https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กสทช.ผนึก10ม.ปั้นหลักสูตร-ล้อมคอก"วิทยุชุมชนเถื่อน" MUSLIMTHAIPOST

 

กสทช.ผนึก10ม.ปั้นหลักสูตร-ล้อมคอก"วิทยุชุมชนเถื่อน"


889 ผู้ชม


กสทช.ผนึก10ม.ปั้นหลักสูตร-ล้อมคอก"วิทยุชุมชนเถื่อน"

สถานีวิทยชุมชนที่ผุด ขึ้นเป็นดอกเห็ดในเกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย และส่งกระจายเสียงกว่า 9,000 แห่ง มีเพียง 6,521 สถานีที่แจ้งขึ้นทะเบียน และมีเพียง 103 สถานีเท่านั้นที่ขอใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เช่น ไม่มีการโฆษณา หรือไม่เป็นเครื่องมือของนักการเมือง ส่วนที่เหลือ 6,000 กว่าแห่ง ส่วนใหญ่เป็นวิทยุเชิงธุรกิจ หรือเรียกได้ว่าเป็นวิทยุที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น

ด้วยสภาพปัญหาวิทยุชุมชน เถื่อนที่เกิดขึ้น กลุ่มมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอน นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน 10 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) มรภ.นครศรีธรรมราช มรภ.นครินทร์ มรภ.หมู่บ้านจอมบึง มรภ.อุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ลงนามกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เพื่อจัดทำร่างหลักสูตรเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจสถานีกระจายเสียงวิทยุร่วมกัน

 รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม กรรมการ กสทช. ฉายภาพวิทยุชุมชนว่า เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เทคโนโลยีมีการหลอมหลวมทำให้กิจการโทรคมนาคม และสื่อสารมวลชนแยกกันไม่ออก จึงอยากให้ผู้ประกอบการ ผู้ดำเนินรายการวิทยุ ได้เข้าใจ เรียนรู้เทคโนโลยีการหลอมหลวมต่างๆ ที่เกิดขึ้น การจัดทำหลักสูตร เป็นเสมือนการปลูกจิตสำนึกให้ผู้เกี่ยวข้องในวิชาชีพนี้ ได้รู้ว่าวิทยุชุมชนไม่ได้แสวงหากำไร แต่เป็นเครื่องมือสร้างความแข็งแกร่ง ผูกโยงคนในชุมชนเข้าด้วยกัน รวมถึงการฝึกอบรมวิทยุชุมชนจึงเป็นกลไกหนึ่งที่จะทำให้วิทยุชุมชนสามารถมี ความรู้ในการดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

 ขณะที่ รศ.คิม ไชยแสนสุข อธิการบดี ม.ร. กล่าวว่า วิทยุชุมชน เป็นเครื่องมือในการนำความรู้เข้าสู่ผู้คนที่อยู่นอกห้องเรียนได้เป็นอย่าง ดี ดังนั้น การเพิ่มเติมศักยภาพให้แก่นักจัดรายการเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการสื่อข้อมูลให้คนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลในการพัฒนาชาวนา ชาวสวน แรงงานของประเทศให้กลายเป็นผู้มีความรู้ ทันโลกทันเหตุการณ์ รู้ทุกเรื่องที่ควรรู้ และเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง เพราะเมื่อคนเหล่านี้มีความสามารถในการดูแลตนเองและสามารถพัฒนาท้องถิ่นทั้ง ในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม จะทำให้สถานะของประเทศไทยดีกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน

 ด้วยความสำคัญของวิทยุชุมชน จึงเป็นที่มาของหลักสูตรวิทยุชุมชน ผ่านมุมมอง "นายสุระชัย ชูผกา อาจารย์ประจำภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ ม.ร. ในฐานะประธานหลักสูตร ว่า หลักสูตรวิทยุชุมชน ที่คณาจารย์จาก 10 สถาบันอุดมศึกษา ร่วมกันจัดทำฝึกอบรม แต่ยึดตามหลัก กสทช.เสนอ คือต้องมีเนื้อหาสาระ 9 หมวดวิชา 17 ชั่วโมง ดังนั้น 1 รัฐธรรมนูญกับสิทธเสรีภาพของบุคคลและสื่อมวลชน 2.วิทยุชุมชนเพื่อการพัฒนา 3.การบริหารจัดการวิทยุชุมชน 4.การผลิตรายการวิทยุชุมชน 5.การเขียนเชิงสร้างสรรค์ 6.การใช้ภาษาไทย 7.จริยธรรมและกฎหมายสื่อมวลชน 8.ความรู้ด้านเทคนิคและเทคโนโลยีในการจัดการวิทยุชุมชน และ 9.สัมมนาวิทยุชุมชน

 หลักสูตรดังกล่าว ต้องปรับเปลี่ยนให้เน้นการแสดงและรักษาความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นในแต่ละ พื้นที่ไว้ในการจัดรายการ มีการเสนอให้ถอดบทเรียนของวิทยุชุมชนทั้งในและต่างประเทศมาใช้ในการวางหลัก สูตร รวมทั้งค้นหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่การทำวิทยุชุมชน ให้มีการจัดรายการที่สร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างความน่าสนใจทั้งในเนื้อหาและรูปแบบรายการ ให้มีความรู้ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวของกับการสื่อสารมวลชน สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ให้มีความรับผิดชอบในฐานะสื่อชุมชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร

 “ผู้อบรม เป็นผู้มีความรู้ เป็นผู้ดำเนินรายการจัดวิทยุมานาน หลักสูตรควรง่ายต่อการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนได้ และเป็นเพียงคำอธิบาย เค้าโครงรายวิชาควรมีลักษณะ ทิศทางไม่แตกต่างกัน แต่ต่างกันเรื่องปัจจัยสภาพแวดล้อมในพื้นที่ และเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ระบุถึงสิทธิเสรีภาพการแสดงความเห็นของบุคคล และสื่อมวลชน มาตรา 46 เน้นเรื่องหลักประกันของคนทำงานทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ของรัฐและเอกชน ในเรื่องมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ขัดต่อจรรยาบรรณ

  และมาตรา 47 เน้นเรื่ององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระในการจัดสรรคลื่นความถี่ และเป็นผู้กำกับ และมาตรา 48 ที่เน้นห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของสื่อ ซึ่งทั้งหมดจะต้องอบรมควบคู่กันไปทั้งความรู้และจรรยาบรรณ”

 คณะทำงานจัดทำร่างหลักสูตรวิทยุชุมชน ได้เสนอต่อ กสทช. ไปเมื่อวันที่ 17 มกราคม ซึ่ง กสทช.เห็น ชอบในร่างหลักสูตรวิทยุชุมชนและอนุมัติในหลักการ แต่ให้เพิ่มเติมว่า 10 สถาบันที่ร่วมกันร่างหลักสูตรดังกล่าวต้องจัดอบรมสัมมนาผู้จัดรายการวิทยุ ชุมชนภูมิภาคละ 1,000 คน อีกทั้งให้เปิดเวทีถกเเถียงกันอย่างเสรี เพื่อกำหนดทิศทางของวิทยุชุมชนร่วมกัน

 "กสทช.เปิด ให้วิทยุชุมชนทั้ง 6,500 แห่งยื่นใบสมัคร เพื่อนำร่องวิทยุชุมชนตามร่างหลักสูตรนี้ ตั้งแต่วันที่อนุมัติหลักสูตร (17 ม.ค.54) ซึ่งขณะนี้มีวิทยุชุมชนยื่นสมัครมาแล้ว 900 แห่ง จะคัดให้ได้ใบอนุญาตชั่วคราว 51 แห่ง ดำเนินการได้ภายใน 1 ปี แต่ในช่วงทดลอง 30 วันจะมีการติดตามผลว่ามีการโฆษณาหรือไม่ หรือมีคลื่นรบกวนหรือไม่ หลัง 30 วันต้องรอคณะกรรมการ กสทช.ชุด ใหม่ หากเห็นชอบตามร่างหลักสูตรนี้ก็คงดำเนินการต่อไป ถ้าไม่เห็นด้วย 51 สถานีวิทยุชุมชนยังได้รับการคุ้มครองไปจนกว่าจะครบ 1 ปี และนี่คือความชัดเจนของวิทยุชุมชนหลังจากเกิดมาแล้ว 10 ปี"  นายสุระชัยกล่าวในที่สุด

komchadluek

อัพเดทล่าสุด