https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เทคโนโลยีอวกาศคือ ประโยชน์เทคโนโลยีอวกาศ MUSLIMTHAIPOST

 

เทคโนโลยีอวกาศคือ ประโยชน์เทคโนโลยีอวกาศ


1,981 ผู้ชม


เทคโนโลยีอวกาศ

ความหมายของเทคโนโลยีอวกาศ

อวกาศ หมายถึง อาณาบริวเวณอันกว้างใหญ่ที่อยู่เลยชั้นบรรยากาศของโลกออกไป  ไม่สามารถระบุถึงขอบเขตได้อย่างชัดเจน  โดยปกติอวกาศเป็นที่ว่างเปล่า  มีความหนาแน่นน้อย  การศึกษาความรู้เกี่ยวกับอวกาศจำเป็นต้องใช้ความรู้ เครื่องมือ และกลวิธีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์
ดังนั้น  เทคโนโลยีอวกาศ จึงหมายถึง ระเบียบการนำความรู้ เครื่องแลวิธีการต่าง ทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์  และอวกาศ  ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ  และการดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วย  เช่น  การนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้สำรวจและตรวจสอบสภาพอากาศของโลก เป็นต้น

การเดินทางสู่อวกาศ

การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ บนโลกเป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว  แต่สำหรับการเดินทางสู่อวกาศถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือความคุ้นเคยของมนุษย์  ซึ่งการเดินทางแต่ละครั้งจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยที่มาเกี่ยวข้อง ดังนี้

แรงโน้มถ่วงของโลก

แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นแรงที่ดึงดูดต่อวัตถุทั้งหมดบนโลกไม่ให้หลุดลอยไปนอกโลก  การส่งยานอวกาศปรือดาวเทียมจากโลกสู่อวกาศอันดับแรกจะต้องพยายามหนีจากแรงดึงดูดของโลกให้ได้  ซึ่งต้องอาศัยแรงดันอันมหาศาลและความเร็วสูงมาก ๆ จะเรียกความเร็วที่ทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่หลุดออกจากแรงโน้มถ่วงของโลกว่า  ความเร็วหลุดพ้น  ซึ่งมีค่าประมาณ 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที

แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา

การส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นจากพื้นโลกต้องอาศัยแรงขับดันจากจรวดซึ่งเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน ซึ่งกล่าวว่า"ทุกแรงกิริยาก็ยอมมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันกระทำในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ"

วงโครจรของดาวเทียม

การทีดาวเทียมโครจรรอบโลกอยู่ได้นั้น  เนื่องจากความเร็วของดาวเทียมที่โครจรรอบโลกจะสมดุลกันแงโน้มถ่วงของโลก  ที่ระดับความสูงจากพื้นโลกเหนือนเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป 35,786 กิโลเมตร ดาวเทียมเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว3,070 เมตรต่อวินาทีหรือใช้เวลาโครจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ คือ 24 ชั่วโมง จึงทำให้เรามองเห็นดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งเดินตลอดเวลา  เมื่อดาวเทียมลอยอยู่นิ่ง ๆ จึงเรียกดาวเทียมที่อยู่ในตำแหน่งนี้ว่า ดาวเทียมค้างฟ้า (geostationary orbit)

ความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศ

ยุคก่อนอวกาศ

ในอดีตมนุษย์มีความเข้าใจว่า  ท้องฟ้าและอวกาศ  เป็นสถานที่ลึกลับ  การเกิดลม  ฝน  พายุ  หรือสายฟ้าเกิดจากการบันดาลของเทพเจ้า  แต่ต่อมาเมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น  มนุษย์เริ่มสำรวจหาข้อเท็จจริงโดยการสำรวจในช่วงแรกยังคงเป็นการใช้กล้องโทรทรรศน์ (telescope)  ส่องดูวัตถุต่าง ๆ  บนท้องฟ้า  และใช้จานรับคลื่นวิทยุจากดวงดาวต่าง ๆ

ยุคอวกาศ

ยุคอวกาศเป็นยุคที่วงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเฟื่องฟูที่จะศึกษาเรื่องของอวกาศมากขึ้น  มีการประดิษฐ์ยานอวกาศเพื่อส่งไปสำรวจห้วงอวกาศ  โดยจุดเริ่มต้นของอวกาศเกิดขึ้นเมื่อสหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกของโลกชื่อ สปุตนิ 1 (sputnik 1) ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2500   ต่อมาทั้งสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และอีกหลาย ๆ ประเทศ  ต่างก็ตั้งโครงการสำรวจอวกาศ  โดยได้ส่งดาวเทียมและยานอวกาศขึ้นไปโครจรรอบโลกมากมาย  รวมทั้งการส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์ต่าง ๆ และมีการร่วมมือกันระหว่างประเทศ เพื่อจัดตั้งโครงการสถานอวกาศเป็นสถานีทดลองทางวิทยาศาสตร์บนห้วงอวกาศ  ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2550

ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ

ปัจจุบันสิ่งประดิษฐ์ที่อาศสัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศมีมากมายหลายชิ้น  โดยเฉพาะการสร้างดาวเทียมประเภทต่าง ๆ ขึ้นมาช่วยอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่

การสื่อสาร

ดาวเทียมสื่อสาร  เป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม  ทั้งที่เป็นการสื่อสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ  ส่วนใหญ่ใช้สำรับกิจการโทรศัพท์  โทรเลข  โทรสาร  รวมทั้งการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์และสัญญาณวิทยุ

การพยากรณ์อากาศ

ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา  ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพถ่ายทางอากาศที่ประกอบด้วยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา  เช่น  จำนวนและชนิดของเมฆ  ความแปรปรวนของอากาศ  ความเร็วลม  ความชื้น  อุณหภูมิ  ทำให้สามารถเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติต่าง ๆ ไ้โดยเฉพาะการเกิดลาพายุ

การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ  เป็นดาวเที่ยมที่ถูกใช้เป็นสถานีเคลื่อนที่สำรวจดูพื้นที่ผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  ทำให้ทราบข้อมูลทั้งทางด้านธรณีวิทยา  นิเวศวิทยา  เป็นประโยชน์ด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ที่มา : https://www.thaigoodview.com

อัพเดทล่าสุด