https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สาเหตุโรคความดันโลหิตสูง อาการและการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยได้นะ! MUSLIMTHAIPOST

 

สาเหตุโรคความดันโลหิตสูง อาการและการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยได้นะ!


1,152 ผู้ชม


ทำไมความดันโลหิตจึงสูงขึ้น

สา่เหตุที่คนเราเกิดโรคความดันโลหิตสูง หรืออยู่ๆก็ตรวจพบว่าความดันโลหิตของเราสูงกว่าปกติ ทั้งๆที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร  ยังไม่มีคำตอบแน่นอน แต่ที่แน่ๆ ต้องเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่สะสมมาตั้งแต่ยังหนุ่มสาวแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การทำงาน ความเครียด ย่อมส่งผลต่อโรคต่างๆ รวมถึงโรคความดันโลหิตสูงด้วย
อันที่จริงแล้วคนเราถ้าอายุมากขึ้น ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้นตามธรรมชาติ หรือความดันโลหิตอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาต่างกันหรืออารมณ์ต่างๆกันเช่น เมื่อมีอารมณ์เครียด ความดันโลหิตอาจจะสูงขึ้นได้ คนปกติ ขณะพักความดันโลหิตก็จะต่ำลง เมื่อนอนหลับสนิทความดันโลหิตอาจมีค่าต่ำลงถึง 100/70 ได้
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การไม่ใช้ยา กับการใช้ยา การไม่ใช้ยาหมายถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่ และหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม ในผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย อาจเริ่มการรักษาโดยไม่ใช้ยาและได้ผลการรักษาที่น่าพอใจได้ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิด โรคหัวใจอยู่ด้วยก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย

รคความดันโลหิตสูงเป็น โรคที่มีผู้ป่วยจำนวนมากทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โรคความดันโลหิตสูงพบได้ทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากมายมหาศาล คาดว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งโลก 1,500 ล้านคน เฉพาะสถิติจากประชากรไทยประมาณ 5 ล้านคน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และปัญหาของการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ไม่ใช่การรักษายาก หรือไม่มียารักษา หากแต่เป็นการขาดความร่วมมือของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการรักษา เพียงแค่หนึ่งในสาม ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการรักษาเท่านั้น ที่ให้ความร่วมมือในการรักษาและสามารถควบคุมความดันโลหิตได้
ผลของการไม่ควบคุมความดันโลหิตสูงให้เป็นปกติ
โรคความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดโรคร้ายตามมาอีกมากอย่างคาดไม่ถึง โดยหลักๆสามารถทำให้เกิด  โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน หัวใจล้มเหลวและไตวาย เพียงแค่เฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือดก็เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของ ประชากรโลก คือเป็นสาเหตุการตายรวมในสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 40  และอาจมากกว่านั้นในบางประเทศ โดยโรคหัวใจมีความสัมพันธ์อย่างมากกับภาวะของโรคความดันโลหิตสูง และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นไปอย่างต่อเนื่องหากไม่ทำการควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ เรียกได้ว่าูผู้ป่วยจะต้องเกิดโรคหัวใจตามมาอย่างแน่นอน โดยไม่ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงอื่น นอกจากนี้ภาวะที่ความดันโลหิตยิ่งสูง ความเสี่ยงต่อสภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย  และโรคไตวาย ก็จะสูงขึ้นด้วย
ท่านควรทราบระดับความดันโลหิตของท่านเอง
ความ ดันตัวบน (systolic blood  pressure) หมายถึง ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่า ซึ่งตรงกับช่วงการบีบตัวของหัวใจ ส่วนความดันตัวล่าง (diastolic blood pressure) หมายถึง ค่าความดันโลหิตที่ต่ำกว่า ซึ่งจะตรงกับช่วงการคลายตัวของหัวใจ ดังนั้น ในกรณีที่หลอดเลือดตีบแคบลงหรืออุดตัน หัวใจจึงจำเป็นจะต้องบีบตัวให้แรงขึ้น เพื่อส่งเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ  ของร่างกายให้ได้คงเดิม ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ในกรณีที่ความดันโลหิตของท่าน เท่ากับหรือสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อยู่ตลอดเวลา แสดงว่าท่านมีโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง หมาย ถึงภาวะที่แรงดันของเลือด ที่อยู่ในหลอดเลือดมีค่าสูงเกินปกติ โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่สามารถคร่าชีวิตคนได้ โดยไม่มีอาการใดๆ นำมาก่อนนับได้ว่าเป็น ฆาตกรเงียบ ความดันโลหิตที่สูงมาก จะก่อให้เกิดความเสียหาย ต่ออวัยวะสำคัญต่างๆ  เช่น หัวใจ สมอง หลอดเลือด หรือไต ทุกคนต้องมีความดันโลหิต อยู่ระดับหนึ่งในหลอดเลือด ในขณะที่หัวใจบีบตัว จะสูบฉีดเลือดผ่านไปทางหลอดเลือดแดง เพื่อนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกาย  แรงดันของเลือดต่อผนังหลอดเลือด เรียกว่า ความดันโลหิต
อันตรายร้ายแรงจากโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง ไม่ได้เป็นผลร้ายอย่างแท้จริง แต่นำพาเอาอันตรายอื่นๆมาสู่ร่างกายได้มากมายหากละเลยการควบคุมความดันโลหิตสูงให้เป็นปกติ
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติหรือไม่
สำหรับผู้ที่มีความดัน โลหิตสูงไม่มาก และได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกต่อเนื่อง และปฏิบัติตัวอย่างสม่ำเสมอโดยยังไม่มีภาวะหัวใจโต หรือกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น ไม่มีภาวะไตวาย และหลอดโลหิตยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักมีโอกาสจะมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติ แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้วควรได้รับดูแลการรักษาอย่างต่อโดยแพทย์เฉพาะ ทางมิเช่นนั้นแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวย่อมน้อยลง
ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วไม่รักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม จะทำให้เกิดผลร้ายอย่างไรได้บ้าง
   1. เกิดภาวะสายตาเสื่อมลงอย่างรวดเร็วเพราะถูกแรงดันเลือดจากภาวะความดัน โลหิตสูงหรืออาจรุนแรงถึงขึ้นตาบอด หลอดเลือดในตาอาจแตกจนพบการตกเลือดในตาให้เห็นอย่างชัดเจนหรือมีอาการบวมใน ชั้นตาที่รับภาพ
   2. เกิดอาการทางสมอง หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตกซึ่งเป็นอาการที่พบในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่รุนแรง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  อาการแสดงคือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการชักหรือไม่รู้สึกตัว และหากไม่เสียชีิวิตก็อาจเกิดอัมพาต
   3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นผลสืบเนื่องมากจากโรคความดันโลหิตสูงเพราะ กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานมากขึ้นเพื่อออกแรงบีบส่งเลือดต้านความดันในหลอด เลือด จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโต ห้องหัวใจแคบลง และสูญเสียความสามารถในการบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาการแสดงคือเกิดอาการเหนื่อย หอบหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก และภาวะความดันโลหิตสูงยังเป็นสาเหตุสำคัญทำให้หลอดเลือดงหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
   4. ความผิดปกติที่ระบบไต เช่น ไตพิการ หรือไตอักเสบ เกิดอาการบวมน้ำตามร่างกาย
โรคความดันโลหิตสูง คืออะไร
โรคความดันโลหิตสูง หรือความดันเลือดสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทยและเป็นโรคชนิดเรื้อรัง ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องได้รับการรักษาไปตลอดชีวิต โรคความดันโลหิตสูงสามารถตรวจได้ง่าย ตรวจได้โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตัวเอง โดยค่าที่ัวัดได้จะแสดงความดันโลหิตของเราออกมา ควรวัดในสภาวะผ่อนคลายทีุ่สุดเช่น นั่งพักนิ่งๆสักครู่ เมื่อตรวจวัดเครื่องดังกล่าวจะแสดงค่า ความดันโลหิตให้เราเห็นสองตัว คือ ความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง ในคนปกติจะมีค่าความดันโลหิตไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท หากสูงกว่านี้นั่นแปลว่าคุณมีโรคความดันโลหิตสูงซะแล้ว
อันที่จริงแล้วคนเราถ้าอายุมากขึ้น ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้นตามธรรมชาติ หรือความดันโลหิตอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาต่างกันหรืออารมณ์ต่างๆกันเช่น เมื่อมีอารมณ์เครียด ความดันโลหิตอาจจะสูงขึ้นได้ คนปกติ ขณะพักความดันโลหิตก็จะต่ำลง เมื่อนอนหลับสนิทความดันโลหิตอาจมีค่าต่ำลงถึง 100/70 ได้
เมื่อไหร่จึงเริ่มรักษาโรคความดันโลหิตสูง ?
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ตรวจพบได้ง่าย รักษาและควบคุมอาการได้ไม่ยากเพียงแค่รับประทานยาลดความดันโลหิตเท่านั้น แต่ปัญหาคือมักไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการรับ ประทานยาลดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ พูดง่ายๆคือส่วนใหญ่ละเลยกัน เพราะคนทั่วไปเข้าใจว่า ถ้าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงนี้ต้องปวดหัว วันไหนไม่ปวดหัวแสดงว่าไม่เป็นไร ไม่ต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก โรคความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการ เมื่อไหร่ที่มีอาการเช่น ปวดหัว ก็จะพบว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูงมานานแล้วหรือเป็นมากแล้ว ด้วยเหตุนี้ทำให้การควบคุมโรคความดันโลหิต สูงทำได้ไม่ดีนัก และความดันโลหิตสูงจะนำพาโรคร้ายต่างๆ ที่อันตรายอย่างมากมา โดยทั่วไปแล้วโรคความดันโลหิตสูงไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต แต่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากโรคที่แทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองแตก
ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แท้จริง มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมมาตั้งแต่ต้น หรือเป็นกรรมพันธ์ เชื้อชาติ ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ควบคุมได้โดยการรับประทานยาลดความดันโลหิตซึ่งเป็นเพียงการรักษาที่ปลาย เหตุ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตตลอดไป ห้ามหยุดยา เพราะหากหยุดยา ความดันโลหิตอาจกลับมาสูงอีกครั้งได้
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลาเป็น ระยะเวลานานเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพราะความดันโลหิตสูงจะนำพาโรคร้ายต่างๆมากมาย การควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติจะช่วยลดโอกาสเกิดโรคแทรกทางสมอง หัวใจ ไต และหลอดเลือดได้
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การไม่ใช้ยา กับการใช้ยา การไม่ใช้ยาหมายถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่ และหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม ในผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย อาจเริ่มการรักษาโดยไม่ใช้ยาและได้ผลการรักษาที่น่าพอใจได้ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิด โรคหัวใจอยู่ด้วยก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย
ปัจจุบันมียาลดความดันโลหิตอยู่หลายกลุ่ม กลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันไป ราคาก็ต่างกันมาก ตั้งเม็ดละ 50 สตางค์  ถึง 50 บาท ยาลดความดัน โลหิตที่ดี ควรจะออกฤทธิ์ช้าๆ ไม่ทำให้ความดันโลหิตแกว่งขึ้นลงมากจนเกินไป สามารถควบคุมความดัน โลหิตได้ดีตลอด 24 ชั่วโมง โดยการรับประทาน เพียงวันละ 1 ครั้ง มีผลแทรกซ้อนน้อย แต่น่าเสียดายว่ายังไม่มียาใดที่วิเศษ ขนาดนั้น ยาทุกตัวล้วนก็มีข้อดี ข้อด้อย และ ผลแทรกซ้อนทั้งสิ้น อย่าลืมว่า การปล่อยให้ ความดันโลหิตสูงอยู่นานๆ ก็เป็นผลเสีย ร้ายแรงเช่นกัน จึงควรติดตามการรักษาโดยการวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง หากมี ผลแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ท่านเดิมเพื่อปรับเปลี่ยนยา ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ไปเรื่อยๆ เพราะทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง
เนื่องจากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ หรืออาการเตือน แม้ความดันโลหิตจะสูงมากๆก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่ควรเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงคือไม่สามารถ ใช้อาการมาพิจารณาว่า วันนี้จะต้องรับประทานยา หรือไม่ เช่น วันนี้สบายดีจะไม่รับประทานยา เช่นนั้นไม่ได้ยาลดความดันโลหิตต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
การ รักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยสูงอายุเป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นต้องรักษา แต่ต้องรักษาด้วยความระมัด ระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากหากลด ความดันโลหิตมากเกินไป ก็อาจเกิดผลเสียขึ้นได้
หากต้องการทราบตนเองเป็นโรคความดันโลหิต สูงหรือไม่ ท่านสามารถตรวจวัดความดันโลหิตได้ตามสถานบริการสาธารณสุขต่างๆ ใกล้บ้าน และหากพบกว่าตนเป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องเข้าใจว่าการรักษาโรคความดันโลหิตสูงเป็นการรักษาระยะยาว ดังนั้น ควรเลือกสถานบริการใกล้บ้านที่ท่านสะดวกเพื่อพบแพทย์ตรวจร่างกายได้เป็น ประจำ และ คุ้นเคยมากที่สุด และให้ความร่วมมือในการรักษา ทานยาลดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง หากท่านมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง ท่าน สามารถสอบถามได้กับอายุรแพทย์ทั่วไป หรือ อายุรแพทย์โรคหัวใจในสถานพยาบาลใกล้บ้านท่าน หรือ ผ่านทางเว็บบอร์ด
โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุและอาการ
      สาเหตุ ของโรคความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปแล้ว อาจแบ่งโรคความดันโลหิตออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามลักษณะการเกิดโรคความดันโลหิตสูงคือ
          1. โรคความดันโลหิตสูงแบบที่หาสาเหตุได้ มักเกิดสืบเนื่องจากโรคต่างๆที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว เช่น จากโรคไตอักเสบเส้นเลือดแดงตีบ ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น
          2. โรคความดันโลหิตสูงแบบที่หาสาเหตุไม่พบ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนมากมักจะเป็นชนิดนี้คือมากกึงกว่า 95% เรียกได้ว่า โรคความดันที่เป็นกันทุกวันนี้อยู่ในกลุ่มนี้เกือบทั้งสิ้น
      ใครบ้างที่มักจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง
          1. โรคความดันโลหิตสูงส่วนมากมักพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่าผู้ที่มีวัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไปจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นโดยธรรมชาติ
          2. โรคความดันโลหิตสูงจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวัยหมดประจำเดือนพบภาวะความดันโลหิตสูงได้บ่อย
          3. โรคความดันโลหิตสูงพบมากในคนอ้วน แต่ก็ไม่เสมอไปคนผอมก็พบโรคความดันโลหิตสูงได้บ้างเหมือนกัน แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนจะน้อยกว่า
          4. อาจเนื่องจากกรรมพันธ์ ประมาณ 30-40 %
          5. ในบุคคลที่มีอารมณ์รุนแรง เคร่งเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย ดีใยง่าย เสียใจง่าย อารมณ์ที่ เปลี่ยนแปลงรวด เร็ว
          อาการของโรคความดันโลหิตสูง
          ผู้ ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงหรือ อาการเตือนเลย อาการที่จะสังเกตุได้ก็ต่อเมื่อมีความดันโลหิตสูงขึ้นมากแล้ว หรือเกิดโรคแทรกซ้อนแล้ว อาจตรวจพบโดยการตรวจเช็ค สุขภาพประจำปี หรือ เจ็บป่วยด้วยโรคอื่นเมื่อไปที่โรงพยาบาลแล้วแพทย์วัดความดันของเลือดพบว่า ผิดปกติ ก็จะต้องทำการนัดตรวจความดันโลหิตซ้ำอีกครั้งเพื่อความแน่ใจว่ามีโรคความดัน โลหิตสูงอย่างแน่นอน สำหรับอาการที่อาจเกิดขึ้นได้จะมีอาการ มึนงง ตาพร่ามัว ปวดศีรษะตรงท้ายทอย มักจะปวด ตอนตื่นนอน เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย บางราย เลือดกำเดา ออกบ่อย ๆ อาการดังกล่าว อาจเกิดจากโรคอื่น ได้อีกหลายโรคและที่สำคัญที่สุดความดันโลหิตสูงบางราย อาจไม่มีอาการใดเลยก็ได้ นอกจากตรวจวัดด้วย เครื่องมือแพทย์จึงจะทราบ ฉะนั้นถ้าท่านสงสัยว่าเป็นโรคนี้หรือท่านที่มี อายุเกิน 35 ปี การตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
 
 

อัพเดทล่าสุด