https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ยานอวกาศ ยานอวกาศคืออะไร ยานอวกาศจากอดีตสู่ปัจจุบัน MUSLIMTHAIPOST

 

ยานอวกาศ ยานอวกาศคืออะไร ยานอวกาศจากอดีตสู่ปัจจุบัน


2,005 ผู้ชม

ยานอวกาศ คือพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ทำงานในอวกาศเหนือผิวโลก ยานอวกาศนี้อาจเป็นได้ทั้งแบบมีคนบังคับหรือแบบไม่มีคนบังคับก็ได้ สำหรับภารกิจของยานอวกาศนี้จะมีทั้ง การสื่อสารทั่วไป, การสำรวจโลก, การทำเส้นทาง เป็นต้น บางทีคำว่ายานอวกาศนี้ยังใช้เรียกอธิบายดาวเทียม ได้ด้วยเช่นกัน


ยานอวกาศ คือพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ทำงานในอวกาศเหนือผิวโลก ยานอวกาศนี้อาจเป็นได้ทั้งแบบมีคนบังคับหรือแบบไม่มีคนบังคับก็ได้ สำหรับภารกิจของยานอวกาศนี้จะมีทั้ง การสื่อสารทั่วไป, การสำรวจโลก, การทำเส้นทาง เป็นต้น บางทีคำว่ายานอวกาศนี้ยังใช้เรียกอธิบายดาวเทียม ได้ด้วยเช่นกัน

ระบบการทำงานของยานอวกาศประกอบไปด้วยระบบย่อยต่างๆมากมาย
  • ระบบกำหนดและควบคุมตัวยาน
    ยานอวกาศต้องการระบบนี้เพื่อให้ทำงานในอวกาศได้โดยเกี่ยวข้องและตอบสนองกับปัจจัยภายนอกยาน ระบบนี้ประกอบไปด้วย เซ็นเซอร์ และตัวบังคับ ซึ่งทำงานร่วมกันโดยใช้โปรแกรมควบคุมอีกทีหนึ่ง ระบบกำหนดและควบคุมหลักๆ ใช้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การทำงานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม เช่น แผงรับแสงอาทิตย์จะหันไปทางดวงอาทิตย์อัตโนมัติ หรือ การหันหน้าไปทางโลกเมื่อมีการทำงานเกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นต้น
     
  • ระบบควบคุมการนำร่องและนำทาง
    การนำร่อง หมายถึง การคำนวณค่าจากชุดคำสั่งเพื่อใช้นำยานอวกาศไปยังที่ที่ต้องการ ส่วนการนำทาง หมายถึง การกำหนดจุดตำแหน่งที่ที่ยานอวกาศจะเดินทางไป โดยทั้งสองปัจจัยนี้จะถูกควบคุมอีกทีหนึ่งจากระบบเพื่อใช้เส้นทางที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของภารกิจมากที่สุด
     
  • ระบบการสื่อสาร
    ระบบนี้เป็นส่วนที่เชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลต่างๆระหว่างยานอวกาศ กับพื้นโลก หรือระหว่างยานอวกาศกับยานอวกาศด้วยกันเอง
     
  • ระบบจัดการข้อมูลและคำสั่ง
    คำสั่งต่างๆ ที่ได้รับมาจากระบบการสื่อสารจะถูกนำมาที่ระบบนี้ เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้อง,แปลความหมายของคำสั่ง และส่งคำสั่งเหล่านี้ไปยังระบบย่อยอื่นๆของยานอวกาศ ระบบนี้ยังใช้รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ได้จากระบบย่อยอื่นๆของยานอวกาศ ส่งกลับไปยังพื้นโลกผ่านทางระบบการสื่อสารอีกด้วย ส่วนหน้าที่อื่นๆ ของระบบนี้ เช่น คอยตรวจสอบดูแลสถานะของยานอวกาศ
     
  • ระบบพลังงาน
    การขับเคลื่อนตัวยานอวกาศจะเริ่มใช้พลังงานตั้งแต่ออกตัวจากพื้นโลก สู่ชั้นบรรยากาศ จนถึงการทำงานนอกโลก โดยระบบนี้มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลระดับพลังงานให้เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด และนำพลังงานบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ด้วย (reusable)
     
  • ระบบควบคุมอุณหภูมิ
    ปกติแล้วยานอวกาศจะต้องมีการปรับแต่งให้สามารถคงอยู่ในสภาวะต่างๆได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลก หรือในอวกาศก็ตาม ยานอวกาศนี้ยังต้องทำงานในสภาวะสุญญากาศซะเป็นส่วนมากและต้องเผชิญกับอุณหภูมิหลายระดับขึ้นอยู่กับภารกิจ ซึ่งอาจจะเป็นการสำรวจพื้นผิวของดาวเคราะห์อื่นๆ ดังนั้น ระบบนี้จึงมีความจำเป็นต่อยานอวกาศมากที่จะคอยดูแลสภาวะอุณหภูมิของยานให้เป็นไปอย่างปกติตลอดการดำเนินงาน
    ยานอวกาศอาจจะมีหรือไม่มีระบบการขับเคลื่อนนี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิง, ถังเก็บเชื้อเพลิง, ท่อเปิดปิด (valves), ท่อส่ง เปน
     
  • โครงสร้าง
    สำหรับโครงสร้างของยานอวกาศนี้จะต้องมีการปรับแต่งให้คงทนต่อการบรรทุกของต่างๆ รวมถึงเครื่องมือของระบบต่างๆด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับภารกิจของยานอวกาศเองว่าจะกำหนดโครงสร้างอย่างไร
     
  • ระบบบรรทุก
    การบรรทุกอุปกรณ์สิ่งของต่างๆ นี้ก็ขึ้นอยู่กับภารกิจของยานอวกาศ โดยปกติแล้วยานจะบรรทุกพวก เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ (กล้อง,กล้องดูดาว หรือ เครื่องมือตรวจจับ), คลังสินค้า หรือมนุษย์อวกาศ

ลำดับการส่งยานอวกาศ

ชื่อยาน

วันที่ส่งยานอวกาศ

ผลงาน

สปุตนิก-1 

4 ตุลาคม ค.ศ. 1957

ดาวเทียมดวงแรกของโลก ส่งโดยรัสเซีย

สปุตนิก-2

3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957

ดาวเทียมดวงแรกที่นำสุนัขชื่อ ไลกา ขึ้นสู่อวกาศ ส่งโดยรัสเซีย

เอกซ์พลอเรอร์ 1

1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958

ดาวเทียมดวงแรกที่ประสบความสำเร็จของสหรัฐอเมริกา

ลูนา 1 

 2 มกราคม ค.ศ. 1959

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ผ่านใกล้ดวงจันทร์และค้นพบลมสุริยะ ส่งโดย รัสเซีย

ลูนา  2 

 12 กันยายน ค.ศ. 1959

เป็นยานอวกาศลำแรกที่สัมผัสผิวดวงจันทร์ ส่งโดยรัสเซีย

ลูนา 3  

  4 ตุลาคม ค.ศ. 1959

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ส่งภาพด้านไกลโลกของดวงจันทร์กลับมาที่โลก ส่งโดยรัสเซีย

เวเนรา 1

12 เมษายน ค.ศ. 1961

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ส่งมนุษย์อวกาศ ยูริ กาการิน ขึ้นสู่อวกาศ ส่งโดยรัสเซีย

เรนเจอร์ 7 

28 กรกฎาคม ค.ศ. 1964

เป็นยานอวกาศลำแรกของสหรัฐอเมริกาที่ลงกระทบพื้นผิวดวงจันทร์อย่างรุนแรง โดยได้ถ่ายภาพพื้นผิวดวงจันทร์ไว้ก่อนการตกกระทบ

มารีเนอร์  4

28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1964

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ผ่านใกล้ดาวอังคาร ได้ส่งภาพจำนวน 22 ภาพ แสดงหลุมบ่อบนผิวดาวอังคาร ส่งโดยสหรัฐอเมริกา

เวเนรา 3 

16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ส่งออกจากโลก เพื่อไปลงยังดาวเคราะห์ดวงอื่น เวเนรา 3 ตกลงบนผิวดาวศุกร์ ส่งโดยรัสเซีย

ลูนา 9  

31 มกราคม ค.ศ. 1966

เป็นยานอวกาศที่ลงดวงจันทร์ได้อย่างนิ่มนวลเป็นครั้งแรกโดยใช้ถุงลม ได้ส่งภาพ พื้นผิวดวงจันทร์ชุดแรกๆ จากดวงจันทร์ ส่งโดย รัสเซีย

เซอร์เวเยอร์ 1

30 เมษายน ค.ศ. 1966

เป็นยานอวกาศลำแรกของสหรัฐอเมริกาที่ลงพื้นผิวดวงจันทร์ได้อย่างปลอดภัย

เวเนรา 4 

12 มิถุนายน ค.ศ. 1967

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับบรรยากาศและอุณหภูมิผิวของดาวศุกร์กลับโลก ส่งโดยรัสเซีย

อะพอลโล 8 

21 ธันวาคม ค.ศ. 1968

เป็นยานอวกาศลำแรกที่พานักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์แล้วกลับมาสู่โลกโดยไม่ได้ลงดวงจันทร์ ส่งโดยสหรัฐอเมริกา

อะพอลโล 11

6 กรกฎาคม ค.ศ. 1968

เป็นยานอวกาศลำแรกของสหรัฐอเมริกาที่พานักบินอวกาศไปลงดวงจันทร์ ซึ่งมีอีก 5 ลำในระยะเวลาต่างๆ กัน

เวเนรา 7 

17 สิงหาคม ค.ศ. 1970

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงบนพื้นผิวดาวเคราะห์ดวงอื่น (ดาวศุกร์) ได้เป็นผลสำเร็จ ส่งโดยรัสเซีย

ลูนา 16 

 12 กันยายน ค.ศ. 1970

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ไม่มีมนุษย์ขับขี่และนำฝุ่นดินดวงจันทร์กลับมายังโลกได้ ส่งโดยรัสเซีย

ลูนา 17 

10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970

เป็นยานอวกาศลำแรกที่พารถสำรวจลูโนคอด 1 ไปลงสำรวจผิวดวงจันทร์ด้วย ส่งโดยรัสเซีย

ซัลยุต 1  

19 เมษายน ค.ศ. 1971

เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของโลก ส่งโดยรัสเซีย

มารีเนอร์ 9 

30 พฤษภาคม ค.ศ. 1971

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ไปโคจรรอบดาวเคราะห์ดวงอื่น คือ ดาวอังคาร และส่งภาพพื้นผิวดาวอังคารกลับมา ส่งโดยสหรัฐอเมริกา

ไพโอเนียร์ 10   

3 มีนาคม ค.ศ. 1972

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ผ่านเฉียดใกล้ดาวพฤหัสบดี และส่งภาพกลับจำนวน 500 ภาพ ส่งโดยสหรัฐอเมริกา

สกายแล็บ  

26 พฤษภาคม ค.ศ. 1973

เป็นสถานีอวกาศของสหรัฐอเมริกา สถานีแรก มีนักบินอวกาศขึ้นไปอยู่เป็นเวลารวมกัน 171 วัน

อะพอลโล 18 

และ โซยุส 19 

15 กรกฎาคม ค.ศ. 1975

เป็นการต่อเชื่อมกันระหว่าง ยานของสหรัฐอเมริกาและรัสเซียในอวกาศเป็นครั้งแรก

ไวกิ้ง 1

20 สิงหาคม ค.ศ. 1975

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารได้อย่างปลอดภัย ได้ส่งภาพกลับสู่โลกเป็นเวลา 6 ปี ส่งโดยสหรัฐอเมริกา

ยานขนส่งอวกาศ โคลัมเบีย 

12 เมษายน ค.ศ. 1981

เป็นยานขนส่งอวกาศลำแรกที่ประสบความสำเร็จในการนำยานมาใช้ได้อีก ส่งโดยสหรัฐอเมริกา

สถานีอวกาศเมียร์   

20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986

เป็นสถานีอวกาศของรัสเซียที่อยู่ในอวกาศมาจนถึง ค.ศ. 2000

ยานอวกาศแมกเจลแลน 

4 พฤษภาคม ค.ศ. 1989

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ทำแผนที่พื้นผิวดาวศุกร์ได้สำเร็จ โดยอาศัยเรดาร์ สามารถเห็นรายละเอียด ในแผนที่ได้ถึง 400 เมตร ส่งโดยสหรัฐอเมริกา

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล 

25 เมษายน ค.ศ. 1990

ส่งภาพดวงจันทร์ต่างๆ ดาวเคราะห์ทั้งหลายและดาวหางกลับโลกอยู่เป็นประจำ ส่งโดยสหรัฐอเมริกาและยุโรป

มาร์สพาทไฟน์เดอร์ 

4 ธันวาคม ค.ศ. 1996

เป็นยานอวกาศประเภทหุ่นยนต์ที่ไปสำรวจพื้นผิวดาวเคราะห์ดวงอื่นได้เป็นครั้งแรกของสหรัฐอเมริกา


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/
        : https://srisawat.endutot.com/upload-elearning/Iv3DYMQKkV2SMIbx/7/mainmedia/Mono%20Space/number.html

อัพเดทล่าสุด