https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แพทย์แผนไทย มสธ หลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) น่าเรียนมาก MUSLIMTHAIPOST

 

แพทย์แผนไทย มสธ หลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) น่าเรียนมาก


6,733 ผู้ชม


หลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง)

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

  1. 1.    ชื่อหลักสูตร         

แพทย์แผนไทยบัณฑิต (ต่อเนื่อง)

Bachelor of Thai Traditional  Medicine Program

  1. 2.    ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม                      : แพทย์แผนไทยบัณฑิต

อักษรย่อ                    : พท.บ.

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ       : Bachelor of Thai Traditional  Medicine

อักษรย่อภาษาอังกฤษ     : B.T.M.

  1. 3.    หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

  1. 4.    ปรัชญาหลักสูตร

คณาจารย์หลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีความเชื่อว่าการแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์และศิลปะที่เกี่ยวข้องกับปรัชญา องค์ความรู้และวิธีการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพและการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยที่สอดคล้องกับหลักศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมไทย สมควรอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาการในระดับอุดมศึกษาและต่อมนุษยชาติในสังคมปัจจุบัน และมีคุณค่ายิ่งต่อสังคมในการประยุกต์เพื่อการให้บริการสุขภาพอนามัยทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ในการที่จะธำรงรักษาดุลยภาพของมนุษย์ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

          ผู้ให้บริการสุขภาพโดยอาศัยหลักการการแพทย์แผนไทยที่มีคุณภาพมาตรฐานนั้น ควรเป็นผู้ผ่านการศึกษาและพร้อมเป็นพลเมืองดีในสังคม มีจิตสำนึกของผู้มีความเอื้ออาทรและมีความรู้อย่างลึกซึ้งในศาสตร์การแพทย์แผนไทยตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะดังกล่าวในการให้บริการการดูแลสุขภาพให้ตอบสนองการแก้ไขปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ โดยการดูแลทั้งบุคคล ครอบครัวและชุมชนแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทั้งมิติด้านกาย จิต สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ มีความสำนึกในความแตกต่างของบุคคล เคารพและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้รับบริการด้วยการให้การบริการที่ถูกต้องตามมาตรฐานจรรยาวิชาชีพ คำนึงถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์แผนไทย  และวัฒนธรรมไทย ตลอดจนสามารถจรรโลงภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยให้เป็นมรดกของชาติสืบไป

  1. 5.    วัตถุประสงค์หลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต(ต่อเนื่อง) ให้มีคุณสมบัติและความสามารถ ดังนี้

5.1  ประยุกต์ความรู้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ให้การบริการสุขภาพโดยคำนึงถึงปฏิกิริยาที่ตอบสนองที่เกิดขึ้นกับคน ค่านิยม และความสนใจของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

5.2  สามารถใช้หลักวิธีการการแพทย์แผนไทยในการบริการสุขภาพเพื่อการส่งเสริม     สุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลรักษา และฟื้นฟูสภาพ ตามขอบเขตที่กฎหมายวิชาชีพกำหนด

5.3  สามารถใช้หลักการวินิจฉัยโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยได้

5.4  สามารถปรุงยาไทยและยาสมุนไพรได้อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาชีพ

5.5  สามารถบริหารจัดการการให้บริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสุขภาพได้

5.6  แสวงหาความรู้ ค้นคว้า ศึกษาวิจัยทางการแพทย์แผนไทยและนำมาประยุกต์ใช้

5.7  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า  และแสวงหาสารสนเทศเพื่อนำไปวิเคราะห์ใช้ตามสภาวะและสถานการณ์ที่เหมาะสม

5.8  มีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ

5.9  ส่งเสริม และดำรงไว้ซึ่งการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียม ประเพณี และศิลปะวัฒนธรรมไทย

  1. 6.    กำหนดการเปิดสอน

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต (ต่อเนื่อง)  ในปีการศึกษา 2547

  1. 7.    คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ต้องเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

7.1  ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาเวชกรรม สาขาวิชาแพทย์แผนไทยแบบประยุกต์ หรือ

7.2  ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (การแพทย์แผนไทยประยุกต์) หรือ

7.3  ประกาศนียบัตรการแพทย์แผนไทย

7.4  สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือสูงกว่าและสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทย

 

 
หมายเหตุ

1)   ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามข้อ 7.2 –7.4 จะได้รับการยกเว้นชุดวิชาหรือต้อง

ศึกษาชุดวิชาเพิ่มตามที่ระบุไว้ในโครงสร้างหลักสูตร

2)         ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามข้อ 7.4 ต้องแนบสำเนาประกาศนียบัตรการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขหรือกระทรวงศึกษาธิการ

                        3) หากรับเข้าศึกษาแล้วมีการเจ็บป่วยทางจิตที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จนไม่สามารถจะศึกษาต่อได้หรือเป็นภัยต่อผู้อื่นจะพิจารณาให้พ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษา

  1. 8.    การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

เป็นไปตามระเบียบการสมัครเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจะประกาศให้ทราบเป็นคราวๆไป ทั้งนี้โดยไม่มีการสอบคัดเลือก และการสมัครเป็นนักศึกษาสามารถสมัครเข้าศึกษาได้เพียงสาขาวิชาเดียวและหลักสูตรเดียวเท่านั้น

 

  1. 9.    ระบบการศึกษาและการจัดการศึกษา

9.1  ระบบการศึกษา เป็นระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2

ภาคการศึกษาปกติ และ 1 ภาคการศึกษาพิเศษ แต่ละภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ภาคการศึกษาพิเศษมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 สัปดาห์

          9.2 การคิดหน่วยกิต พิจารณาจากชุดวิชา ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดให้ใช้เอกสารการสอนเรียกว่า ชุดวิชา ที่มีลักษณะการบูรณาการเนื้อหาที่สมบูรณ์ในตัวเอง โดยแต่ละชุดวิชามีค่าไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต การศึกษาใน 1 ชุดวิชานักศึกษาต้องใช้เวลาการศึกษาต่อสัปดาห์ ดังนี้

1)   ศึกษาจากสื่อการสอนทางไปรษณีย์ ซึ่งประกอบด้วย เอกสารการสอน แบบฝึกปฏิบัติ เทปเสียง และสื่ออื่นๆ(ถ้ามี) ใช้เวลาประมาณ 6-12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

2)   ศึกษาจากสื่อทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วีดิทัศน์หรือสื่ออื่นๆที่จัดไว้ที่ศูนย์บริการการศึกษาต่างๆ หรือศูนย์วิทยพัฒนา ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3)   การทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ หมายถึง การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือการศึกษาจากการสังเกตและการทำงานตามที่มอบหมายใช้เวลาประมาณ 0 -12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

4)   การศึกษาเสริม โดยการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง เช่น การศึกษาจากหนังสืออ้างอิงหรือตำราที่กำหนดให้ค้นคว้าที่ห้องสมุด จากสื่อต่างๆที่เตรียมไว้ ณ ศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจ ศูนย์วิทยพัฒนาของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเข้ารับการฟังสอนเสริม ปรึกษาและอภิปรายกับอาจารย์ใช้เวลาประมาณ 1-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

9.3           การจัดการศึกษาในหลักสูตรโดยใช้ระบบการสอนทางไกล มีดังนี้

9.3.1   การจัดการเรียนการสอนสำหรับชุดวิชาภาคทฤษฎี

ชุดวิชาภาคทฤษฎี มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยอาศัยสื่อประสมต่างๆ คือ

1)   สื่อสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วย เอกสารการสอนและแบบฝึกปฏิบัติ

2)   รายการวิทยุกระจายเสียง

3)   รายการวิทยุโทรทัศน์

4)   สื่ออิเล็กทรอนิกส์

5)   การสอนเสริม

9.3.2   การจัดการเรียนการสอนสำหรับชุดวิชาภาคปฏิบัติ

ชุดวิชาในหลักสูตรที่มีการสอนภาคปฏิบัติมีจำนวน 3 ชุดวิชา  ได้แก่

1)   การฝึกปฏิบัติเภสัชพฤกษศาสตร์และเภสัชกรรมแผนไทย

2)   การฝึกปฏิบัติเวชกรรมและนวดแผนไทย

3)   ประสบการณ์วิชาชีพการแพทย์แผนไทย

ซึ่งมีชั่วโมงในการฝึกปฏิบัติชุดวิชาละ 240-360 ชั่วโมง โดยลักษณะและประเภทของการฝึกปฏิบัติเป็นดังนี้

ก.      การฝึกด้วยตนเอง เป็นการฝึกปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทยในด้านที่

ศึกษาในเอกสารการสอน การให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และการแก้ไขปัญหาสุขภาพแก่ผู้รับบริการในขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำ หรือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ณ สถานบริการที่มหาวิทยาลัยกำหนด

ข. ฝึกปฏิบัติตามมอบหมาย เป็นการฝึกปฏิบัติเฉพาะด้านตามที่ชุดวิชา

นั้นๆกำหนด ด้วยการศึกษาด้วยตนเองเป็นรายกรณี และทำการสังเกต ปฏิบัติหรือทดลองจนได้ทักษะตามที่กำหนดให้ศึกษา โดยมีอาจารย์ที่มีความสามารถเฉพาะ(อาจารย์ในท้องถิ่น)ให้คำแนะนำและรับรอง

                             ค. ฝึกเสริมทักษะ(โดยการนัดหมาย) เป็นการฝึกปฏิบัติในเฉพาะด้าน

ตามลักษณะของชุดวิชา โดยมหาวิทยาลัยจะกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเพื่อเข้ารับการฝึกตามสถานที่ที่กำหนด โดยมีอาจารย์สอนเสริมฝึกเสริมทักษะที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุมและประเมินผล

ง.      ฝึกอบรมเข้ม เป็นการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ การ

ทำงานเป็นทีม  การวิเคราะห์สถานการณ์จำลองเพื่อการแก้ไขปัญหา การจัดการด้วยการวางแผนในการดำเนินการ การพัฒนางาน

อัพเดทล่าสุด