https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อุดรธานี จังหวัดน่ารูอีกจังหวัดของไทย MUSLIMTHAIPOST

 

อุดรธานี จังหวัดน่ารูอีกจังหวัดของไทย


1,184 ผู้ชม


จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่) และยังมีแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของภูมิภาค มีสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นประตูสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน ยังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายอีกด้วย

อุดรธานี  จังหวัดน่ารูอีกจังหวัดของไทย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติศาสตร์

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า บริเวณพื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี จากหลักฐานการค้นพบที่บ้านเชียงอำเภอหนองหานและภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่อำเภอบ้านผือ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์ และโบราณคดีระหว่างประเทศว่าชุมชนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดอุดรธานี มีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง และอาจถ่ายทอดความเจริญนี้ไปสู่ประเทศจีนก็อาจเป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้นสันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าที่สุดของโลก

หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงแล้ว พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานี ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีกจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พ.ศ. 1200-1600) สมัยลพบุรี (พ.ศ. 1200-1800 และสมัยสุโขทัย(พ.ศ. 1800 - 2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวาราวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบกอำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชื่อ จังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีพื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์ เมื่อราวปีจอ พ.ศ. 2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์และที่เมืองหนองบัวลำภูนี่เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงครามกล่าวคือในระหว่าง พ.ศ. 2369 - 2371 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือ คุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณ พ.ศ. 2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว

ในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ ในเวลานั้นเมืองอุดรธานียังไม่ปรากฏชื่อเพียงแต่ปรากฏชื่อบ้านหมากแข้งหรือบ้านเดื่อหมากแข้ง สังกัดเมืองหนองคายขึ้นการปกครองกับมณฑลลาวพวน และกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ได้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้ง ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ

ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้วไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศลต้องการลาว เขมร ญวน เป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตร ของฝั่งแม่น้ำโขง

ดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมือง หรือมณฑลลาวพวน ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ ปัจจุบัน) และหนองน้ำอีกหลายแห่ง รวมทั้งห้วยหมากแข้ง ซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ เพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ ยิ่งกว่าเหตุผลทางการค้า การคมนาคมหรือเหตุผลอื่น ดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่างๆ ในอดีต อย่างไรก็ตามคำว่า "อุดร" มาปรากฏชื่อเมือง พ.ศ 2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร “โพธิ์ เนติโพธิ์”) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้งอยู่ในการปกครองของมณฑลอุดร

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้น มณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด "อุดรธานี"เท่านั้น

[แก้] อาณาเขตติดต่อ

อุดรธานีมีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่นๆ ดังนี้

[แก้] ภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 187 ฟุต หรือ 200-700 เมตร พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขงทางจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายปนดินลูกรัง ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม ประกอบกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบผืนเล็ก ๆ แทรกอยู่กระจัดกระจาย พื้นที่ทางทิศตะวันตกมีภูเขาและป่าติดต่อกันเป็นแนวยาว มีทิวเขาสำคัญคือ ทิวเขาภูพาน ทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่เขตเหนือสุดไปจนจรดทางใต้สุดเหมือนกับแบ่งพื้นที่ของจังหวัดออกเป็นสองส่วน

[แก้] ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทิวเขาล้อมรอบทางด้านตะวันออกและด้านใต้ ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นอยู่ทางตะวันตก ทิวเขาสันกำแพงและทิวเขาพนมดงรักอยู่ทางด้านใต้ ทำให้ฝนที่เกิดจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีน้อย ส่วนมากเป็นฝนที่เกิดจากพายุดีเปรสชันที่เคลื่อนผ่านเข้ามาระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าปานกลางของปริมาณน้ำฝนจังหวัดอุดรธานี ประมาณปีละ 1,400-1,600 มิลลิเมตร สภาพอากาศค่อนข้างรุนแรง โดยจะร้อนจัดในฤดูร้อนและอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งในฤดูร้อนเคยมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 43.9 องศาเซลเซียส และในช่วงฤดูหนาวเคยมีอุณหภูมิต่ำสุดถึง 2.5 องศาเซลเซียส ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ในช่วงปี พ.ศ. 2539 มีอุณหภูมิสูงสุด 39.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคม 2539 อุณหภูมิต่ำสุด 7.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม 2539 ปริมาณน้ำฝนรวมวัดได้ 1,844.8 มิลลิเมตร

[แก้] การเดินทาง

เส้นทางคมนาคมและการเดินทางที่สำคัญของอุดรธานี คือ

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 155 ตำบล 1,682 หมู่บ้าน อำเภอหมายเลข 12-16 ตามรหัสเขตการปกครองคือจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน

  1. อำเภอเมืองอุดรธานี
  2. อำเภอกุดจับ
  3. อำเภอหนองวัวซอ
  4. อำเภอกุมภวาปี
  5. อำเภอโนนสะอาด
  6. อำเภอหนองหาน
  7. อำเภอทุ่งฝน
  8. อำเภอไชยวาน
  9. อำเภอศรีธาตุ
  10. อำเภอวังสามหมอ
  1. อำเภอบ้านดุง
  1. อำเภอบ้านผือ
  2. อำเภอน้ำโสม
  3. อำเภอเพ็ญ
  4. อำเภอสร้างคอม
  5. อำเภอหนองแสง
  6. อำเภอนายูง
  7. อำเภอพิบูลย์รักษ์
  8. อำเภอกู่แก้ว
  9. อำเภอประจักษ์ศิลปาคม
 

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ธงประจำจังหวัดอุดรธานี

เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง

  • ความหมายของตราประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เป็นพญายักษ์ถือกระบองซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2483

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ

ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี ถนนทหาร อนุสาวรีย์พระองค์ท่านมีความสำคัญต่อชาวอุดรเป็นอย่างยิ่ง พระองค์เป็นผู้ก่อตั้งจังหวัดอุดรธานีขึ้น นับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวอุดรธานี

  • สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม

อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า"หนองนาเกลือ" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "หนองประจักษ์" เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานี ได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด และทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะมีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนเข้าไปพักผ่อนและออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก

  • ศาลเจ้าปู่-ย่า

ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟใกล้ตลาดหนองบัว ถนนนิตโย เป็นศาลเจ้าของชาวอุดรธานีเชื้อสายจีนที่ใหญ่โต และสวยงาม มีสวนหน่อมริมหนองบัว บริเวณโดยรอบมีศาลาชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อน และในศาลเจ้าปู่-ย่าแห่งนี้ ยังมีมังกรทองยาวถึง 99 เมตร ซึ่งใช้แสดงในงานทุ่งศรีเมืองในวันที่ 1-15 ธันวาคม ของทุกปี

ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาด เดินทางออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพอุดร-ขอนแก่น) ถึงบริเวณสี่แยกบ้านคงเค็ง แล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัดที่อยู่เลยจากชุมชนหมู่บ้านตาดไม่ไกลเท่าใดนัก สภาพโดยทั่วไปของวัดนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคก มีพื้นที่ทั้งหมดราว 163 ไร่ ล้อมรอบด้วยกำแพง เป็นที่พำนักของ พระอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และวัดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการไปปฏิบัติธรรม วัดนี้ยังมีบุคคลสำคัญเดินทางมาวัดเพื่อนมัสการพระอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ด้วย อาทิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นต้น

  • วัดโพธิสมภรณ์

ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาลที่ 5 โดยมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัด ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า "วัดโพธิสมภรณ์" ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรผู้สร้างวัดนี้

  • วัดมัชฌิมาวาส

ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดเดิมหรือวัดเก่า ในวิหารเล็กๆ ภายในวัดมีพระพุทธรูปหินสีขาวปางนาคปรกประดิษฐานอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "หลวงพ่อนาค" เป็นที่เคารพสักการะของชาวอุดรธานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นที่วัดร้างโนนหมากแข้ง และให้ชื่อว่า "วัดมัชฌิมาวาส"

  • สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์

ตั้งอยู่ที่ซอยกมลวัฒนา ถนนรอบอุดร-หนองสำโรง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เลยแยกถนนเลี่ยงเมืองไปเล็กน้อย ทางซ้ายมือจะมีทางแยกเข้าหนองสำโรงประมาณ 500 เมตร และเห็นป้ายบอกทางเข้าสวนกล้วยไม้ทางด้านซ้ายมือสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ เป็นสวนกล้วยไม้ที่ผลิตกล้วยไม้กลิ่นหอมพันธุ์ใหม่ของไทยซึ่งใช้เวลาในการค้นคว้าและผสมพันธุ์ระหว่างแวนดา (Vanda) กับโจเซฟิน แวน เบอร์โรว์ (Josephine Van Berrow) ได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่สมาคมกล้วยไม้โลก สหราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2531 ชื่อพันธุ์ Udon Sunshine Orchid หรือพันธุ์นางสาวอุดรซันไฌน์ ซึ่งมีการนำไปสกัดทำน้ำหอมในชื่อเดียวกันติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 0 4224 2475

  • หมู่บ้านนาข่าและศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น

อยู่ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพอุดร-หนองคาย) หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่า เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิตในราคาย่อมเยา การเดินทางมีรถโดยสารประจำทางสายอุดรธานี-นาข่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่หน้าสถาบันราชภัฎอุดรธานีและตลาดรังษิณา

  • อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง

อยู่บนทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-หนองบัวลำภู ตรงกิโลเมตรที่ 15 แล้วแยกเข้าไปอีก 10 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 20,000 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำได้ 113 ล้านลูกบาศก์เมตร และส่งน้ำเพื่อการเกษตรได้จำนวน 86,000 ไร่ เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การประมง การจ่ายน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะสำหรับการล่องแพ ตกปลา และนั่งเรือชมทิวทัศน์ ปัจจุบันทางราชการได้สร้างพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งพระองค์ท่านเคยเสด็จประทับเกือบทุกปี

  • อำเภอหนองหาน
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดีและโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ
  • ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ รวมทั้งโบราณวัตถุและนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ สหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ

การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเพียง 55 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลขหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น. ค่าเข้าชมชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ คนละ 30 บาท

[แก้] เทศกาลประเพณีประจำปี

  • งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก

จัดในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์ พื้นเมือง ประชาชนจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงต่างมาร่วมงานอย่างหนาแน่น

  • งานทุ่งศรีเมืองอุดรธานี

ประมาณวันที่1-15ของเดือนธันวาคมของทุกปี ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์พื้นเมืองเช่น ผ้าไหม ผ้าทอลายขิด ผ้าทอมือ ผ้าหมี่ขิด และยังมีการแสดงโชว์มังกรทองจากศาลาเจ้าปู่-ย่าด้วย

  • งานประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เทศบาลตำบลกุมภวาปี วันที่ 10-11 ตุลาคม 2552 ( หลังออกพรรษา 1สัปดาห์ของทุกปี ) ณ บริเวณลำน้ำปาว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

กิจกรรม ชมการแข่งขันออกเรือเป็นเรือโบราณ ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศและเรือแต่งแบบภาคกลาง มีมหรสพสมโภชตลอดงาน

 ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่  [1]  

สำนักงานเทศบาลตำบลกุมภวาปี (กองการศึกษา) โทรศัพท์: 0 4233 1366 โทรสาร : 0 4233 2175 www.kumpawapi.go.th/index.php

[แก้] ศูนย์การค้าและแหล่งธุรกิจที่สำคัญ

[แก้] สถานพยาบาลในจังหวัด

  • 1. โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี
  • 2. โรงพยาบาลวัฒนา อุดร
  • 3. โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล
  • 4. โรงพยาบาลเอกอุดร
  • 5. โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
  • 6. โรงพยาบาลชัยเกษมการแพทย์
  • 7. โรงพยาบาลรัตนแพทย์

[แก้] ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี

ต้นทองกวาวหรือต้นจาน เป็นไม้ยืนต้นผลีดใบสูง 8-15 เมตรดอกใหญ่รูปดอกถั่ว สีแสด จะออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

[แก้] พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด

ต้นรังหรือต้นฮัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-20 เมตร ใบรูปไข่ ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

[แก้] คำขวัญประจำจังหวัด

  • คำขวัญประจำจังหวัด: น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไชฌ์
  • อักษรย่อ: อด.

[แก้] การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

อาชีวศึกษา

โรงเรียน

[แก้] ชาวอุดรธานีที่มีชื่อเสียง

[แก้] อุทยาน

อัพเดทล่าสุด