https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หนึ่งศตวรรษผ่านไป "เวลา" ของ "ไอน์สไตน์" ยังถูกต้อง MUSLIMTHAIPOST

 

หนึ่งศตวรรษผ่านไป "เวลา" ของ "ไอน์สไตน์" ยังถูกต้อง


613 ผู้ชม


หนึ่งศตวรรษผ่านไป "เวลา" ของ "ไอน์สไตน์" ยังถูกต้อง

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

เวลาของ "ไอน์สไตน์" จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุนั้นๆ ที่เคลื่อนที่สัมพัทธ์กับวัตถุอื่นๆ .....

 

หนึ่งศตวรรษผ่านไป "เวลา" ของ "ไอน์สไตน์" ยังถูกต้อง
อนุสรณ์ ไอน์สไตน์ที่วอชิงตัน ดีซี สหรัฐฯ ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าผ่านไป 100 ปี ทฤษฎีเรื่องการยืดของเวลาของไอน์สไตน์ยังคงถูกต้อง

เอเอฟพี - สำหรับคนทั่วไปเวลาแห่งความสุข มักจะผ่านไปเร็ว ขณะที่เวลาของความทุกข์ดูเหมือนจะเคลื่อนผ่านไปอย่างช้าๆ แต่สำหรับเวลาของ "ไอน์สไตน์" จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุนั้นๆ ที่เคลื่อนที่สัมพัทธ์กับวัตถุอื่นๆ ซึ่งแนวคิดนี้แม้ว่าจะผ่านไปนานนับศตวรรตแล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็พบว่าทฤษฎีดังกล่าวยังถูกต้อง
       
       เมื่อปี 2448 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้เขียนตำราเกี่ยวกับสัมพัทธภาพของเวลา ซึ่งเสนอทฤษฎีที่โด่งดังว่าเวลาจะผ่านไปเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับว่าวัตถุนั้นๆ เคลื่อนที่เร็วหรือช้าสัมพัทธ์กับวัตถุอื่นๆ
       
       ยกตัวอย่างฝาแฝดที่คนหนึ่งออกไปนอกโลกด้วยความเร็วใกล้แสง เทียบกับแฝดที่อยู่บนโลก เวลาของแฝดที่ออกไปนอกโลกจะช้ากว่าแฝดที่อยู่บนโลก ซึ่งไอน์สไตน์เรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า "การยืดของเวลา" (time dilation)
       
       ล่าสุด เจอรัลด์ กวินเนอร์ (Gerald Gwinner) จากมหาวิทยาลัยมานิโทบา (University of Manitoba) ในวินนิเปก แคนาดาพิสูจน์ทฤษฎีของไอน์สไตน์และเผยแพร่รายงานการศึกษาผ่านวารสารเนเจอร์ ฟิสิกส์ (Nature Physics) ซึ่งการทดลองที่ละเอียดละออของเขา เป็นไปตามปรากฏการณ์การยืดของเวลา
       
       กวินเนอร์ร่วมมือกับนักวิจัยนานาชาติใช้เครื่องเร่งอนุภาค เพื่อยิงลำอนุภาค 2 ลำไปรอบๆ เส้นทางที่มีรูปร่างเป็นรูปโดนัทเพื่อแทนวัตถุที่เคลื่อนเร็วกว่า จากนั้นก็จับเวลาด้วยเครื่องสเปกโตรสโคปีเลเซอร์ (laser spectroscopy) ที่มีความแม่นยำสูง และพบว่าเมื่อเปรียบเทียบเวลาของนักเดินทางระดับอะตอมกับโลกปกติภายนอกแล้ว เวลาของลำอนุภาคเดินช้ากว่า
       
       "เราสามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าที่เคย เราพบผลที่สอดคล้องกันโดยสมบูรณ์" กวินเนอร์ซึ่งเป็นหัวหน้าในการวิจัยครั้งนี้กล่าว และแจงว่าการทดลองครั้งนี้ได้รับรองเทคโนโลยีดาวเทียมจีพีเอส (GPS) ซึ่งเป็นดาวเทียมทางการทหารของสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณให้กับระบบจีพีเอส ใช้นำร่องเส้นทางรอบโลก ซึ่งดาวเทียมจีพีเอสนี้ได้ติดตั้งนาฬิกาอะตอมที่แม่นยำ เพื่อส่งสัญญาณเป็นจังหวะๆ จากนั้นใช้หลักทางตรีโกณมิติเพื่อระบุตำแหน่งๆ หนึ่ง
       
       "ระบบจีพีเอสใช้ดาวเทียมเพื่อวัดตำแหน่งของวัตถุบนพื้นโลก แต่ก็จำเป็นต้องพิจารณาความจริงที่ว่า ดาวเทียมเองนั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงเท่าที่ได้โคจรรอบโลก และการทดลองของเราได้ให้เหตุผลกับทฤษฎีในการใช้อุปกรณ์สำหรับชดเชยค่าการเคลื่อนที่ของดาวเทียม" กวินเนอร์กล่าว
       
       การทดลองเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีของไอน์สไตน์นี้ เกิดขึ้นที่สถาบันมักซ์ พลังก์เพื่อการวิจัยฟิสิกส์นิวเคลียร์ (Max Planck Institute for Nuclear Physics) ในไฮเดลเบิร์ก เยอรมนี และได้ร่วมเอานักวิจัยจากด้านควอนตัมแสงที่อยู่ในองค์กรเดียวกับสถาบันดัง กล่าวและมหาวิทยาลัยไมนซ์ (Mainz University) ในเยอรมนีมาร่วมศึกษา
       
       สำหรับการวัดการยืดของเวลาตามทฤษฎีไอน์สไตน์นี้เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อปี 2481 โดยนักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ได้ใช้ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ (Doppler effect) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของความถี่เสียงและการได้ยินของผู้คน เมื่อมีการเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกห่างจากกัน เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์ทฤษฎีของไอน์สไตน์
       
       ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ได้กลายมาเป็นพื้นฐานของนิยายวิทยา ศาสตร์นับไม่ถ้วน เพื่อเปิดสู่เรื่องราวการเดินทางข้ามเวลา โดยตัวอย่างของเรื่องฝาแฝดที่ขัดแย้ง (twin paradox) ก็เป็นกรณีคลาสสิคที่ได้รับการหยิบยกพูดถึง

โดย ผู้จัดการออนไลน์

อัพเดทล่าสุด