https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เทคนิคการเตรียมตัวสอบ CU-TEP MUSLIMTHAIPOST

 

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ CU-TEP


993 ผู้ชม


เทคนิคการเตรียมตัวสอบ CU-TEP

    ที่มาของบทความ: หทัยชนก จิตตวิสุทธิกุล

    เหมาะสำหรับ: ผู้ที่กำลังเตรียมตัวสอบ CU-TEP

    หมายเหตุ: ใครที่ต้องการก๊อปปี้ไปแปะที่อื่น ขอบอกว่า "ยินดี" แต่ช่วยให้เครดิตด้วย นะครับ

    ข้อสอบ CU-TEP แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ listening reading และ writing ในส่วนของ listening จะว่าง่ายก็ง่ายสำหรับเด็กที่ไปเที่ยวซัมเมอร์เมืองนอกเมืองนา หรือเรียนอยู่โรงเรียนอินเตอร์ ก็สามารถเก็บคะแนนในส่วนนี้ได้สบายๆ แต่จะว่ายากก็ยาก สำหรับเด็กที่ไม่เคยไปเที่ยวเล่นที่ไหนนอกจากประเทศไทย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเราสนับสนุนให้ท่านพ่อแม่ผู้ปกครองส่งลูกๆไปเรียนเมืองนอก เพื่อกลับมาสอบ  CU-TEP ที่เมืองไทย  จริงๆแล้วเด็กที่ไม่มีโอกาสได้ไปเมืองนอกก็สามารถฝึกทักษะทางการฟังได้ อาจจะไม่ดีเท่ากับการใช้ชีวิตตนเองอยู่ที่ต่างแดน แต่สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากการฝึกฝนและการเรียนรู้ คงไม่มีใครจะสามารถฟังทุกสิ่งทุกอย่างได้รู้เรื่องแบบทันทีทันใด หากเราค่อยๆฝึกและมีวินัยกับตนเอง การทำข้อสอบ CU-TEP ในส่วนของ listening ก็ไม่ใช่เรื่องยาก

    ลองทำข้อสอบ CU-TEP ONLINE (ERROR) คลิ๊กที่นี่

    แต่ถ้าหากไม่ไหวกันแล้วจริงๆ ฟังยังไงก็ไม่บรรลุมรรคผลใดๆทั้งสิ้น เราก็อย่าเพิ่งท้อแท้ใจ เพราะยังมีข้อสอบอีกสองส่วนให้ทำคะแนน ซึ่งก็หมายถึง CU-TEP ในส่วนของ reading ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพราะ text ที่ใช้อ่านนั้นก็ไม่ได้ยาวมากจนเกินไป คำศัพท์ CU-TEP ในส่วนนี้ก็ไม่ได้เลิศหรูอลังการ ซึ่งก็เป็นศัพท์ที่เราสามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวัน การจะเอาชนะข้อสอบส่วนของ reading ก็ไม่ต่างกับการนั่งทำข้อสอบ entrance สมัยวัยรุ่น เปิดข้อสอบมาปุ๊บ ก็นั่งอึ้งพอเป็นพิธีสวยๆ เพราะข้อสอบเยอะ ขี้เกียจอ่าน ใช่มะ??? อ้าว แล้วอย่างนี้จะสอบผ่านไหมเนี่ย??? ถ้าคิดอย่างงั้นก็ไม่ต้องอ่านสิคะ กวาดสายตาไปให้หมดทั้ง text แล้วก็ไปดูโจทย์ที่เค้าถามมา text บางอันไม่ต้องอ่านจนจบก็ทำข้อสอบได้ครบหมดทุกข้อแล้ว ยกตัวอย่างเช่น โจทย์ถามว่า “that” ในบรรทัดที่ 12 หมายถึงอะไร เราก็ไปดูใน text ที่เค้าให้มา ดูในช่วง paragraph นั้นๆ ถ้าศัพท์คำไหนไม่อยู่ใน paragraph นั้นๆ ก็ตัดตัวเลือกทิ้งไปได้เลย ในอีกกรณีหนึ่ง สมมติว่า that ตัวนั้นแทนคำนามซักตัวใน text ถ้าโจทย์ให้คำนามที่เป็นพหูพจน์มา ก็น่าจะมั่นใจได้เลยว่าตัวเลือกข้อนั้นอาจจะไม่ถูก เพราะถ้าคำนามพหูพจน์ ต้องใช้ “those” พูดอีกก็ถูกอีกค่ะ คุณน้องขา

    นอกจากนี้ข้อสอบ CU-TEP ส่วนของ reading มักจะตั้งโจทย์เรียงลำดับตามเนื้อหาใน text เวลาทำข้อสอบ reading อย่าคิดเองเออเอง อย่ามโนเด็ดขาด!!! ข้อสอบมันมีคำตอบอยู่ใน text อยู่แล้ว แต่บางทีเราอาจจะหาไม่เจอ เพราะเค้าใช้วิธีการหลากคำ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราในการทำ reading คืออะไร??? คำศัพท์ยิ่งรู้เยอะยิ่งดี เพราะมันทำให้เราอ่านเนื้อเรื่องเข้าใจ พร้อมกับตอบคำถามได้เวลาที่โจทย์ถามว่า คำศัพท์คำนี้ให้ความหมายคล้ายคลึงกับศัพท์คำไหน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่าให้ข้อสอบมาหลอกเราเด็ดขาด คำศัพท์ในภาษาอังกฤษมีความหมายได้หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่นคำว่า true แปลว่า ถูกต้อง (accurate) ก็ได้หรือแปลว่า แท้ (genuine) ก็ได้ ถ้าโจทย์ให้ตัวเลือกมาทั้งคู่ เราต้องดูบริบทของ text เข้ามาช่วย แต่ขอย้ำนะค๊า จะทำข้อสอบ CU-TEP ในส่วนของ reading ให้ได้อย่างเมามัน (ไม่ใช่เมาหมัดนะ) รู้ศัพท์ไว้เยอะๆก็มีชัยไปกว่าครึ่งนะ!!!

    มาถึง CU-TEP ใน part สุดท้าย part นี้สุดยอดจริงๆ ข้อสอบ error ไม่ใช่ข้อสอบที่ยาก แต่ grammar คุณน้องต้องแน่นในระดังหนึ่ง แล้วคุณน้องจะรู้ว่าหนึ่งคะแนน ได้มาง่ายเสียนี่กระไร ลองดูตัวอย่างข้อสอบกันซักเล็กน้อยนะคะ โจทย์ที่เค้าให้มามักจะเป็นประโยคหนึ่งประโยค แต่อาจจะเป็นประโยคสั้นๆ หนึ่งบรรทัดหรือสามบรรทัดก็ขึ้นอยู่กับความปราณีของผู้ออกข้อสอบ CU-TEP แต่จริงๆแล้วโครงสร้างของประโยคก็ไม่ต่างกัน ในหนึ่งประโยคก็ประกอบไปด้วย subject + verb + object ส่วนที่เหลือล่ะ? ก็เรียกว่าส่วนขยาย เวลาทำโจทย์ให้ตัดส่วนขยายทิ้งก่อน เพื่อที่จะหา subject verb และ object ของประโยคให้เจ๊อะ จำเอาไว้ว่าหลังของ preposition ทั้งหลาย (in , on , at , under ,etc) เป็นส่วนขยายแน่นอน และหลัง preposition จะตามด้วย V ing หรือ คำนามเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าสมมติโจทย์ให้ “for go” มานี่ก็กากบาทว่าข้อนี้ผิดแน่นอน ซึ่งก็คือถ้าจะให้ถูกต้องเป็น “for going”

    พวก who , whose ,whom , which , that etc. ก็เหมือนกัน คำเหล่านี้ก็เป็นส่วนขยายของประโยค ถ้าเจอปุ๊บก็เอาวงเล็บไปครอบปั๊บ เพื่อที่จะได้รู้ว่ามันเป็นส่วนขยายจะได้หา subj. ของประโยคได้ง่ายขึ้น เครื่องหมายวรรคตอน เช่น comma (,) ก็ช่วยให้เราได้คะแนนได้เหมือนกัน ตัว comma นอกจากจะบอกว่า clause ที่ตามมาเป็นส่วนขยายแล้วยังสามารถช่วยเราในเรื่องโครงสร้างขนานได้ด้วย เช่น ... eating , running , sleeping and to dream… โครงสร้างขนานสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ คำว่า and , but , or ที่คำที่มาข้างหน้าและหลัง จะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพราะฉะนั้นจากตัวอย่าง เราก็จะสังเกตเห็นได้ว่าสิ่งที่ผิดคือ to dream ที่เราจะต้องเปลี่ยนเป็น dreaming

    Grammar ในภาษาอังกฤษ ไม่ใช่เรื่องยากหรือเป็นเรื่องใหม่แกะกล่อง จริงๆแล้วเราเรียน grammar กันมาตั้งแต่ตัวเล็กๆเลยทีเดียว อาจจะไม่ตั้งใจเรียน เรียนบ้างลืมบ้างไปตามกาลเวลา แต่ถ้าเรามีความมุ่งมั่นจริงๆ การทำข้อสอบ CU-TEP ให้ได้คะแนนสูงๆก็ไม่มีอะไรยากเกินไป (เนอะ) ยังไงก็ขอให้คุณน้องทั้งหลายโชคดีในการทำข้อสอบ CU-TEP ที่กำลังจะมาถึงนี้นะคะ

    เรียน CU-TEP และติวข้อสอบ CU-TEP คอร์สรับรองผลที่สถาบัน Acknowledge ซึ่งเป็นสถาบันที่สอน CU-TEP แบบเรียนกลุ่มย่อย หรือติว CU-TEP ตัวต่อตัว พบคำตอบสุดท้ายกับการหาหาที่ติวสอบ CU-TEP ที่ไหนดีที่สุด...ด้วยแนวข้อสอบ CU-TEP แบบตรงๆ กับอาจารย์มากฝีมือ จากจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ประสบการณ์สอน CU-TEP นับ 10 ปี ได้ที่นี่


www.acknowledge-centre.com

อัพเดทล่าสุด