งานวิจัยโรคอ้วน ในเด็ก ผลกระทบเด็กเป็นโรคอ้วน MUSLIMTHAIPOST

 

งานวิจัยโรคอ้วน ในเด็ก ผลกระทบเด็กเป็นโรคอ้วน


1,963 ผู้ชม


งานวิจัยโรคอ้วน ในเด็ก ผลกระทบเด็กเป็นโรคอ้วน

                                                                                 
โรคอ้วนในเด็ก:
คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักชอบเลี้ยงให้ลูกตัวเองอ้วนจ้ำม่ำ เพราะเด็กอ้วนจะแลดูน่ารัก อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่ยังเข้าใจว่าเด็กที่อ้วนท้วมนั้นจะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็ง แรง จึงปล่อยให้เด็กอ้วนโดยไม่ดูแล ทำให้จำนวนของเด็กอ้วน หรือเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปมีจำนวนเพิ่มขึ้นแทบทุกประเทศในโลกและกลาย เป็นปัญหาสุขภาพที่รุนแรงในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเอเชียพบว่ามีจำนวนเด็กที่มีน้ำหนักสูงกว่ามาตรฐานถึง 1 ใน 10 และอาจจะสูงถึง 1 ใน 5 ในชนบทบางแห่ง ทำให้หลายประเทศเริ่มตื่นตัวที่จะแก้ไขปัญหานี้
        ปัจจุบันประเทศไทยได้เริ่มมีการศึกษาเรื่องโรคอ้วนในเด็กอย่างจริงจังเป็น ครั้งแรก โดยคณะของ รศ.นพ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ หน่วยโภชนาการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ ตลอดจนโรงพยาบาลทั่วประเทศ รวมทั้งบริษัทเนสท์เล่ก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่เห็นความสำคัญในเรื่องดัง กล่าว จึงได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านโภชนาการระดับนานาชาติมาโดยตลอดมากกว่า ยี่สิบปีที่ผ่านมา โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เพื่อเป็นเวทีให้นักโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ชั้นนำจากนานาประเทศ มาพบปะและแลกเปลี่ยนผลการวิจัยล่าสุดที่เกี่ยวกับโภชนาการและกุมารเวชศาสตร์ โดยจัดขึ้นเวียนไปตามประเทศต่างๆ ปีละ 2 ครั้ง รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งจัดมาได้รวมทั้งสิ้น 51 ครั้ง และปัญหาของโรคอ้วนที่มีต่อสุขภาพก็ยังคงเป็นหนึ่งในหัวข้อของการถกเถียงและ วิจัยอย่างต่อเนื่อง
        จากการศึกษาพบว่า เด็กไทยที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึง 20% และพบว่าเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานตั้งแต่ในวัยก่อนเข้าโรงเรียน จะมีโอกาสโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึง 25% และเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานในช่วงอายุ 6-10 ปี ก็มีโอกาสโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึง 50% ส่วนในวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานจะมีโอกาสอ้วนต่อเนื่องไปจนถึงวัย ผู้ใหญ่ถึง 80% ทีเดียว
        ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยเรา ควรจะมีการศึกษาเรื่องโรคอ้วนกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอ้วนในเด็ก ซึ่งปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะโรคอ้วนสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน ดังนั้น ช่วงนี้ทั้งผู้ปกครองและตัวเด็กเองควรจะมีความรู้เรื่องนี้อย่างพอเพียง ดูแลเรื่องโภชนาการอย่างเหมาะสม อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน เพราะการที่เด็กอ้วนนั้นนอกจากจะทำให้เด็กมีความเครียดในเรื่องรูปลักษณ์และ บุคลิกแล้ว หากรักษาโรคอ้วนโดยการใช้ยาจะยิ่งเป็นผลเสียและเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรค เบาหวานอีกด้วย รศ.นพ.สังคม กล่าว
        สำหรับทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็กนั้น ผู้ปกครองต้องสร้างอุปนิสัยการกินที่ถูกต้องตั้งแต่ในวัยเด็ก และหาแรงจูงใจในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินต้องถูกหลักโภชนาการ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดี โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพสูงครบทั้ง 5 หมู่ ควรระวังเรื่องการรับประทานของหวาน และอาหารที่รสเค็มเกินไป ที่สำคัญต้องเป็นอาหารที่สะอาดและปลอดภัย ซึ่งหากปฏิบัติได้ในอนาคตเราก็จะได้เห็นผลการวิจัยที่พบว่ามีเด็กไทยที่หุ่น ดีมีสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
        การศึกษาโรคอ้วนในเด็กในต่างประเทศ อย่างสิงคโปร์ IFIC เปิดเผยสถิติที่รวบรวมว่า เด็กนักเรียนในสิงคโปร์ถึง 16% ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ขณะที่ไทยตามมาติดๆ ที่ 14.3% และมาเลเซีย 7.8% ในสหรัฐอเมริกาแม้ปัญหาของเด็กอ้วนในสหรัฐอเมริกาจะมีมากกว่า โดยจากการสำรวจครั้งที่ 3 ของ National Health and Nutrition Survey รายงานว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปีถึง 27% เป็นเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน แต่ในเมืองไทยเองก็อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ได้ดีกว่ากันมากนัก ผลที่เกิดจากความอ้วนนั้น ไม่ใช่มีเพียงแค่โดนล้อเลียนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้น แต่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับการหมุนเวียนในร่างกาย อย่างเช่น ทำให้ทางเดินหายใจติดขัด โรคตับ  โรคประสาท และปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เป็นต้น
        ศ.นพ.เดวิด วูด อายุรแพทย์โรคหัวใจ (cardiovascular medicine) จากโรงพยาบาล แชริงครอส ในลอนดอน พบว่า การสะสมของไขมันที่ผนังของเส้นโลหิตใหญ่เกิดขึ้นได้ในเด็กตั้งแต่ 2 ขวบ ดังนั้นในเด็กวัยรุ่นที่มีอายุ 20 ปี อาจจะพบว่ามีเด็กที่มีอาการนี้ถึง 1 ใน 3 ทุพโภชนาการในช่วงแรกของเด็ก โดยเฉพาะในช่วงที่ฝังตัวอยู่ในรก จนถึงช่วงที่เป็นทารก อาจจะมีผลต่อการพัฒนาหัวใจของเด็กด้วย เพื่อเป็นการปกป้องสุขภาพของเด็กในระยะยาว ศ.นพ.เดวิด แนะนำว่า แม่และเด็กควรจะได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ตั้งแต่ระหว่างตั้งครรภ์ต่อ เนื่องไปจนถึงการเลี้ยงดูเมื่อคลอดออกมาแล้ว
        คำถามที่ว่าทำไมเด็กอ้วนจึงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ผู้ปกครองบางคนบอกว่า เป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ เป็นเรื่องของการกินดีอยู่ดี เป็นเรื่องที่ใครๆ บอกว่าอ้วนนี่แหละดี น่ารักดี เดี๋ยวโตขึ้นก็ผอมเองแหละ เป็นต้น แต่ความจริงไม่ใช่ว่าโตขึ้นแล้วจะผอมเองอย่างที่คิดกัน ยิ่งไปกว่านั้นยิ่งโตจะยิ่งอ้วนขึ้น อ้วนขึ้น จนกลายเป็นผู้ใหญ่อ้วน ที่สุขภาพไม่ดี และไม่มีความสุขไปในที่สุด
        ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของโรคอ้วน แต่ก็ยังไม่สามารถตอบคำถามการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วนในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาได้ จึงดูเหมือนว่าปัญหาของโรคนี้จะไม่ได้เป็นปัญหาพื้นๆ เช่น รับประทานอาหารมากเกินไป หรือรับประทานไม่ถูกหลักโภชนาการ ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างพอเพียงคือ ประมาณวันละหนึ่งชั่วโมง แต่กลับใช้เวลาไปกับการดูทีวี หรือเล่นคอมพิวเตอร์มากกว่า โดยจากผลการสำรวจจากสหรัฐอเมริกา และแคนาดาพบว่า ปัจจุบันเด็กโตจะออกกำลังกายน้อยลง โดยเฉพาะในเด็กผู้หญิง
        ส่วนประเทศฮ่องกง ดร.จอร์เจียน่า กาวดอน สถาบันชีวเคมี จาก Chinese University of Hong Kong ได้ศึกษาเกี่ยวกับอาหาร และการออกกำลังกายของเด็กฮ่องกงที่มีอายุระหว่าง 9-12 ปี พบว่าเด็กส่วนใหญ่ในช่วงอายุนี้ออกกำลังกายน้อยมาก เด็กเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่มีการออกกำลังกายอย่างจริงจัง
        จากการศึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายของเด็กอายุระหว่าง 8-10 ปี ในกัวลาลัมเปอร์ จาการ์ตา บอกอร์ และมะนิลา ของสถาบันวิจัยอาหารและโภชนาการในมะนิลา สถาบันวิจัยเวชภัณฑ์ในกัวลาลัมเปอร์ และมหาวิทยาลัย Bogor ในอินโดนีเชียเมื่อเร็วๆ นี้ ออกมาสนับสนุนรายงานในฮ่องกงที่ว่า เด็กน้อยกว่า 1 ใน 4 ที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน เด็กส่วนใหญ่จะหมดเวลาไปกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ และดูทีวี แม้ว่าตามโรงเรียนโดยทั่วไปจะมีหลักสูตรการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ก็ไม่ถือว่าพอเพียง  ยิ่งเด็กผู้หญิงด้วยแล้วมีสถิติการออกกำลังกายที่น้อยกว่าเด็กผู้ชายในทุก ช่วงอายุเลยทีเดียวพบหมอศิริราช วันเสาร์ที่ 23 พ.ย.45 ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวานภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล
        ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานานอย่างน้อย 5 ปี โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี  รวมถึงการควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ ความดันเลือด ระดับไขมันในเลือดและการสูบบุหรี่ โดยแบ่งเป็น ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น ภาวะแทรกซ้อนที่ไต จอตา และภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เส้นประสาท  และภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย อันเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
        ภาวะแทรกซ้อนที่ไต เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเจ็บป่วยและการตายในผู้ป่วยเบาหวาน อุบัติการณ์และการดำเนินโรคของภาวะแทรกซ้อนที่ไต มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด ภาวะความดันเลือดสูง และปัจจัยทางพันธุกรรม  อาการของภาวะแทรกซ้อนที่ไต
        ระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบแอลบูมินในปัสสาวะ โดยมีปริมาณแอลบูมิน ในปัสสาวะประมาณ 30-300 มก. ต่อวัน   
        ระยะต่อมาผู้ป่วยจะมีปัสสาวะเป็นฟองและมีอาการบวมได้ มักตรวจพบความดันเลือดสูงร่วมด้วย ในระยะนี้จะมีปริมาณแอลบูมินในปัสสาวะมากกว่า 300 มก. ต่อวัน
        หลังจากนี้ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะไตวาย ซึ่งจะมีหน้าที่การทำงานของไตลดลง จนต้องรักษาด้วยการฟอกเลือด หรือล้างไตในที่สุดการป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่ไต
        ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรได้รับการตรวจหาปริมาณแอลบูมินในปัสสาวะปีละ 1 ครั้ง  การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับหรือใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารที่อาจมีอันตรายต่อไต เช่น ยาต้านการอักเสบ ยาปฏิชีวนะ รวมทั้งสารทึบรังสี  รักษาภาวะความดันเลือดสูงที่มักพบร่วมด้วย โดยตั้งเป้าหมายให้ระดับความดันเลือด (130/85 มม.ปรอท การใช้ยาลดความดันเลือดสูงบางกลุ่ม เช่น ANGIOTENSIN CONVERTING ENZYME INHIBITOR อาจช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ ควรกำจัดโปรตีนในอาหารไม่ให้เกินวันละ 0.6-0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เมื่อถึงไตวายระยะสุดท้ายผู้ป่วยควรได้รับการฟอกเลือดหรือล้างไต เพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท
        ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการชาที่ปลายเท้า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดส่วนปลายร่วมด้วย โดยทำให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดนิ้วหรือตัดขา อันเป็นสาเหตุของการเกิดทุพพลภาพในผู้ป่วยเบาหวาน
        ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือด ภาวะความดันเลือดสูง และการสูบบุหรี่อาการของภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท
        ผู้ป่วยจะมีอาการชาที่ปลายเท้าทั้งสองข้างมากกว่าที่มือ โดยระยะแรกจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือปวดเหมือนถูกแทงโดยมักจะปวดตอนกลางคืน ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลง แต่จะรู้สึกชามากขึ้น การรับความรู้สึกสัมผัสหรือความรู้สึกร้อนจะลดลง
        นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ควบคุมด้วยเส้นประสาทของ แขนขา หรือเส้นประสาทสมองก็ได้ รวมทั้งมีปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศการป้องกันและการรักษาภาวะแทรกซ้อน ที่เส้นประสาท
        การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับหรือใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด จะช่วยชะลอการเกิดอาการ และในผู้ป่วยบางรายจะช่วยอาการทุเลาลงได้
        รักษาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่  รักษาภาวะความดันเลือดสูง งดสูบบุหรี่ และลดน้ำหนัก รวมทั้งการรักษาตามอาการโดยใช้ยากลุ่มต่างๆ ได้แก่ ยาแก้ปวดธรรมดา ยาลดอาการซึมเศร้าและยากันชักภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
        เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง โดยจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและการเกิดภาวะทุพพลภาพในผู้ป่วยเบาหวาน
        ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ได้แก่ ระดับไขมันในเลือดสูง ภาวะความดันเลือดสูง การสูบบุหรี่ รวมทั้งระดับน้ำตาลในเลือดอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
        ในผู้ป่วยเบาหวานมักไม่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหมือนในผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน  ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรงหรืออาการหัวใจวาย  ส่วนอาการของโรคหลอดเลือดสมองก็เป็นดังเช่นในผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน คือ มีอาการแขนขาอ่อนแรงขึ้นมาทันทีทันใดหรืออัมพาตการป้องกันภาวะแทรกซ้อน เรื้อรังของโรคเบาหวาน
        1. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ระดับน้ำตาลก่อนอาหารไม่ควรเกิน 140 มก. ต่อ ดล.
        2. ลดระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ระดับไขมันคอเลสเตอรอลไม่ควรเกิน 200 มก. ต่อ ดล. และระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ไม่ควรเกิน 150 มก. ต่อ ดล.
        3. ควบคุมระดับความดันเลือดให้ อยู่ใน 130/85 มม.ปรอท
        4. ลดน้ำหนักประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว และออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
        5. งดสูบบุหรี่ดวงตาของท่านและโรคเบาหวาน
        ผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม จะมีภาวะแทรกซ้อนตามมาเกือบทุกระบบทั่วร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องของโรคตา อาจทำให้ระดับสายตาของผู้ป่วยลดลงจนกระทั่งถึงตาบอดได้ จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 8% ของผู้ป่วยที่ตาบอดมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่มีเบาหวานขึ้นจอตามีโอกาสตาบอดมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นเบา หวานเกือบ 30 เท่า
        ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานานและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและความผิดปกติของสายตา ได้แก่
        1. มองเห็นภาพซ้อน เกิดจากกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมโดยเส้นประสาทจากสมองทำงานผิดปกติ
        2. สายตามัวลง เกิดจากขณะน้ำตาลในเลือดสูง การหักเหแสงของเลนส์ตาผิดปกติ หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตาที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยตาบอด
        3. เห็นเงาดำบัง เกิดจากมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา
        4. ปวดตามากซึ่งเกิดจากต้อหินชนิดรุนแรง และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยตาบอดได้
        การป้องกันการสูญเสียสายตาในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ควรได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์
        1. ผู้ป่วยที่เริ่มเป็นเบาหวานตั้งแต่อายุยังน้อยๆ (อายุน้อยกว่า 30 ปี) เมื่อเป็นเบาหวานมานานกว่า 5 ปี ควรได้รับการตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง
        2. ผู้ป่วยที่เริ่มเป็นเบาหวานเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี ควรได้รับการตรวจตาตั้งแต่แพทย์เริ่มให้การรักษาเบาหวาน
        3. ผู้ป่วยเบาหวานที่เริ่มตั้งครรภ์ ควรได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์โดยเร็ว ผู้ป่วยเบาหวานถ้ารอให้เกิดอาการตามัวก่อนแล้วจึงมาพบจักษุแพทย์ มักจะช้าเกินไป และการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร การตรวจตาอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะตั้งแต่เริ่มแรก ตลอดจนการดูแลรักษาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดอุบัติการณ์ของการตาบอดในผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างชัดเจน  เรามาป้องกันการเกิดแผลที่เท้ากันเถอะ
        ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้าสูงขึ้น เนื่องจากมีปัญหาของปลายประสาทเท้าไม่สามารถรับความรู้สึกได้ดี และแผลที่เกิดขึ้นจะหายยากมาก ทั้งผู้ป่วยมักมีภูมิต้านทานไม่ดี แผลจึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย หากการติดเชื้อรุนแรง ผู้ป่วยอาจต้องถูกตัดส่วนของเท้า หรือขาเพื่อรักษาชีวิตคำแนะนำผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า
        1. พยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
        2. ทำความสะอาดเท้าทุกวันและเช็ดให้แห้งทันที
        3. สำรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณซอกระหว่างนิ้วเท้า
        4. หากมีปัญหาเรื่องสายตา ควรให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดตรวจเท้าและรองเท้าทุกวัน
        5. หากผิวหนังแห้งควรใช้ครีมทาบางๆ แต่ไม่ควรทาบริเวณซอกระหว่างนิ้วเท้า
        6. หากต้องใช้น้ำร้อน ควรใช้มือหรือข้อศอกตรวจระดับความร้อนของน้ำก่อนทุกครั้ง
        7. หากมีอาการเท้าเย็นในเวลากลางคืน ควรแก้ไขโดยการใส่ถุงเท้า ห้ามใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรือแช่เท้าในน้ำร้อนเป็นอันขาด
        8. ควรเลือกใส่รองเท้าที่พอดี  ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมกับรูปเท้า
        9. สวมถุงเท้าก่อนใส่รองเท้าเสมอ หากถุงเท้ามีตะเข็บควรกลับด้านในออก และควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน
        10. ตรวจดูรองเท้าทั้งภายในและภายนอกก่อนใส่ทุกครั้ง
        11. ไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
        12. หากพบปัญหาแม้เพียงเล็กน้อย ต้องไปพบแพทย์ทันทีข้อห้ามปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า
        1. ห้ามสูบบุหรี่
        2. ห้ามแช่เท้าในน้ำ
        3. ห้ามตัดเล็บลึกถึงจมูกเล็บ
        4. ห้ามตัดตาปลาหรือหนังด้านด้วยตนเอง
        5. ห้ามใช้สารเคมีใดๆ ลอกตาปลาด้วยตนเอง
        6. หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า
        7. ห้ามเดินเท้าเปล่าบนพื้นผิวร้อน เช่น บนหาดทราย หรือพื้นซีเมนต์
        8. ห้ามใส่รองเท้าแตะประเภทที่คีบระหว่างนิ้วเท้าหน้า 12 /วันเสาร์ที่ 23 พ.ย.45/สาระน่ารู้ลดเกลือในอาหารช่วยชีวิตผู้บริโภค
        กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการในสหรัฐกล่าวว่า การที่อุตสาหกรรมอาหารลดปริมาณโซเดียมหรือเกลือที่เติมลงในอาหาร จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้คนได้ราวปีละ 150,000 คน
        ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า เกลือมีผลโดยตรงต่อระดับความดันเลือดของคนเรา และการที่คนเรามีระดับความดันเลือดสูง จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และปัญหาสุขภาพเหล่านี้ สามารถป้องกันได้ ถ้าผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปลดปริมาณเกลือที่เติมลงในอาหารลง 50% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หรือถ้าตามร้านอาหารต่างๆ จะไม่เติมเกลือในอาหาร แต่ให้ลูกค้าเติมเครื่องปรุงเองตามที่ต้องการ
        ดร.สตีเฟน ฮาวาส แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ กล่าวว่า ถ้าบรรดาผู้ผลิตอาหารลดปริมาณเกลือในผลิตภัณฑ์อาหารลง 50% ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า ระดับความดันเลือดของชาวอเมริกันจะลดลงเฉลี่ย 5 mm HG และจะส่งผลให้ ความดันเลือดของคนในสหรัฐลดลงถึง 20% ลดอัตราการเสียชีวิตจากเส้นโลหิตในสมองแตก หรือตีบ ลง 14% ลดอัตราการเสียชีวิตโดยรวมลง 7% สรุปว่า การลดปริมาณเกลือในอาหารลง จะช่วยชีวิตผู้คนได้ถึงปีละ 150,000 คน
         ดร.โมฮัมหมัด เอ็น อัคห์เตอร์ แห่งสมาคมสาธารณสุขอเมริกัน กล่าวว่า การลดปริมาณเกลือในอาหารลง ไม่ได้เป็นผลเสียต่อธุรกิจ แต่กลับจะเป็นผลดี ทำให้ชาวอเมริกัน มีอาหารคุณภาพดีรับประทาน อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเตรียมจะพบตัวแทนผู้ประกอบการอาหาร และหารือรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะดังกล่าว ปริมาณเกลือที่แนะนำว่าเหมาะแก่การบริโภค ควรอยู่ในระดับ 2,400 มิลลิกรัม หรือ เศษ 3  ส่วน 4 ช้อนชาต่อวัน แต่ปัจจุบัน ชาวอเมริกันบริโภคเกลือกันมากถึง 4,000 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชาครึ่งต่อวัน
อ้วน.com ขอขอบคุณ - บ้านเมือง
https://www.xn--q3c1ar6i.com/forum/

อัพเดทล่าสุด