https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ปลูกถ่ายไขกระดูกให้ผู้ป่วยเอดส์ กำราบเชื้อไวรัส'เอชไอวี' MUSLIMTHAIPOST

 

ปลูกถ่ายไขกระดูกให้ผู้ป่วยเอดส์ กำราบเชื้อไวรัส'เอชไอวี'


614 ผู้ชม


  ปลูกถ่ายไขกระดูกให้ผู้ป่วยเอดส์ กำราบเชื้อไวรัส'เอชไอวี'

ปลูกถ่ายไขกระดูกให้ผู้ป่วยเอดส์ กำราบเชื้อไวรัส

โรค ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ เอดส์ เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ฆ่าเม็ดเลือดขาวในร่างกายและทำให้เสียชีวิตจาก โรคฉกฉวยโอกาส จนถึงวันนี้ยังไม่พบวิธีการรักษาในตลอดการวิจัยปีแล้วปีเล่าจนหลายคนเริ่มจะ เชื่อว่า "เอดส์ไม่มีทางรักษา"
ทว่าล่าสุดคณะแพทย์จากกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงเยอรมนี ประกาศความสำเร็จ ในค้นพบวิธีการกำราบเชื้อเอชไอวี หลังสามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในโรคเอดส์ โดยเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคถูกร่างกายส่วนที่เรียกว่า "ไขกระดูก" ผลิตออกมาขณะยังเป็นตัวอ่อนและไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งทางคณะแพทย์แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการนำไขกระดูกจากผู้บริจาคที่ถูกค้นพบ ว่ามีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อเอชไอวี มาปลูกถ่ายในผู้ป่วยในปี 2550 ด้วยเทคนิคสเต็มเซลล์
คุณสมบัติต่อต้านดังกล่าวมาจากการที่ไขกระดูก สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ไม่มี "โค-รีเซ็ปเตอร์ซีซีอาร์ 5" มีลักษณะเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากเซลล์ใช้รองรับการเชื่อม ต่อกับรีเซ็ปเตอร์ชนิดอื่นเพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ โดยไวรัสเอชไอวีจะจับกับโค-รีเซ็ปเตอร์ซีซีอาร์ 5 ซึ่งอยู่บนเม็ดเลือดขาวที่มี "รีเซ็ปเตอร์ ซีดี 4" อยู่ในเม็ดเลือดขาวประเภท "ลิม โฟไซต์" ชนิดเฮล์ปเปอร์ หรือ "ที-เฮล์ปเปอร์" ซึ่งทำหน้าที่ผลิตสารประเภทไซโตคาย์น มีฤทธิ์ต่อต้านการรุกรานเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ โดยเชื้อเอชไอวีจะฉีดสารพันธุกรรมของมันเข้าไปในที-เฮล์ปเปอร์ และผลิตไวรัสตัวใหม่ออกมาจำนวนมากภายใน กระทั่งเซลล์ของที-เฮล์ปเปอร์ระเบิดออกมา เรียกการแตกของเซลล์แบบผิดธรรมชาตินี้ว่า "เนโครซิส" ซึ่งจะปลดปล่อยเอาสารที่เป็นอันตรายในเซลล์นั้นๆ ออกมาทั้งหมดพร้อมกับไวรัส
โดย หลังจากผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกจะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันตลอด 38 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธไขกระดูกใหม่ ปริมาณเม็ดเลือดขาวซีดี 4 จึงค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงระดับปกติ และไม่มีการตรวจพบเชื้อไวรัสเอชไอวี อย่างไรก็ดี วิธีการปลูกถ่ายไขกระดูกนั้นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยคณะแพทย์ระบุว่า หากสามารถอยู่ร่วมกับไวรัสได้อาจจะดีกว่าเอาชนะมันด้วยวิธีดังกล่าว รายละเอียดตีพิมพ์ในวารสารโลหิตวิทยา "บลัด เจอร์นัล" ของสหรัฐ

อัพเดทล่าสุด