https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รูปพัฒนาการทารกในครรภ์ และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน MUSLIMTHAIPOST

 

รูปพัฒนาการทารกในครรภ์ และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน


1,251 ผู้ชม


พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือการเจริญงอกงาม ทั้งในโครงสร้าง (Structure) และแบบแผน (Pattern) ของอินทรีย์ทุกส่วน มนุษย์ทุกคนต้องผ่านขั้นตอนของพัฒนาการตลอดชีวิต ดังนั้นเรื่องพัฒนาการจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นักจิตวิทยาให้ความสนใจศึกษา

รูปพัฒนาการทารกในครรภ์  และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน

รูปพัฒนาการทารกในครรภ์

องค์ประกอบที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ คือ
1. พันธุกรรม (Heredity)
2. วุฒิภาวะ (Maturation)
3. การเรียนรู้ (Learning)
4. สิ่งแวดล้อม (Environment)

1. พันธุกรรม คือ ลักษณะต่าง ๆ ทั้งทางกายและทางพฤติกรรมที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน การถ่ายทอดนี้ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ ลักษณะต่าง ๆ จากพ่อและแม่จะถ่ายทอดไปสู่ลูกโดยทางเซลล์สืบพันธุ์นี้ ซึ่งเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) สำหรับมนุษย์จะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 ตัวมีอยู่คู่หนึ่งที่ทำหน้าที่กำหนดเพศหญิงหรือเพศชาย
อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อมนุษย์คือ เป็นตัวกำหนดเพศ รูปร่าง ชนิดของโลหิต สีผม ผิว ตา และระดับสติปัญญาเป็นต้น นักจิตวิทยาหลายคน เช่น แอนนาตาซี (Anastasi) ได้กล่าวว่าพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยีน (Gene) ที่แตกต่างจะเป็นตัวกำหนดให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่แตกต่างกันส่วนใหญ่แล้วพันธุกรรมจะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายมากที่สุด
2. วุฒิภาวะ เป็นกระบวนการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของบุคคลโดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดหรือประสบการณ์ใด ๆ เช่น การยืน การเดิน การวิ่ง การเปล่งเสียง ซึ่งเป็นพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นไปตามปกติเมื่อถึงวัยที่สามารถจะกระทำได้
3. การเรียนรู้ เป็นพัฒนาการที่เกิดจากประสบการณ์และการฝึกหัด หรือความสามารถทางทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกหัดเป็นพื้นฐานสำคัญ ดังนั้นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องความพร้อม (Readiness) ว่าเป็นสิ่งสนับสนุนในเรื่องการเรียนรู้เป็นอย่างมาก จากการศึกษาเรื่องความพร้อมนักจิตวิทยาได้บ่งแนวความคิดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นว่า ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตามไม่ควรจะเป็น "การเร่ง" เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น

3.2 ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อม ได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ (Critical Period) ของการเรียนรู้และการปรับตัว เป็นอย่างมาก

4. สิ่งแวดล้อม ได้แก่ สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น ๆ ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์

พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ
1. พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัย
2. พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
3. พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
3.1 พัฒนาการทางด้านจิตใจ - เพศ (Psychosexual Development) ของฟรอยด์ (Freud)
3.2 พัฒนาการทางด้านจิตใจ - สังคม (Psychosocial Development) ของอีริคสัน (Erikson)

4. พัฒนาการทางด้านจริยธรรม (Moral Devlopment) ของโคลเบิร์ก (Kohlberg)

Source: www.novabizz.com

พัฒนาการของทารกในครรภ์ 
   
   

 รูปพัฒนาการทารกในครรภ์  และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน        

หลังจากที่อสุจิกับไข่ผสมกันกลายเป็นเซลล์ตัวอ่อนงอกอยู่ในเยื่อบุโพลงมดลูกจากเพียง 1 เซลล์ เพิ่มจำนวนเป็น 150 เซลล์ภายใน 7 วัน ตัวอ่อนเจริญเติบโตได้โดยอาศัยหลอดเลือดของแม่เป็นตัวลำเลียงออกซิเจนและ สารอาหารผ่านเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ตัวอ่อน ส่งผ่านของเสียต่างๆผ่านเข้าสู่ระบบ

*** พออายุ 5 สัปดาห์ลูกจะมีลำตัวยาว 7 มิลลิเมตร ขนาดเท่าเมล็ดถั่ว
   
รูปพัฒนาการทารกในครรภ์  และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน  
         ทารกเริ่มมีลักษณะรูปร่างชัดเจนขึ้น มีส่วนหัวโตกว่าส่วนอื่นๆ รูปหน้า มือและเท้า ปรากฎให้เห็น กล้ามเนื้อเริ่มเติบโต มีขนงอก ช่วงปลายเดือนถ้าอัลตราซาวด์จะเห็นการเคลือนไหวและจับการเต้นหัวใจได้ รวมทั้งมองเห็นสายรก ซึ่งรกนี้ทำหน้าที่แทนอวัยวะทารกที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นปอดแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนจากแม่ ทำหน้าที่เป็นลำไส้โดยดูดสารอาหารจากเลือดแม่ ทำหน้าที่เป็นไตกรองของเสียทำหน้าที่แทนตับโดยเก็บธาตุเหล็กจากเม็ดเลือดแดงของแม่ และทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อ เพื่อสร้างฮอร์โมน
   
รูปพัฒนาการทารกในครรภ์  และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน  
         ทารกมีลักษณะคล้ายมนุษย์มากขึ้น ตัวลอยอยู่ในน้ำคร่ำภายมดลูก ซึ่งน้ำคร่ำนี้เองทำหน้าที่ปกป้องและห่อหุ้มทารกไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน ตัวทารกเริ่มมีนิ้วมือนิ้วเท้าขึ้นมาในสภาพติดกันแล้วค่อยแยกออก ช่วงกลางเดือน หัวใจจะเป็นรูปเป็นร่างเต็มที่ เห็นหูชัดเจนตอนปลายเดือนอวัยวะสำคัญ เช่น อวัยวะเพศ จะเริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นเพศไหน สิ่งที่คุณแม่พึงระมัดระวังคือ ช่วง 3 เดือนแรกนี้ มีอัตราเสี่ยงในการแท้งค่อนข้างสูง ต้องดูแลตัวเองอย่างมาก และระมัดระวังเรื่องยาที่รับประทาน ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน
*** พอทารกอายุได้ 12 สัปดาห์ ลูกจะมีน้ำหนัก 14 กรัม และมีลำตัวยาว 3 นิ้ว
 
รูปพัฒนาการทารกในครรภ์  และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน  
         ตอนนี้อวัยยวะภายในของทารกเริ่มสมบูรณ์ขึ้นมาก เล็บก็เริ่มงอกแล้ว แต่ตัวยังผอมเพราะยังไม่มีชั้นไขมัน ช่วงปลายเดือนเริ่มมีเส้นขนละเอียดขึ้นทั้งตัว ผิวบางจนมองเห็นเส้นเลือด เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน รกมีขนาดโตมากขึ้นจากช่วงแรกซึ่งใหญ่กว่าตัวอ่อนเพียงเล็กน้อย สามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้น เริ่มมีไตที่ทำงานได้เหมือนผู้ใหญ่ นอกจากนี้ทารกยังมีจำนวนเส้นประสาทและกล้ามเนื้อมากกว่าเดือนที่แล้วถึง 3 เท่า สามารถเตะ งอนิ้วมือนิ้วเท้า กลอกตาได้อวัยวะเพศพัฒนามากขึ้นจนสามารถบอกได้ว่าเป็นเพศใด
*** จาก 18 สัปดาห์ เป็นต้นไป เสียงดังๆจะทำให้ลูกในท้องสะดุ้ง
 
 
รูปพัฒนาการทารกในครรภ์  และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน  
         ทารกเจริญเติบโตเร็วมาก ลำตัวยาว 9 นิ้ว ร่างกายผลิตสารสีขาวข้นที่เรียกว่า เวอร์นิกซ์ ขึ้นมาเคลือบเพื่อปกป้องผิวเส้นผม คิ้วและขนตาเริ่มงอกเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัส คือ รับรู้รส ได้กลิ่น และได้ยิน ตายังปิดอยู่แต่รับรู้แสงสว่างจ้าได้ ดังนั้นเวลาคุณพูดแกจะได้ยิน หรือเวลาที่คุณลูบท้องแกก็จะรู้สึกเช่นกันตอนนี้ทารกเริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้น บิดตัว เตะเท้าอยู่ในถุงน้ำคร่ำ เวลาโก่งหรือขยับตัว แม่จะรู้สึกได้ เพราะท้องของแม่จะนูนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ช่วงปลายเดือนทารกยังเริ่มถ่ายปัสสาวะลงสู่น้ำคร่ำอีกด้วย
 
 
รูปพัฒนาการทารกในครรภ์  และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน
         ร่างกายของทารกเริ่มเติบโตช้ากว่าเดิมเพื่อให้อวัยวะภายใน เช่น ปอด ระบบย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันได้พัฒนาอย่างเต็มที่ ที่น่าอัศจรรย์คือทารกสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวทำให้คุณแม่รู้สึกได้โดยเฉพาะตอนนอนพักทารกสามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้น เสียงพูด เสียงดนตรี และสามารถตอบสนองการกระตุ้นของแม่ เช่น ถ้าแม่ขยับตัวเร็วจะดิ้นตอบ ร่างกายทารกเริ่มมีเนื้อมีหนังมากขึ้น เพราะมีไขมันมาสะสมที่ชั้นใต้ผิวหนัง ถ้าทารกคลอดออก มาตอนนี้ อาจมีโอกาสรอดชีวิตได้
*** ตอนอายุ 20 สัปดาหื ลูกเริ่มสะอึกเป็น และคุณแม่ก็รู้สึกได้ด้วย พอเข้าสู่สัปดาห์ที่ 26 ลูกจะเริ่มจำเสียงคุณแม่ได้
 
 
รูปพัฒนาการทารกในครรภ์  และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน  
         ทารกในครรภ์เติบโตขึ้นมาก จนไปกดอวัยวะต่างๆในช่องท้องแม่ เปลือกตาเริ่มเปิด และนัยน์ตาพัฒนาไปมากจนมองเห็นแสงที่ผ่านมาทางหน้าทองแม่ได้ เสียงดังๆทำให้ทารกเคลื่อนไหว และการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไปตามเสียงและแสงไฟ ต่อมรับรสของทารกพัฒนาไปมาก ถึงขนาดสามารถแยกรสหวานกับรสเปรี้ยวได้ แต่ดูเหมือนทารกจะติดใจในรสหวานมากกว่า ถ้าทารกคลอดออกมาตอนนี้จะมีโอกาศรอดค่อนข้างสูง เพราะอวัยวะสำคัญทั้งหลาย(ยกเว้นปอดที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่นัก) ทำงานเป็นระบบมากขึ้นสมองเติบโตมากขึ้น ร่างกายเจริญเติบโตได้สัดส่วนมากขึ้น
 
 
รูปพัฒนาการทารกในครรภ์  และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน  
         ทารกตัวโตมากขึ้นจนแน่นท้องคุณแม่ โดยเฉลี่ยน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 กก. มีไขมันมากขึ้นจนดูเหมือนทารกแรกเกิด การทำงานของอวัยยวะต่างๆ ประสานงานกันได้ดีขึ้น อาจอยู่ในท่ากลับหัวพร้อมที่จะคลอด แต่ขยับตัวน้อยลง เพราะพื้นที่ในท้องแม่ดูจะน้อยเกินไปเสียแล้ว น้ำดีและน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไปจะสะสมอยู่ในลำไส้ของทารกไปจนถึงคลอด ซึ่งทารกจะถ่ายของเสียนี้ออกมาเป็นอุจจาระสีเขียวแก่ เรียกว่าขี้เทา ช่วงหนึ่งเดือนก่อนคลอดคุณแม่อาจมีอาการมดลูกบีบรัดตัวซึ่งเป้นอาการที่เรียกว่า เจ็บท้องหลอก การหดตัวรัดตัวนี้ก็เพื่อดันตัวทารก มาประชิดปากมดลุกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอดออกมานั่นเอง
 
 
รูปพัฒนาการทารกในครรภ์  และ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน  
         ในเดือนนี้ทารกมีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 3 กก. ขึ้นไปมีชั้นไขมันหนาทำให้ดูอ้วนกลมและเก็บไว้เป็นพลังสำรองหลังคลอด ปอดทำงานได้ดี อยู่ในท่ากลับหัวเชิงกราน หัวจะกดปากมดลูกทำให้เปิดออก ช่วยให้คลอดง่ายขึ้น จากนั้นหัวจะหมุนผ่านอุ้งเชิงกานแม่ออกมา ดังนั้นคุณแม่อาจคลอดตอนไหนก็ได้ในช่วงนี้ ทารกส่วนใหญ่จะคลอดตามกำหนดหรือช้าไป 2 สัปดาห์หลังกำหนด ถ้าช้ากว่านี้แพทย์อาจต้องเร่งคลอดเพราะออกซิเจนและสารอาหารจากรกที่ทารกเคยได้รับ เริ่มเพียงพอเสียแล้วเมื่อเทียบกับความต้องการของทารก
*** ลูกจะยังไม่มีฟันงอกออกมาจนกว่าจะอายุ 4 เดือน แต่มีฟันก่อตัวอยู่ในขากรรไกรเรียบร้อยแล้ว รอแค่เวลาโผล่ขึ้นมาเท่านั้นเอง

ข้อมูลจากนิตยสาร MOTHER&BABY

อัพเดทล่าสุด