https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เลิกบุหรี่ ด้วย 12 ขั้นบันไดเลิกสูบบุหรี่ MUSLIMTHAIPOST

 

เลิกบุหรี่ ด้วย 12 ขั้นบันไดเลิกสูบบุหรี่


991 ผู้ชม


12 ขั้นบันไดเลิกสูบบุหรี่

ห้ามสูบบุหรี่




           ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ขานรับ 12 ขั้นบันไดของการเลิกสูบบุหรี่ที่เสนอโดย ดร.โธมัส กลินน์ จากสมาคมต่อต้านมะเร็ง สหรัฐอเมริกา ในที่ประชุมเครือข่ายบริการช่วยคนให้เลิกสูบบุหรี่ระดับโลก ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า การพยายามช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ต้องผ่านขั้นตอนระดับต่างๆ ที่อาจจัดได้ถึง 12 ระดับด้วยกัน
เริ่มตั้งแต่
           1. การที่ผู้สูบบุหรี่เริ่มคิดที่เลิกสูบ 
           2. บันทึกเหตุจูงใจที่จะเลิก 
           3. คิดถึงการกำหนดวันที่จะเลิก 
           4. กำหนดวันที่จะเลิก 
           5. ยังไม่เลิกแต่สูบน้อยลง 
           6. เลิกสูบได้ไม่กี่ชั่วโมง 
           7. เลิกสูบได้ 1 วัน 
           8. เปลี่ยนจากการสูบทุกวันเป็นสูบเป็นครั้งคราว 
           9. เลิกได้ 1 อาทิตย์ 
           10. เลิกได้ 1 เดือน 
           11. เลิกได้ 1 ปี และ 
           12. เลิกได้ 5 ปี
           ดังนั้น การช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ หากสามารถขยับผู้สูบบุหรี่ไปสู่ระดับที่สูงขึ้นในแต่ละขั้น ก็ควรจะถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว และจะทำให้การช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ก้าวสู่บันไดขั้นที่สูงขึ้นเป็นไปได้ง่าย ขึ้น จนถึงขั้นสุดท้ายคือการเลิกสูบอย่างถาวร ผู้ที่จะช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ รวมทั้งผู้ที่พยายามเลิกสูบบุหรี่เองจึงต้องพยายามไต่บันไดขึ้นไปทีละขั้น และแม้ยังเลิกไม่ได้เด็ดขาดก็ไม่ควรที่จะท้อถอยที่จะพยายามต่อไปจนเลิกได้ สำเร็จ
           ทั้งนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ระดับโลกของคนไทยต้นปีนี้ พบว่าในจำนวนคนไทย 12 ล้านคนที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 60 คิดที่จะเลิกและในจำนวนคนที่คิดจะเลิก ครึ่งหนึ่งได้พยายามลงมือเลิกสูบใน 12 เดือนก่อนการสำรวจ ทั้งนี้ มีคนไทยเลิกสูบบุหรี่ได้แล้ว 4.6 ล้านคน และ 9 ใน 10 เลิกได้ด้วยตนเอง ผู้สูบบุหรี่ทุกคนจึงควรลงมือเลิกและพยายามต่อไปจนสำเร็จ หากต้องการข้อมูลหรือความช่วยเหลือ สามารถติดต่อหมายเลข 1600 สายด่วนช่วยคนเลิกบุหรี่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มติชน
คอลัมน์ : ส่องโรค ไขสุขภาพ

อัพเดทล่าสุด