https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เซลล์และทษฏิเซลล์ MUSLIMTHAIPOST

 

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เซลล์และทษฏิเซลล์


945 ผู้ชม



เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เซลล์และทษฏิเซลล์ร่างกายของคนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานของระบบต่าง ๆ และอวัยวะดังกล่าวเกิดจากเนื้อเยื่อ (tissue) ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็ก ๆ ลงไปอีกหน่วยย่อยนี้เรียกว่า เซลล์ จึงกล่าวได้ว่า เซลล์เป็นหน่วยโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุด

เซลล์ (CELL) หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต โดยเซลล์จะมีอยู่ในทุก ๆส่วนของพืช เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ แตกต่างกันไป เซลล์ของพืชจะมีรูปร่างแตกต่างกัน ตามแต่หน้าที่และชนิดของพืชนั้น ๆ

    เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก  ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า  การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์จึงต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์  ถ้ากล้องจูลทรรศน์นั้นมีกำลังขยายสูงก็จะพบรายละอียดของสิ่งที่เราต้องการสังเกตมากขึ้น  เซลล์สิ่งมีชีวิตมีรูปร่างและโครงสร้างภายในที่แตกต่างกัน

   สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้  และสิ่งมีชีวิตบางชนิดประด้วยเซลล์หลายเซลล์ เซลล์เหล่านี้มีโครงสร้างบางอย่างที่เหมือนและแตกต่างกัน  โครงสร้างที่พบในเซลล์ทุกชนิดที่ศึกษาได้แก่  นิวเคลียส  ไซโทพลาสซึม  และเยื่อหุ้มเซลล์  ในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เซลล์และทษฏิเซลล์                                       เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เซลล์และทษฏิเซลล์
                     มิตทิอัส  ชไลเดน                                 เทโอดอร์  ชวันน์         

ผู้คันพบเซลล์ 

เมื่อประมาณ พ.ศ.2381 มิตทิอัส  ชไลเดน (Matthias  Schleiden) นักพฤษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ค้นพบว่า  พืชทั้งหลายต่างเป็นสิ่งมีชีวิตทีมีหลายเซลล์  และในปีถัดมา  พ.ศ.2382 เทโอดอร์  ชวันน์ (Theodor Schwann) นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน  ได้ประกาศว่าสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีเซลล์เป็นองค์ประกอบ  นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 คน จึงได้ร่วมกันตั้ง ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) มีใจความว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์  และเซลล์นั้นคือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด       
 ทฤษฎีเซลล์ในปัจจุบันครอบคุมถึงใจความที่สำคัญ  3  ประการ คือ
    1.สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจมีเพียงเซลล์เดียว  หรือหลายเซลล์ซึ่งภายในมีสารพันธุกรรมและมีกระบวนการเมทาบอลิซึม  ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้

   2.เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กทีสุดของสิ่งมีชีวิตที่มีการจัดระบบการทำงานภายในโครงสร้างของเซลล์

   3.เซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์แรกเริ่ม  เซลล์เกิดจากการแงตัวของเซลล์เดิม  แม้ว่าชีวิตแรกเริ่มจะมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งไม่มี
ชีวิต  แต่นักชีววิทยายังคงถือว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์เป็นผลสืบเนื่องมาจากเซลล์รุ่นก่อน

    จึงเป็นที่น่าสงสัยว่านอกจากโครงสร้างที่พบด้วยกล้องจูลทรรศน์แบบใช้แสง  ในเซลล์ยังมีโครงสร้างอื่น ๆ อีกหรือไม่ และโครงสร้างเหล่านี้ช่วยในการดำรงชีวิตของเซลล์อย่างไร 

อัพเดทล่าสุด