https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สายวิชาชีพยึดตลาดแรงงานต่อไปอีก 5 ปีแน่นอน : สายวิชาชีพ ตลาดแรงงานสายวิชาชีพ แรงงานสายวิชาชีพ สายอาชีพ แรงงานสายอาชีพ ตลาดแรงงานสายอาชีพ MUSLIMTHAIPOST

 

สายวิชาชีพยึดตลาดแรงงานต่อไปอีก 5 ปีแน่นอน : สายวิชาชีพ ตลาดแรงงานสายวิชาชีพ แรงงานสายวิชาชีพ สายอาชีพ แรงงานสายอาชีพ ตลาดแรงงานสายอาชีพ


736 ผู้ชม


สายวิชาชีพยึดตลาดแรงงานต่อไปอีก 5 ปีแน่นอน : สายวิชาชีพ ตลาดแรงงานสายวิชาชีพ แรงงานสายวิชาชีพ สายอาชีพ แรงงานสายอาชีพ ตลาดแรงงานสายอาชีพ


น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ ได้เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อร่วมผลิตและพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการภาคอุตสาหกรรม ซึ่งตนได้ขอตัวเลขความต้องการแรงงานที่ชัดเจนนั้น ขณะนี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ส่งตัวเลขความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมหลัก 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหการ และเครื่องจักรกลการเกษตรมาให้แล้ว

โดยพบว่าอีก 5 ปีข้างหน้า (2554-2558) ในอุตสาหกรรมทั้ง 6 กลุ่มต้อง การแรงงานเพิ่มขึ้น 248,862 คน คิดเป็นร้อยละ 19.26 จากการจ้างงานรวมปี 2553 จำนวน 1.29 ล้านคน ทำให้ตัวเลขการจ้างงานรวมของ 6 กลุ่ม อุตสาหกรรมในปี 2558 เพิ่มเป็น 1.54 ล้านคน แบ่งเป็นระดับ ม.3 และ ม.6 จำนวน 131,628 คน คิดเป็นร้อยละ 52.89 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 37,829 คน คิดเป็นร้อยละ 15.20 ประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 51,813 คน คิดเป็นร้อยละ 20.82 และปริญญาตรี 27,591 คน คิดเป็นร้อยละ 11.09


ความต้องการแรงงานในระดับ ปวช. และ ปวส. สาขาที่ต้องการมากที่สุดตามลำดับ คือ
- สาขาช่างกลโรงงาน 49,813 คน คิดเป็นร้อยละ 55.57
- สาขาไฟฟ้าและอิเล็ก�ทรอนิกส์ 17,885 คน คิดเป็นร้อยละ 19.95 และ
- สาขาช่างยนต์ 10,356 คน คิดเป็นร้อยละ 11.55

ความต้องการแรงงานในระดับปริญญาตรี มีความต้องการในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ 27,591 คน ร้อยละ 80 โดยต้องการสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ เครื่องกล ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ และแมคคาทรอนิกส์ ขณะที่สาขาอื่น ๆ เช่น บัญชี การเงิน กฎหมาย และงานธุรการ ต้องการเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น

แต่ละวิทยาลัยอาจต้องไปปรับในส่วน ของเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ 3 เดือนสุดท้ายของการเรียน นักเรียน นักศึกษาต้องเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อให้ได้ประสบการณ์จริง และอาจต้องจัดสรรโควตาให้แก่ วิทยาลัยเพื่อจัดสรรนักศึกษาเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ โดยเริ่มในภาคเรียนที่ 2/2553
เห็นอย่างนี้แล้วก็อย่าเพิ่งไปดูถูกเด็กสายอาชีพกันเหมือนอย่างเคยนะคะ เพราะสายอาชีพนี่แร่ะที่จบออกไปแล้วมีงานรองรับมากกว่าสายสามัญซะอีก อาจจะเพราะเป็นสายอาชีพ เรียนเฉพาะเจาะจงไปตามสายอาชีพนั้น ๆ เลย ทำให้ได้สัมผัสกับประสบการณ์จริง ๆ มากกว่านั่นเอง

ที่มา : ไทยรัฐ

อัพเดทล่าสุด