https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://uptdlkk.kaltimprov.go.id/img/product/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://ditkapel.dephub.go.id/petikemas/tests/https://pmb.universitaspertamina.ac.id/popup/hari-ini/https://jdih.komnasham.go.id/img/banner/https://file.disdikbud.kaltimprov.go.id:8443/user/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/http://bendungan-kita.sda.pu.go.id/files/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://mpp.grobogan.go.id/media/legacy/https://spanel.samarindakota.go.id/js/builds/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/system/https://satpolpp.ciamiskab.go.id/icon/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/
ปลาทะเล คลิปปลาทะเล การเลี้ยงปลาทะเล เบื้องต้น ปัจจัยต่างๆที่ต้องคำนึงในการเลี้ยงปลาทะเล MUSLIMTHAIPOST

 

ปลาทะเล คลิปปลาทะเล การเลี้ยงปลาทะเล เบื้องต้น ปัจจัยต่างๆที่ต้องคำนึงในการเลี้ยงปลาทะเล


1,014 ผู้ชม

การเลี้ยงปลาทะเลนั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก ถ้าผู้เลี้ยงเป็นคนที่ใจเย็นและ มีความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการเลี้ยง ปลาทะเลนั้น ต่างจากการเ้ลี้ยงปลาน้ำจืดที่คนส่วนใหญ่ นิยมเลี้ยงกัน เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่มีความ จำเพาะเจาะจง... สำหรับคนที่มีความต้องการเลี้ยง ปะการังด้วยนั้นก็จะเพิ่มความยากในการเลี้ยงตามชนิด ของปะการังที่เลี้ยง โดยการเลี้ยงปะการังนั้น ก็จำเป็น ต้องมีเงื่อนไขเพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งอุปกรณ์เป็นสิ่งที่มี ความสำคัญต่อความสำเร็จอย่างมาก...


การเลี้ยงปลาทะเล เบื้องต้น ปัจจัยต่างๆที่ต้องคำนึงในการเลี้ยงปลาทะเล


Giant Jew Fish

Matthew | MySpace Video
การเลี้ย$งปลาทะเลนั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก ถ้าผู้เลี้ยงเป็นคนที่ใจเย็นและ มีความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการเลี้ยง ปลาทะเลนั้น ต่างจากการเ้ลี้ยงปลาน้ำจืดที่คนส่วนใหญ่ นิยมเลี้ยงกัน เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่มีความ จำเพาะเจาะจง... สำหรับคนที่มีความต้องการเลี้ยง ปะการังด้วยนั้นก็จะเพิ่มความยากในการเลี้ยงตามชนิด ของปะการังที่เลี้ยง โดยการเลี้ยงปะการังนั้น ก็จำเป็น ต้องมีเงื่อนไขเพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งอุปกรณ์เป็นสิ่งที่มี ความสำคัญต่อความสำเร็จอย่างมาก...

1.น้ำ
             แน่นอนว่าการเลี้ยงปลาทะเลก็จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำเค็มในการเลี้ยงโดยแหล่งน้ำที่ใช้
้เลี้ยงนั้นสามารถหาได้โดยใช้น้ำทะเลจริง ซึ่งควรจะใช้น้ำทะเลที่ห่างจากฝั่งพอสมควร
เพื่อที่จะได้ไม่ีมีมลภาวะต่างๆ หรืออาจจะซื้อน้ำทะเลที่มีขายอยู่ตามร้านขายปลาทะเลก็ได้
นอกจากนี้ อาจจะใช้เกลือสังเคราะห์สำหรับเลี้ยงปลาทะเลโดยเฉพาะซึ่งหาซื้อได้ทั่วไป มีหลายยี่ห้อ
และเป็นที่นิยมเนื่องจากสะดวกกว่า จากนั้นก็นำเกลือที่ได้นำมาผสมน้ำตามสัดส่วน
ที่ระบุไว้ข้างถุง โดยน้ำที่ใช้ถ้าเป็นน้ำกลั่นจะดีมาก หรืออาจใช้น้ำที่กรองแล้วเนื่องจาก
การใช้น้ำประปาจะมีฟอสเฟสมาก และเป็นที่มาของตะไคร่ในตู้ ทำให้เกิดความไม่สวยงามได้
้ซึ่งการผสมน้ำนั้นให้ค่อยๆเทเกลือลงในน้ำและคน อาจเปิดปั๊มอ๊อกหัวทรายเพื่อให้น้ำไหลเวียน
หรืออาจจะผสมลงตู้เลยก็ได้ และใช้อุปกรณ์สำหรับวัดความเค็ม (Hydrometer) ซึ่งวัดในรูป
ความถ่วงจำเพาะให้ได้ค่าประมาณ 1.020-1.025 โดยเครื่องวัดความเค็มนั้นมีหลายราคา
ตั้งแต่ถูกจนถึงแพง

2.ระบบกรอง
          ระบบกรองน้ำในตู้นั้นมีความสำคัญมากเนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพน้ำ
ภายในตู้ ซึ่งจริงๆแล้วระบบกรองในตู้ทะเลมีหลายแบบและมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันออกไป
ในที่นี้จะกล่าวถึงระบบที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้และมีคุณภาพ นั่นคือการใช้ระบบกรองข้าง
ภายในตู้ หรือการใช้ระบบกรองล่าง ภายนอกตู้ ซึ่งจะต้องมีปั๊มดูดน้ำจากในตู้ไปยังช่องกรอง
ซึ่งสำหรับกรองข้างนั้นภายในอาจจะบรรจุด้วย...

- ใยแก้ว ชั้นบนสุดสำหรับกรองเศษสิ่งสกปรกซึ่งอาจจะเกิดการหมักหมมได้
   ดังนั้นจึงควรหมั่นทำความสะอาดด้วย
- Bio ball เพื่อเพิ่มการแตกตัวของน้ำ ทำให้ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากขึ้น
   จึงเป็นการเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำให้สูงขึ้น
- เศษปะการัง , เปลือกหอยนางรมทุบ หรือ Bio ring เพื่อเป็นการ เพิ่มพื้นที่
   สำหรับเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียในระบบของเรา
( วัสดุต่างๆอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความสะดวกของผู้เลี้ยง )

สำหรับระบบกรองล่าง นอกตู้ันั้น จะยุ่งยากกว่าเล็กน้อยแต่จะมีประสิทธิภาพในการ
กรองมากกว่าระบบกรองข้าง ซึ่งการกรองแบบนี้จำเป็นต้องมีตู้กรองแยกออกมาจากตูู้็หลัก
และมีการดูดน้ำจากตู้หลักมายังตู้กรอง โดยเจาะรูที่ด้านข้างของตู้หลัก และใช้ท่อส่งน้ำ
เข้าตู้กรอง ซึ่งตู้กรองนั้นจะแบ่งเป็นช่องย่อยๆสำหรับกรองน้ำขึ้น ลงจากฝั่งนึงไปยังฝั่งนึง
และใช้ปั๊มสูบน้ำขึ้นไปยังตู้หลัก โดยตู้กรองจะแบ่งเป็นช่องๆดังนี้..

- ช่องแรก มักใส่พวก ใยแก้ว รวมถึง Bio ball ซึ่งอาจจะเกืดการหมักหมมได้
- ช่อง 2 ใส่เศษปะการัง , เศษเปลือกหอยนางรม , Bio ring หรือวัสดุกรองอื่นๆ
   ( 2 ช่องแรกใช้เนื้อที่ประมาณ 30% )
- ช่อง 3 จะใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกสาหร่าย เพื่อดูดซับสารพิษหรือแร่ธาตุที่มีผลเสียบางอย่าง
   และเป็นการเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ หรือใส่หินเป็น เพื่อเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียสำหรับกระบวนการ
   กำจัดของเสียจำพวกไนเตรตภายในตู้เรียกว่า Refugium ซึ่งอาจต้องติดตั้งไฟ
   สำหรับเลี้ยงสาหร่ายให้สังเคราะห์แสง สำหรับส่วนนี้จะเป็นส่วนที่พัก สำหรับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ
   และระบบกรองทางชีวภาพซึ่งจะกล่าวรายละเอียดต่อไป

      จากที่กล่าวมา สำหรับกรองล่างนั้นสามารถสั่งทำได้จากร้านค้าสำหรับทำตู้ปลาได้เลยและ
อีกสิ่งที่ต้องคำนึงคือขาสำหรับตั้งตู้ปลาไม่ควรเป็นขาเหล็กเนื่องจากอาจเกิดสนิมได้ทำให้
ไม่แข็งแรง ที่นิยมคือขาไม้เนื่องจากไม่เป็นสนิม

3.ไฟ
              สำหรับการเลี้ยงปลาทะเลโดยที่ไม่เลี้ยงปะการังนั้น สามารถใช้ไฟอะไรก็ได้
เพื่อให้แสงสว่างและความสวยงามตามปกติ ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมแสงสีขาวจากหลอด
ฟลูออเรสเซนต์ ผสมกับแสงสีฟ้าจากหลอด blue แต่สำหรับกรณีที่มีการเลี้ยงปะการังนั้น
จำเป็นจะต้องเพิ่มปริมาณไฟ เนื่องจากปะการังส่วนใหญ่ดำรงชีวิตโดยการสังเคราะห์แสง
ซึ่งต้องใช้แสงปริมาณมากและต่างกันไปตามความต้องการของปะการังแต่ละชนิด ซึ่งหลอดไฟ
ที่สามารถเลี้ยงปะการังชนิดที่ต้องการแสงจัด ( ส่วนมาก ) ได้ดีและเป็นที่นิยม คือ หลอดไฟ MH
ซึ่งจะเกิดปัญหาในเรื่องของอุณหภูมิตามมาและมีราคาค่อนข้างสูง แต่สำหรับปะการังที่ใช้
แสงน้อยก็ สามารถใช้หลอดฟลูออเรสต์เซนต์หลายๆหลอดในการเลี้ยงได้ และปะการังบางชนิด
ก็ไม่ใช้แสงในการดำรงชีวิตต่างกันออกไปซึ่งไฟที่เราจะเลือกนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชิวิตที่
ี่เราจะเลี้ยง  ซึ่งโดยปกติแล้้ิวหลอดไฟต่างๆจะมีอายุการใช้งานที่จำกัด ( ประมาณ 1 ปี )
ซี่งเมื่อหมดอายุ หลอดไฟจะให้ค่าความสว่างลดลงและอาจมีสีที่ผิดเพี้ยนจากเดิม

4.อุณหภูมิ
              โดยปกติแล้ว อุณหภูมิในทะเลเขตร้อน จะเย็นกว่าอุณหภูมิ ของอากาศบ้านเรา
ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงปลาทะเลนั้นอยู่ที่ 25 - 29 องศาเซลเซียส
ซึ่งปลาบางชนิดจะีมีความสามารถในการทนต่ออุณหภูมิสูงๆได้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปะการัง
จะชอบอยู่ในอุณหภูมิที่เย็นๆ และอาจตายได้ถ้าอยู่ในอุณหภูมิที่ิร้อนจนเกินไป
และ่สิ่งที่สำคัญมากที่สุด ก็คือความคงที่ของอุณหภูมิ ซึ่งสำคัญมากต่อสุขภาพของปลา
โดยอุณหภูมิที่แกว่ง ขึ้น-ลงไปมาในแต่ละวัน จะทำให้ปลาปรับตัวยาก เกิดโรคต่างๆเนื่องจาก
ภูมิต้านทานลด เกิดความเครียด ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยมากก็คืออุณหภูมิในตู้สูงเกินไป โดยผู้เลี้ยง
อาจแก้ไขได้ด้วยการติดพัดลมเป่าที่ผิวน้ำ หรือติดเครื่องทำความเย็น ( Chiller ) ซึ่งมีราคา
ที่สูงมากแต่สามารถคุมอุณหภูมิได้คงที่และเย็นได้ตามต้องการ ส่วนอีกปัญหาีนึงก็คือ
การเลี้ยงปลาในห้องแอร์ และมีผลทำให้ีอุณหภูมิในตู้ิ เย็นเกินไป สามารถแก้ไขได้โดยการติด
Heater ในตู้ปลาซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายและมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป

5.หินเป็น
          หินเป็นคือหินที่เกิดจากซากปะการังตายมาเกาะตัวกันเป็นก้อน ซึ่งภายในมีลักษณะ
พิเศษต่างจากหินทั่วไปคือมีรูพรุน ซึ่งเหมาะสมสำหรับเป็นที่อยู่สำหรับแบคทีเรียที่มีประโยชน์
ในการกำจัดของเสียไนเตรตภายในตู้และนอกจากนี้ จะมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆหลายชนิดอาศัยอยู่
่ภายใน เช่น ดาวเปราะ , ปู ( อันตรายต่อปลา ควรเอาออก ) , หนอน และอื่นๆ   ซึ่งสิ่งมีชีวิต
เหล่านี้จะช่วยให้ ระบบนิเวศน์ภายในตู้ของเราสมบูรณ์และคล้ายกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
โดยที่ถ้าในตู้มีหินเป็นมากเท่าไหร่ ระบบภายในตู้ก็จะยิ่งเสถียรมากเท่านั้น
       สำหรับการเิริ่มตั้งตู้ปลาทะเลนั้น หินเป็นมีความจำเป็นมาก เพราะจะช่วยเร่งระยะเวลา
การเซตตู้ให้เร็วขึ้นและทำให้ระบบเสถียรมากขึ้น นอกจากนี้เรายังใช้หินเป็นในการจัดตู้
เพื่อความสวยงาม เป็นฐานสำหรับวางปะการังได้ตามความต้องการอีกด้วย ซึ่งหินเป็นนั้น
สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายปลาทะเล และหินเป็นที่มีคุณภาพคือหินเป็นที่บำบัดแล้ว
มิฉะนั้นอาจทำให้น้ำในตู้เน่าเสียหรือเหลืองได้ และหินเป็นเหล่านี้ต้องเปียกเสมอ ถ้าหินแห้ง
นั้นจะเรียกว่าหินตาย ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่แล้วแต่สามารถกลายเป็นหินเป็นได้ ถ้านำมาไว้ในตู้
เดียวกันกับหินเป็นเพราะจะมีสิ่งมีชีวิตย้ายเข้าไปอาศัยอยู่เพิ่ม

6.การเซตตู้
          ความยากอย่างหนึ่งของการเลี้ยงปลาทะเลและถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ความใจเย็น
อย่างมากนั่นก็คือขั้นตอนการเซตตู้ เนื่องจากการเลี้ยงปลาทะเลนั้นเราไม่สามารถใส่น้ำและ
ใส่ปลาได้เลยทันทีเพราะการทำแบบนี้จะทำให้ปลาตาย เนื่องด้วยระบบภายในตู้ไม่สามารถ
กำจัดและรองรับของเสียที่เกิดจากปลาได้ เพราะของเสียเหล่านี้จำเป็นต้องถูกกำจัดโดย
แบคทีเรียที่มีในตู้ซึ่งต้องมีปริมาณมากระดับหนึ่ง เมื่อแรกเริ่มตั้งตู้ครั้งแรกนั้นจะยังไม่มี
แบคทีเรีย เราจึงต้องทำการใส่หัวเชื้อแบคทีเรียลงในตู้ ( สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้า
ขายอุปกรณ์เลี้ยงปลา )ที่ใส่น้ำจนเต็มและรันน้ำทิ้งไว้อย่างนั้นเป็นเวลา 1- 3 เดือน เพื่อเป็นการ
เพิ่มจำนวนแบคทีเรียในตู้ให้มีปริมาณมากพอ ซึ่งสำหรับขั้นตอนนี้เราจะต้องทำการลงหินเป็น
ไปด้วยเพื่อให้ระบบการเซตตัวสมบูรณ์สำหรับเป็นที่ลงเกาะของแบคทีเรีย โดยยิ่งมีหินเป็นมาก
ก็จะยิ่งทำให้ระบบเซตตัวได้เร็วขึ้น และสำหรับขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องเปิดไฟเพราะจะทำให้
มีตะไคร่ขึ้นมากทำให้เกิดความไม่สวยงาม ซึ่งในช่วงแรกของการเลี้ยงปลาันั้น การเกิดตะไคร่
ในตู้เป็นเรื่องปกติและจะลดลงเมื่อตู้เสถียรมากขึ้น ทั้งนี้เราอาจจะใช้วิธีควบคุมการเกิด
ตะไคร่ได้หลายวิธี เช่น เลี้ยงสัตว์ที่กินตะไคร่ , การใช้ Phosphate remover , การขัดออก
การเลี้ยงสาหร่าย หรือลดเวลาการเปิดไฟ เป็นต้น

7.การปูพื้น
            สิ่งที่จะนำมาปูพื้นนั้นมีได้ีหลายอย่างเช่น เศษปะการัง ซึ่งมีความละเอียดแตกต่างกันไป
ที่นิยมได้แก่เศษปะการังเบอร์ 0 และที่นิยมอีกอย่างนึงคือทรายเป็น ซึ่งเป็นทรายละเอียดจาก
ทะเลที่มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆอาศัยอยู่ ซึ่งบางทีเราอาจใช้ทรายละเอียดธรรมดาปูก็ได้ ซึ่งภายหลัง
จะมีสิ่งมีชีวิตจาก หินเป็น ไปอาศัยอยู่และกลายเป็น ทรายเป็น ในที่สุด ซึ่งปกติแล้วเราจะปู
ทรายค่อนข้างหนา ( โดยเฉลี่ย 4 นิ้ว ) เนื่องจากต้องการให้บริเวณล่างๆของพื้นทรายนั้น
เป็นส่วนที่ไม่มีอ๊อกซิเจนและจะเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียชนิดที่ไม่ใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งจะมีประโยชน์
ในระบบการย่อยสลายของเสียภายในตู้ ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป สำหรับข้อเสียบางอย่าง
ที่เกิดขึ้นคือ จะเกิดคราบดำๆที่ทรายเมื่อตู้มีอายุ ซึ่งจะทำให้ดูไม่สวยงาม

8.การลงปลาและสิ่งมีชีวิต
          หลังจากที่เราเซตตู้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการลงปลา ซึ่งสำหรับการลงปลา
นั้น เราไม่ควรที่จะลงปลาทีละมากๆ เนื่องจากระบบยังรองรับของเสียได้ไม่ทัน ดังนั้นเราจึง
ต้องค่อยๆลงปลาทีละ 1-2 ตัวเท่านั้น เพื่อที่แบคทีเรียจะได้สามารถกำจัดของเสียที่เกิดขึ้น
ได้ทันและแบคทีเรียจะทำการเพิ่มปรืมาณมากขึ้น ซึ่งระยะห่างในการลงปลาแต่ละครั้ง
ควรจะเว้นไว้อย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ สำหรับปลาบางชนิดจะสามารถเลี้ยงได้ในตู้ที่มีอายุ
นานแล้วเท่านั้น ( 3-6 เดือน ) เช่นปลาตระกูลแทงค์ เนื่องจากปลาเหล่านี้เป็นปลาที่ขับถ่าย
ของเสียปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องเลี้ยงภายในตู้ที่ค่อนข้างเสถียรแล้ว
      สำหรับขั้นตอนการลงปลา ไม่ใช่เพียงซื้อปลามาแล้วเทจากถุงใส่ตู้ทันที เนื่องจากปลาอาจ
เกิดการช๊อคน้ำได้ และอาจตายได้ในเวลาต่อมา เราจึงต้องทำการปรับอุณหภูมิและปรับความ
เค็มก่อน ซึ่งการปรับอุณหภูมิทำได้โดยการลอยถุงปลาไว้ที่ผิวน้ำในตู้ก่อนปล่อยลงตู้เป็นเวลา
20-60 นาที ส่วนการปรับความเค็มนั้นทำได้โดยการค่อยๆผสมน้ำในตู้ของเรากับน้ำที่มาจาก
ร้าน ซึ่งอาจจะทำในภาชนะอื่นก็ได้และจะเป็นการปรับอุณหภูมิไปด้วยภายในตัว สำหรับตู้ที่
ทำการเลี้ยงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอาจต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของน้ำที่มากับร้าน
เนื่องจากน้ำจากบางร้านอาจจะไม่มีคุณภาพหรืออาจใส่ยาที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ไม่มีกระดูก
สันหลังภายในตู้ของเรา และเพื่อลดความเครียดของปลาอาจปล่อยปลาในขณะที่ปิดไฟตู้
และยังไม่ต้องให้อาหาร เนื่องจากปลายังต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม

9.การเลือกสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง
          สิ่งสำคัญในการเลือกชนิดของสิ่งมีชีวิตที่จะนำมาเลี้ยงนั้นคือความเหมาะสมของสภาพ
แวดล้อม ขนาดของตู้ และความเข้ากันได้ของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ การเลี้ยงปลาที่มากเกินไป
นอกจากจะทำให้คุณภาพของน้ำแย่ได้ง่ายแล้ว บางครั้งอาจทำให้ปลาเครียดจากการแย่ง
ที่อยู่ จากการกัดกัน เนื่องด้วยปลาทะเลส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่หวงถิ่นและบางชนิดสามารถเลี้ยงได้
ชนิดละ 1 ตัวเท่านั้นภายในตู้ ดังนั้นเราจึงควรทำการศึกษาถึงลักษณะการใช้ชีวิตและ
รายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของสิ่งมีชิวิตที่เราสนใจจะนำมาเลี้ยง นอกจากนี้อีกสิ่งที่ต้องคำนึง
คือสิ่งมีชีวิตบางชนิดเลี้ยงยากเนื่องจากเงื่อนไขในการดำรงชีวิตหลายๆอย่าง และบางชนิด
อาจเลี้ยงไม่ได้เลยในระบบปิด หรืออาจมีอายุขัยสั้น ซึ่งสิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้อาจจะมีสีสัน
สวยงามสะดุดตา และปะปนไปตามร้านขายปลาทะเล ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องศึกษาและควร
หลีกเลี่ยงที่จะนำสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มาเีลี้ยงเพื่อเป็นการอนุรักษ์สัตว์เหล่านี้ให้อยู่ตามธรรมชาติ
ของมันต่อไป

10.การให้อาหารและแร่ธาตุเสริม
           ปลาทะเลส่วนมากสามารถให้อาหารสำเร็จรูปให้กินได้ ซึ่งมีทั้งแบบเม็ดเล็ก เม็ดใหญ่
แบบแผ่น ต่างกันออกไป แต่ปลาบางชนิดอาจกินเฉพาะอาหารสดเท่านั้น ซึ่งเราสามารถ
ให้ไรทะเลเป็นอาหารไ้ด้ โดยที่ไรทะเลนั้นก็มีทั้งแบบเป็นๆ และแบบแช่แข็ง ซึ่งสำหรับปลา
บางชนิดอาจสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ตามเทคนิคแต่ละคน สำหรับระยะยาวแล้ว
การให้ไรทะเลเป็นอาหารอย่างเดียวอาจให้สารอาหารที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะสลับให้อาหารสด
เช่นกุ้งสับ หอยสับ สาหร่าย ต่างๆกันเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารหรือให้อาหารต่างๆกันไป
ในแต่ละมื้อก็ได้เพราะจะทำให้ปลาไม่เบื่อด้วย สำหรับกรณีที่มีการเลี้ยงปะการังอาจจะัต้อง
มีการใส่แร่ธาตุเสริมด้วยซึ่งแตกต่างกันออกไปตามชนิดของปะการัง ที่นิยมได้แก่ แคลเซียม
สำหรับปะการังโครงแข็ง ,ไอโอดีน และอื่น ๆ

11.อุปกรณ์เสริมต่างๆที่ใช้ในตู้ทะเล
          จาก 10 ข้อที่กล่าวมา ก็สามารถทำให้คุณเลี้ยงปลาทะเลได้อย่างมีความรู้ระดับนึงแล้ว
นอกจากนี้การเลี้ยงปลาทะเลอาจจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมต่างๆอีก เช่น

- น้ำยาสำหรับวัดค่า nitrite ( NO2 ) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากวงจรไนโตรเจนในกระบวนการ
   กำจัดของเสีย ซึ่งมีพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตถ้ามีปริมาณมากจนเกินไป ดังนั้นเราจึงควรมีอุปกรณ์
์   ที่สามารถวัดปริมาณได้
- โปรตีนสกิมเมอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กำจัดสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นภายในตู้โดยใช้ระบบฟอง
   อากาศ ซึ่งรวมถึงการกำจัดเมือกที่เกิดขึ้นจากปะการังบางชนิดด้วย ซึ่งจะทำให้น้ำในตู้
   มีคุณภาพที่ดี ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเหมือนกันในตู้ทะเล ซึ่งเราอาจติดตั้งไว้ในกรองล่างก็ได้
- ปั๊มน้ำ สำหรับเพิ่มกระแสน้ำภายในตู้ เพื่อการหมุนเวียนของน้ำและเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ
   ซึ่งปั๊มน้ำนั้นมีความแรงหลายระดับ เราอาจติดตั้งปั๊มน้ำมากกว่า 1 ตัวในตู้เพื่อเพิ่มกระแสน้ำ
   ภายในตู้ได้โดยเฉพาะตำแหน่งที่กระแสน้ำน้อย ( 800 - 2500 ลิตรต่อชั่วโมง ) ซึ่งกระแสน้ำ
   บางทีก็มีความจำเป็นต่อปะการังบางชนิดที่ต้องการกระแสน้ำที่แรงเป็นพิเศษ
- ปั๊มลมใช้ถ่าน พร้อมหัวทราย เพื่อป้องกันเวลาที่เกิดไฟดับ สามารถใช้เพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ
   ได้แทนปั๊มหลักที่ใช้ภายในตู้

อัพเดทล่าสุด