่ตายหรือมีเมตะบอลลิสม์ต่ำจะใช้น้ำตาลน้อย เมื่อใช้ Radiotracer จับปริมาณกัมมันตภาพ เราจะพบว่าก้อนมะเร็งนั้นมีกัมมันตภาพสูงกว่าเนื้อธรรมดาและใช้ตรวจทั้งตัวก็ได้

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก- โรงพยาบาลกรุงเทพ

อัพเดทล่าสุด