https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ MUSLIMTHAIPOST

 

วงจรอิเล็กทรอนิกส์


820 ผู้ชม


การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ประโยชน์

ในการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เราควรจะเข้าใจการทำงานทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยให้เข้าใจการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ มากขึ้น และสามารถนำมาพัฒนาคุณภาพของอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรศึกษา ได้แก่
1. การต่อวงจรตัวต้านทาน ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์การต่อตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ ต้องต่อวงจรแบบอนุกรม เพราะตัวต้านทานชนิดนี้สามามารถควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร ให้ไหลมากหรือน้อยตามต้องการได้

วงจรอิเล็กทรอนิกส์

รูปแสดงการต่อวงจรตัวต้านทาน

2. การต่อวงจรไดโอดเปล่งแสง การต่อไดโอดเปล่งแสงในวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะต้องต่อตัวต้านทานไว้ในวงจรด้วย เนื่องจากกระแสไฟฟ้าเล็กน้อยก็ทำให้ไดโอดเปล่งแสงทำงานได้ ดังนั้นจึงต้องต่อตัวต้านทานไว้ในวงจรด้วยเพื่อลดปริมาณกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไดโอดในปริมาณที่พอเหมาะ

วงจรอิเล็กทรอนิกส์

รูปแสดงการต่อไดโอดเปล่งแปลง

3. การต่อวงจรทรานซิสเตอร์ การที่จะทำให้ทรานซิสเตอร์ ทำงานได้ต้องจ่ายไฟให้ที่ขาเบส (B) ซึ่งเป็นขาที่มีหน้าที่ในการควบคุมกระแสไฟฟ้าที่จะไหลจากขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์ กล่าวคือหากให้กระแสไหลที่ขาเบสมาก จะทำให้กระแสไหลผ่านขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์มาก แต่ถ้าให้กระแสไหลที่ขาเบสน้อย กระแสที่จะไหลผ่านขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์น้อยลงไปด้วย ดังนั้นด้วยหลักการทำงานของทรานซิสเตอร์นี้ ก็จะสามารถนำทรานซิสเตอร์ไปประกอบในวงจรต่างๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะในวงจรที่ต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร

วงจรอิเล็กทรอนิกส์

รูปแสดงทรานซิสเตอร์

การประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ต้องรู้จักเครื่องมือที่จะใช้เป็นอย่างดีและรู้วิธีการบัดกรี เช่น การใช้หัวแร้ง การใช้ตะกั่วบัดกรี ตลอดจนเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการบัดกรีด้วยเพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดในการต่อวงจร

ตารางแสดงอุปกรณ์ที่จำเป็นในการต่อวงจร

อุปกรณ์

การใช้งาน

1. มีดปอกสายไฟ
2. คีมปอกสายไฟหรือคีมตัดสายไฟ

3. ไขควงตรวจสอบไฟฟ้า

4. ปากคีบ
5. คีมปากจระเข้
6. หัวแร้งไฟฟ้า
7. ค้อน
8. ตะกั่วบัดกรี
9. กระดาษทราย
10. ตะไบแบน

- ใช้ปอกฉนวนออกจากสายไฟ
- ใช้ปอกฉนวนออกจากสายไฟได้ โดยออกแรงเพียงเล็กน้อย ถ้าออกแรงมากจะใช้ตัดสายไฟได้
- ใช้ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในวงจร ถ้ามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน หลอดนีออนในด้ามไขควงจะสว่าง
- ใช้จับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก
- ใช้จับอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อดึงหรืองออุปกรณ์
- ใช้ให้ความร้อนเพื่อทำให้ตะกั่วบัดกรีหลอมเหลว ในการเชื่อมวงจรอิเล็กทรอนิกส์
- ใช้ทุบหรือเคาะวัสดุเพื่อให้ผิวเรียบก่อนนำมาบัดกรี
- ใช้ในการเชื่อมต่อวงจรต่างๆ เข้าด้วยกัน
- ใช้ทำความสะอาดผิวโลหะหรือชิ้นงาน
- ใช้ขัดหรือลบผิวของโลหะให้เรียบ

- การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นจะต้องยึดหลักการออกแบบที่ถูกต้อง คือ ต้องเลือกวงจรที่จะออกแบบ ต้องศึกษาการทำงานของวงจรที่เลือกให้เข้าใจ ต้องเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ให้เหมาะสมและควรตรวจสอบความถูกต้องของอุปกรณ์แต่ละชนิดเมื่อออกแบบวงจรเสร็จแล้ว

หนูๆ จ๋า...ไฟฟ้ามีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าเราใช้อย่างไม่ระมัดระวังก็เกิดอันตรายได้เช่นกันนะจ๊ะ

อัพเดทล่าสุด