https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ชนิดของคำ MUSLIMTHAIPOST

 

ชนิดของคำ


559 ผู้ชม


 ชนิดของคำ  

          การจำแนกคำในภาษาไทย แบ่งออกได้เป็น 7 ชนิด ดังนี้

             1.คำนาม     2.คำสรรพนาม     3.คำกริยา     4.คำวิเศษณ์

              5.คำบุพบท 6.คำสันธาน          7.คำอุทาน

          1) คำนาม   คือคำที่ใช้เรียกสิ่งต่าง ๆ อาจเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของ และนามธรรมทั้งหลาย เช่น ครู  นักเรียน  พ่อค้า  หมา  หมู  แมว  ลำไย  มังคุด  กุหลาบ  โทรทัศน์  ความรัก  ความเสียใจ  ความพอใจ  ความเมตตา  ความซื่อสัตย์  นาฏศิลป์  ลิเก  ละคร  อุบัติเหตุ  อุทกภัย  คำนามแบ่งออกได้เป็น  ชนิดคือ

                1. คำนามทั่วไป (สามานยนาม)  คือคำนามที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ โดยทั่ว ๆ ไป  เช่น ครู  นักเรียน  โรงเรียน  แม่น้ำ  ประเทศ

                2. คำนามชี้เฉพาะ (วิสามานยนาม) คือคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน  สัตว์  และสิ่งของ เช่น  ทักษิณ-ชื่อคน, ไชยานุภาพ-ชื่อช้าง, ขุนช้างขุนแผน-ชื่อหนังสือ

                3. คำนามบอกหมวดหมู่ ( สมุหนาม) คือคำนามที่ใช้แสดงหมวดหมู่ของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น  หมู่ลูกเสือ, กลุ่มนักเรียน, ฝูงนก, โขลงช้าง, ทีมฟุตบอล

                ข้อควรสังเกต  คำนามบอกหมวดหมู่นั้นจะอยู่หน้าคำนามเสมอ แต่ถ้าไปอยู่หลังคำนาม

                                               หรือหลังคำบอกจำนวนจะกลายเป็น นามบอกลักษณะทันที  เช่น

                                               ทีมฟุตบอลทีมนี้เล่นเก่งทุกคน   

                                               ทีมคำแรก เป็นคำนามบอกหมวดหมู่

                                               ทีมคำหลังเป็นคำนามบอกลักษณะ

                4. คำนามบอกลักษณะ (ลักษณนาม)  คือคำนามที่บอกลักษณะของคำนามที่อยู่ข้างหน้าเพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาดของคำนามนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

                    คำลักษณนามนั้นส่วนใหญ่นำมาจากคำนาม เช่น ตัว  เล่ม  หัว  แผ่น  เส้น  ดวง  แต่บางคำก็มาจากคำกริยา เช่น  จีบ  ม้วน  ขด  เท  กำ

                    คำลักษณนามบางคำมีรูปตรงกับคำนามคำเดิม เช่น  หู 2 หู ,  ตา 2 ตา , จมูก 1 จมูก ,  หมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน ,  อำเภอ 6 อำเภอ ,  ทวีป 5 ทวีป

                    ลักษณนามของคำบางคำมีลักษณะต่างกับคำนามเดิม แต่ก็จำกัดใช้เฉพาะคำนามเพียงบางคำ

 ลูก

                     5.คำนามที่แสดงอาการ (อาการนาม) คือคำนามที่แสดงสิ่งที่เป็นนามธรรม ทางกาย วาจา และความรู้สึกทางจิตใจ จะมีคำว่า  การ  และ  ความ  นำหน้า เช่น การพูด  การต่อสู้  ความอดทน  ความสามัคคี

อัพเดทล่าสุด