ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ : ไขมันเสื้อกันหนาวของร่างกาย MUSLIMTHAIPOST

 

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ : ไขมันเสื้อกันหนาวของร่างกาย


3,917 ผู้ชม


ชื่อโครงงาน ไขมันเสื้อกันหนาวของร่างกาย
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน 1.เด็กชายนครินทร์ ศรีสวัสดิ์
2.เด็กชายสาโรจน์ ธนทวีชัยพงศ์
3.เด็กหญิงสุภาพร โอชารส
ที่ปรึกษาโครงงาน 1.คุณครูพรทิพา พันธ์เนตร
2.คุณครูวรนุช บุปผา
3.คุณครูวันทนา นิติสิริ
บทคัดย่อ
โครง งานวิทยาศาสตร์ “เรื่องไขมันเสื้อกันหนาวของร่างกาย” นี้จัดทำขึ้น เพื่อต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสารอาหารประเภทไขมัน ที่มีความสำคัญต่อร่างกายคือสามารถสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายนั้นได้อย่างไร ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า โดยการนำไขมันที่ได้จากพืช คือ น้ำมันมะพร้าว และไขมันที่ได้จากสัตว์ คือน้ำมันหมู มาทำการทดลองเปรียบเทียบ โดยให้ไขมันทั้งสองสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำลงจะเกิดผลอย่างไร ผลจากการทดลองพบว่า เมื่อนำไขมันทั้ง 2 ชนิดไปวางในอ่างน้ำพลาสติกที่ใส่น้ำแข็ง อุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ที่อยู่ในถ้วยแก้วที่มีไขมันทั้ง 2ชนิด จะสูงกว่าถ้วยแก้วที่ไม่มีไขมัน ซึ่งทำให้เราทราบว่าไขมันสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายได้ เปรียบเสมือน เป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อนเมื่ออุณหภูมิลดลง

คำขอบคุณ
การ ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ “เรื่องไขมันเสื้อกันหนาวของร่างกาย”คณะผู้จัดทำได้ตั้งใจศึกษาค้นคว้าเพื่อ ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของไขมันให้มากขึ้น พวกเราได้รับการสนับสนุนจาก คุณครูพรทิพา พันธ์เนตร คุณครูวรนุช บุปผา คุณครูวันทนา นิติสิริ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้พวกเรา จนทำให้โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จึงใคร่ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
คณะผู้จัดทำ

สารบัญเรื่อง
เนื้อเรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
คำขอบคุณ ข
สารบัญเรื่อง ค
บทที่ 1 บทนำ 1
แนวคิดที่มาและความสำคัญ 1
จุดมุ่งหมายของการศึกษา 1
สมมุติฐาน 2
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า 2
ตัวแปรที่ศึกษา 2
นิยามเชิงปฏิบัติการ 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3
สารอาหาร ไขมัน 3
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า 4
สถานที่ทำการศึกษา 4
วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา 4
วิธีการศึกษา 5
บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า 6
ตารางแสดงผลการทดลอง 6
บทที่ 5 การอภิปรายผลและสรุปผล 8
อภิปรายผลการทดลอง 8
สรุปผลการทดลอง 8
ประโยชน์ของโครงงาน 8
ข้อเสนอแนะ 9
เอกสารอ้างอิง 10
ภาคผนวก
1
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
จาก การที่พวกเรา ได้เรียนเรื่องอาหารและสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อสุขภาพร่างกายเรามาก เรื่องหนึ่ง เพราะอาหารต่างๆ ที่เรารับประทานนั้น มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเราอยู่ถึง 6 ประเภทด้วยกัน คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และ น้ำ สารอาหารเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ร่างกายมีพลังงาน และความอบอุ่น ช่วยทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำงานได้เป็นปกติ และช่วยให้ร่างกายมีความต้านทานโรค
จากความสำคัญของสารอาหารที่กล่าวมา แล้วนั้น ไขมันเป็นสารอาหารที่น่าสนใจประเภทหนึ่ง ที่ทำให้พวกเราอยากทราบว่า ไขมันที่อยู่ในร่างกายสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายอย่างไร พวกเราจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมา เพื่อศึกษาค้นคว้าและทำการทดลอง
จุดมุ่งหมายการศึกษา
1. เพื่อศึกษาความสำคัญของสารอาหารประเภทไขมัน
2. เพื่อทดลองว่าไขมันให้ประโยชน์ด้านความอบอุ่นแก่ร่างกายได้อย่างไร
2
สมมุติฐาน
เมื่อนำถ้วยแก้วที่มีไขมันและถ้วยแก้วที่ไม่มีไขมันวางลงในอ่างพลาสติก
ที่ใส่น้ำแข็งแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป อุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ที่อยู่ในถ้วยแก้ว ที่มีไขมันจะสูงกว่าถ้วยแก้วที่ไม่มีไขมัน
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ศึกษาไขมันจากพืช คือ น้ำมันมะพร้าว
ศึกษาไขมันจากสัตว์ คือ น้ำมันหมู
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ถ้วยแก้วใส่น้ำมันมะพร้าว ถ้วยแก้วใส่น้ำมันหมู ถ้วยแก้วเปล่า
ตัวแปรตาม อุณหภูมิของไขมันเมื่อเพิ่มความเย็น
ตัวแปรควบคุม เวลา อุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์(ก่อนทดลอง)
นิยามเชิงปฏิบัติการ
ฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อน หมายถึง การให้ความร้อนผ่านออกไปได้น้อย
3
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สารอาหาร คือ สารที่จำเป็นต่อสำหรับร่างกาย มีอยู่ในอาหารต่างๆที่เรารับประทาน มี 6 ประเภทได้แก่
โปรตีน มีมากใน นม เนื้อสัตว์ต่างๆ ปลา ไข่ ถั่ว
คาร์โบไฮเดรต มีมากใน ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือกมัน
ไขมัน มีมากใน ไขมันสัตว์ น้ำมันพืชชนิดต่างๆ
วิตามิน มีมากใน ผลไม้ต่างๆ
เกลือแร่ มีมากใน ผักใบเขียว และพืชผักอื่นๆ
น้ำ ได้จาก น้ำดื่มและผลไม้ต่างๆ
ไขมัน เป็นสารอินทรีย์กลุ่มหนึ่งที่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในอาหารจัดเป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย คือให้พลังงานและความอบอุ่น ช่วยละลายวิตามินเอ และ ดี เพื่อให้ร่างกายดูดซึมวิตามินเหล่านี้ไปใช้ได้
ไขมันในอาหารช่วยให้ อาหารมีกลิ่นดี รสอร่อย อาหารที่มีไขมันต่ำจะแห้งไม่น่ารับประทาน เมื่อเรารับประทานอาหารพวกไขมันจะทำให้อิ่มนานกว่าอาหารประเภทอื่น เพราะร่างการย่อยไขมันได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต อาหารที่มีไขมัน คือไขมันจากสัตว์ ได้แก่ มันหมู มันไก่ มันวัว มันปลา มันกุ้ง เนย นม ไข่แดงไขมันจากพืช ได้แก่ ไขมันที่อยู่ในมะพร้าว ถั่ว งา รำ ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน
ถ้าไม่มีไขมันเวลาเราเคลื่อนไหวทำอะไรก็คงจะเจ็บเพราะ อวัยวะภายในจะกระทบกระแทกกันเองฉะนั้น ไขมันจะทำหน้าที่เหมือนเป็นกันชนที่ใช้ป้องกันการกระทบกระแทกกัน นอกจากนี้ไขมันยังทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกาย และเป็นเสมือนเสื้อกันหนาวให้กับร่างกายของเราในเวลาที่อากาศเย็นๆ ซึ่งเราจะสังเกตได้อีกอย่างหนึ่งว่าคนผอมจะขี้หนาวมากกว่าคนอ้วนเพราะคนผอม มีไขมันในร่างกายน้อยกว่าคนอ้วน
4
บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
สถานที่ดำเนินการศึกษา
ห้อง ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดท่าช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 72120
วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
วัสดุเครื่องมือ
1.ถ้วยแก้ว 4 ใบ
2.อ่างน้ำพลาสติก 1 ใบ
3.เทอร์โมมิเตอร์ 4 อัน
4.แผ่นฟิวเจอร์ขนาด 9 / 9 4 แผ่น
5.นาฬิกาใช้จับเวลา
วัสดุที่ใช้ในการทดลอง
น้ำมันมะพร้าว
น้ำมันหมู
น้ำแข็ง
5
วิธีดำเนินการศึกษา
การทดลองที่ 1
1.นำน้ำมันมะพร้าวใส่ในถ้วยแก้วใบที่ 1 ประมาณ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ส่วนอีกใบหนึ่งไม่ต้องใส่น้ำมันมะพร้าว(แก้วเปล่า)
2.เจาะ รูแผ่นฟิวเจอร์ตรงกลางให้มีขนาดพอที่จะสอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปได้แล้วสอด เทอร์โมมิเตอร์เข้าไปอ่านอุณหภูมิเทอร์โมมิเตอร์ดูให้เทอร์โมมิเตอร์มี อุณหภูมิเท่ากัน
3.นำแผ่นฟิวเจอร์ตามข้อ 2 วางปิดบนปากถ้วยแก้ว ทั้ง 2 ใบ จัดเทอร์โมมิเตอร์ให้ตรงและอย่าให้กระเปาะติดด้านใดด้านหนึ่งของถ้วยแก้ว ตั้งทิ้งไว้สักครู่หนึ่งอ่านและบันทึกอุณหภูมิ
4.นำน้ำแข็งใส่ในอ่างพลาสติก
5.นำถ้วยแก้วทั้ง 2 ใบ วางในอ่างพลาสติกที่ใส่น้ำแข็ง ให้แก้วล้อมรอบด้วยน้ำแข็ง แล้วจับเวลา
6.อ่านอุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์ที่ใส่ไว้ในถ้วยแก้วทั้ง 2 ใบทุก 5 นาที บันทึกผลลงในแบบบันทึกผล
การทดลองที่ 2
1.ทำการทดลองเหมือน การทดลองที่ 1 แต่เปลี่ยนจากน้ำมันมะพร้าวมาเป็นน้ำมันหมู
2.แล้วบันทึกผลการทดลองลงในแบบบันทึกผล
ทำการทดลองเหมือนการทดลองที่ 1 และการทดลองที่ 2 อีก 1 ครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
6
บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า
ในการดำเนินการศึกษาโครงงานนี้ ได้แบ่งการทดลองเป็น 2 ตอน คือ
การทดลองที่ 1 ทดลองเปรียบเทียบอุณหภูมิในถ้วยแก้วที่ใส่ไขมันพืชจากน้ำมันมะพร้าว กับถ้วยที่ไม่มีไขมัน
การทดลองที่ 2 ทดลองเปรียบเทียบอุณหภูมิในถ้วยแก้วที่ใส่ไขมันสัตว์จากน้ำมันหมู กับถ้วยแก้วที่ไม่มีไขมัน
ได้ผลจากตารางบันทึกผลดังนี้
บันทึกผลการทดลองที่ 1
แสดงผลอุณหภูมิของน้ำมันมะพร้าว
เวลา อุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ในถ้วยแก้วที่ใส่น้ำมันมะพร้าว อุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ในถ้วยแก้วที่ไม่ใส่น้ำมันมะพร้าว
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
ก่อนวางในน้ำแข็ง 30 30 30 30
5 นาที 25 26 19 20
10 นาที 22 23 10 11
15 นาที 22 21 10 10
จาก ตารางบันทึกผลพบว่าการทดลองทั้ง 2 ครั้ง คือเมื่อวางถ้วยแก้วทั้ง 2 ใบลงในอ่างน้ำแข็งเมื่อเวลาผ่านไปอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ในถ้วยแก้วที่ ใส่น้ำมันมะพร้าวจะสูงกว่าอุณหภูมิในถ้วยแก้วที่ไม่มีน้ำมันมะพร้าว และได้ผล เช่นเดียวกันทั้ง 2 ครั้ง
7
บันทึกผลการทดลองที่ 2
แสดงผลอุณหภูมิของน้ำมันหมู
เวลา อุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ในถ้วยแก้ว ที่ใส่
น้ำมันหมู อุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ในถ้วยแก้วที่ไม่ใส่
น้ำมันหมู
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
ก่อนวางในน้ำแข็ง 30 31 30 31
5 นาที 27 26 19 20
10 นาที 23 24 13 15
15 นาที 22 21 11 12
จาก ตารางบันทึกผลพบว่าการทดลองทั้ง 2 ครั้ง คือเมื่อวางถ้วยแก้วทั้ง 2 ใบลงในอ่างน้ำแข็งเมื่อเวลาผ่านไปอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ในถ้วยแก้วที่ ใส่น้ำมันหมูจะสูงกว่าอุณหภูมิในถ้วยแก้วที่ไม่มีน้ำมันหมู และได้ผล เช่นเดียวกันทั้ง 2 ครั้ง
8
บทที่ 5
การอภิปรายผลและสรุป
อภิปรายผลการทดลอง
ผล การทดลองเมื่อวางถ้วยแก้วทั้ง 2 ใบลงในอ่างพลาสติกที่ใส่น้ำแข็ง (ความเย็น) เมื่อเวลาผ่านไป อุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ที่อยู่ในถ้วยแก้วที่มีไขมันมะพร้าว และถ้วยแก้วที่มีไขมันหมู จะสูงกว่าถ้วยแก้วที่ไม่มีไขมันผล เหมือนกันทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่าไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อนได้
สรุปผลการทดลอง
ไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อน และเป็นเสมือนเสื้อกันหนาวให้กับร่างกายได้ คือสามรถทำให้ร่างกายอบอุ่นได้
ประโยชน์ของโครงงาน
1.นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าไปใช้ประโยชน์ในด้านการรับประทานอาหารอย่างฉลาดเพื่อสุขภาพร่างกายของเรา
2.มีความรู้ที่จะเลือกรับประทานอาหารประเภทไขมันได้อย่างถูกวิธี
9
ข้อเสนอแนะ
เราสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเรา เพื่อให้มีสุขภาพดีได้ คือ
เรา เลือกรับประทานอย่างได้สัดส่วนที่เหมาะสมโดยไม่กินมากจนเกินไป ซึ่งอาจพิจารณาได้ดังต่อไปนี้คือ เราทราบแล้วว่าอาหารที่ให้พลังงานมีอยู่ 3 ชนิด คือไขมันโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตวันหนึ่งๆเราควรได้รับพลังงานจาก
ไขมัน ประมาณ 25-30 %
โปรตีน ประมาณ 15-20 %
คาร์โบไฮเดรต ประมาณ 50-60 %
ถ้าเราใช้พลังงานวันละ 1,800 แคลอรี่ พลังงานจากไขมัน 30% ของ 1,800แคลอรี่ ก็คือ 540 แคลอรี่ ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 แคลอรี่
ดังนั้นเราควรได้รับไขมันจากอาหารไม่เกิน 60 กรัมต่อวัน และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่าหักโหมจนเกินไป
10
เอกสารอ้างอิง
ผศ.ปรียา นพคุณ. คู่มือวิทยาศาสตร์ ป.5 ป. 6 หน้าที่ 77-82. สำนัพิมพ์แม็ค.
กรุงเทพมหานคร, ธันวาคม 2539
วินัย ดำสุวรรณ. สารานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์. หน้าที่11-12. สำนักพิมพ์แม็ค
กรุงเทพมหานคร, พฤศจิกายน 2539
สิรินทร์ ช่วงโชติ และคณะ. สารานุกรมภาพวิทยาศาสตร์ เล่ม 2 หน้าที่ 15-16
คุรุสภา. กรุงเทพมหานคร, 2542
https: // mail. Cm. edu /- u 4301263 /grossy. Html

อัพเดทล่าสุด