https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องพืช (มีไฟล์ word ดาวน์โหลด) MUSLIMTHAIPOST

 

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องพืช (มีไฟล์ word ดาวน์โหลด)


5,437 ผู้ชม


โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "การใช้พืชทะเลลดความเค็มของดิน"
ผู้จัดทำ  อาจารย์ที่ปรึกษา
1. นายตาตั้ม มนตลักษณ์  1. อาจารย์มาฆะ ทิพย์คีรี
2. นางสาวศิริรัตน์ พันธุ์อธิคม  2. อาจารย์วิมลศรี สุวรรณรัตน์
3. นางสาวรัชดาภรณ์ เพชรวงศ์  3. อาจารย์ณัฐจรีย์ ธรรมทัศนานนท์
ที่มาและความสำคัญและปัญหา
จากการที่มีการเลี้ยงกุ้งกัน ทำให้มีการแพร่กระจายของเกลือจากนากุ้ง ออกสู่พื้นที่ใกล้เคียงทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผู้ทำโครงงานเห็นว่ามีพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้บริเวณดินเค็มริมฝั่งทะเล จึงคิดว่าน่าจะนำพืชเหล่านั้นมาดูดซับเกลือที่แพร่กระจายออกมาจากนากุ้งได้ซึ่งจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาหาชนิดและปริมาณของพืชทะเล นำมาลดมลพิษจากแพร่กระจายของเกลือ
2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินที่ได้จากนากุ้ง
3. เพื่อศึกษาการปลูกผักบุ้งทะเล และถั่วทะเลบริเวณว่างเปล่าริมนากุ้งเพื่อลดความเค็ม
4. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง
5. เพื่อศึกษาหาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่บริเวณชายฝั่งทะเล เปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่อยู่ห่างไกลชายฝั่งทะเล
สมมติฐาน
พืชที่เจริญได้ดีบริเวณชายฝั่งทะเล สามารถลดมลพิษจากการแพร่กระจายของเกลือที่เกิดจากการทำนากุ้ง
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น พืชทะเลบางชนิด
ตัวแปรตาม การลดความเค็มของดิน
ตัวแปรควบคุม ภาชนะที่ใช้ในการทดลอง, ปริมาณดินที่ใช้ในการทดลอง
วิธีการวิเคราะห์ความเค็ม
1. วิเคราะห์โดยการสังเกตุการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวในดินเค็ม ถ้าข้าวไม่เจริญแสดงว่าดินเค็ม ถ้าข้าวเจริญแสดงว่าดินไม่เค็ม
2. วิเคราะห์จากการหาปริมาณ AgNO3 ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ถ้ามีปริมาณ AgNO3 มาก แสดงว่ามีเกลือมาก
วิธีการทดลอง
1. สำรวจชนิด และปริมาณพืชที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อจะคัดเลือกพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณชายฝั่งทะเลมาลดมลพิษการแพร่กระจายของเกลือ
2. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินจากนากุ้ง
3. ทดลองปลูกผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลบริเวณที่ว่างเปล่าริมนากุ้ง
4. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง
5. ทดลองศึกษาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลเปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณดินปกติ (ปกติ คือ ดินที่อยู่ห่างไกลจากทะเล)
ผลการวิเคราะห์และวิจารณ์ผล
1. พืชทะเลมี 10 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเล, ถั่วทะเล, งับพริก, คดดินสอ, แพงพวย, ปอทะเล, บุกรอ, หูกวาง, แห้วหมู, หญ้าหนวดกุ้ง และพบว่า ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลเจริญเติบโตได้ดีจึงนำพืชทั้ง 2 ชนิดมาดูดซับเกลือ
2. การนำผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลดูดซับเกลือในปล้องบ่อได้จริง ในระยะเวลา 120 วัน
3. การทดลองดูดซับเกลือในแปลง พบว่าดูดซับเกลือได้เช่นกันในเวลา 120 วัน
4. แม้ใช้ดินเลนที่มีขี้กุ้งมาปลูกผักบุ้งทะเลก็ยังสามารถเจริญได้ดีและดูดซับเกลือได้
5. ผลการวิเคราะห์ในลำต้นผักบุ้งที่ขึ้นริมฝั่งทะเลมีเกลือมากกว่าผักบุ้งที่ขึ้นบริเวณดินไม่เค็ม
ประโยชน์ของโครงงาน
จากการศึกษาพบว่าพืชทั้ง 2 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล สามารถลดความเค็มของดินได้จริงดังนั้นผู้ทำโครงงานจึงคิดว่า ควรจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ
1. นำไปลดความเค็มของดินบริเวณนาที่มีการเลี้ยงกุ้ง
2. อาจนำไปลดความเค็มของดินที่แพร่กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ (แต่ยังไม่มีการทดลอง)
________________________________________
ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

[DOC]

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "การใช้พืชทะเลลดความเค็มของดิน"

จากการศึกษาพบว่าพืชทั้ง 2 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล สามารถลดความเค็มของดินได้จริงดังนั้นผู้ทำโครงงานจึงคิดว่า ควรจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ ...
pirun.ku.ac.th/~g4786027/download/content/.../content235.1.doc

ดูหัวข้ออื่นๆที่เกี่ยวข้อง



อัพเดทล่าสุด