https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ฟันเก ฟันห่าง ฟันบิ่น การเลี้ยงลูก ฟันลูกสวย แม่ช่วยได้ MUSLIMTHAIPOST

 

ฟันเก ฟันห่าง ฟันบิ่น การเลี้ยงลูก ฟันลูกสวย แม่ช่วยได้


1,364 ผู้ชม



ฟันลูกสวย แม่ช่วยได้

การเลี้ยงลูก
 



คอลัมน์ คุยกับหมอฟันมหิดล
โดย : ผศ.ภัทราวดี ลีลาทวีวุฒิ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
          หนึ่งในความใส่ใจที่คุณแม่มีต่อลูกคือเรื่องของ "สุขภาพฟัน" แต่ทำไมเด็กหลายคนจึงมีฟันไม่สวย ก่อนจะนึกถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้ฟันของลูกไม่สวย คุณแม่ต้องไม่ลืมถามตัวเองก่อน เพราะแม่คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพฟันของลูกเป็นอย่างยิ่ง 
           ลูกฟันดี สร้างได้ในครรภ์แม่ ทราบ หรือไม่ว่าฟันน้ำนมของลูกเริ่มสร้างตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ แล้วค่อยๆ เติบโตและเริ่มมีแร่ธาตุมาพอกพูนเมื่ออายุครรภ์ได้ 4 เดือน ไล่เรียงไปแต่ละซี่ แม้ครบอายุครรภ์ การสร้างก็ยังคงดำเนินต่อไปตลอดวัยทารกจนได้เคลือบฟันน้ำนมที่เสร็จสมบูรณ์
          โดยคุณแม่สามารถช่วยให้ ลูกมีสุขภาพฟันที่ดีได้ ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างให้กระบวนการสร้าง ฟันเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ อันได้แก่ อาหารหลัก 5 หมู่ โดยต้องไม่ลืม นม ไข่ ผักสด และผลไม้ ซึ่งให้สารอาหารจำพวกโฟเลต แคลเซียม สังกะสี และไวตามินต่างๆ รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะสุขภาพของแม่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกและอาจส่งผลถึงการ สร้างฟันอีกด้วย
          การใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ คุณ แม่ควรรับประทานยาในความดูแลของแพทย์เท่านั้น และต้องระวังยาในกลุ่มเตตร้าไซคลีน ซึ่งมีผลทำให้ฟันของลูกมีสีด่างดำได้ อีกทั้งยาบางชนิดยังมีอันตรายต่อการสร้างอวัยวะของลูกในครรภ์
          สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ระหว่าง ตั้งครรภ์ คุณแม่ ควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องปาก เพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง มักจะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบง่ายกว่าปกติ นอกจากนั้น การอาเจียน การรับประทานบ่อยขึ้น ทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อโรคฟันผุและฟันกร่อนมากขึ้นด้วย คุณแม่จึงควรรักษาอนามัยช่องปาก และบ้วนน้ำมากๆ ทุกครั้งหลังอาเจียน
           การรักษาโรคฟันผุในคุณแม่ตั้งครรภ์ และการใช้ ฟลูออไรด์ชนิดบ้วนปาก หรือเคลือบด้วยเจลโดยทันตแพทย์ ส่งผลดีต่อลูก เพราะช่วยลดโอกาสที่ลูกจะรับถ่ายทอดเชื้อก่อโรคฟันผุจากแม่ ในขณะที่การละเลยไม่ไปรับ การรักษาโรคในช่องปาก ส่งผลเสียแก่ลูกน้อยในครรภ์หลายประการ
          ระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถรับการรักษาทางทันตกรรมได้อย่างปลอดภัย และควรพบทันตแพทย์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อตรวจรักษา และป้องกันโรค อาจเพียงรับการขูดหินปูนและขัดฟัน เพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ และติดตามต่ออีกครั้งในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ แต่หากต้องมีการรักษาอื่นๆ หรือการรักษาที่ยุ่งยาก ทันตแพทย์จะวางแผนทำการรักษาในช่วงที่ครรภ์แข็งแรง และคุณแม่นั่งหรือนอนทำฟันได้สบายขึ้น คือช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน 
           สิ่งที่คุณแม่ควรระมัดระวังอีกประการหนึ่งคือ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อ จะได้หลีกเลี่ยง หรือระมัดระวังยิ่งขึ้นในการถ่ายภาพรังสี (เอกซเรย์) หรือการใช้ยาบางชนิด เนื่องจากมีรายงานว่าโรคปริทันต์ในแม่ที่ตั้งครรภ์ สัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด และการมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยของทารก
          การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นั้นมีประโยชน์สูงสุด เพราะคุณค่าสารอาหารและภูมิคุ้มกันในนมแม่ ทำให้เด็กแข็งแรง เมื่อลูกเริ่มมีฟันขึ้น (อายุประมาณ 6 เดือน) โดยปฏิบัติตามวิธีการ ดังนี้

          1. ให้นมเป็นเวลา ตามมื้อ

          2. ป้อนน้ำสะอาด 1-2 ช้อนชาหลังจากให้นมลูกทุกครั้ง

          3. อย่าให้ลูกดูดนมจนหลับคาปาก ไม่ได้เช็ดหรือแปรงฟัน

          4. หลีกเลี่ยงการใช้ขวดนม

          5. ทำความสะอาดฟันทุกวัน เช้า เย็น หากจำเป็นต้องใช้นมผสม

          6. ไม่ควรใช้นมรสหวาน หรือเติมน้ำผึ้ง น้ำตาลในนม

          7. ไม่ใส่น้ำผลไม้หรือน้ำหวานอื่นใดในขวดนม

          8. ฝึกลูกให้ใช้แก้ว หรือหลอดตามพัฒนาการ เพื่อเลิกใช้ขวดนมเมื่ออายุประมาณ 18 เดือน

          9. ให้น้ำตามทุกครั้ง
          ปฏิบัติได้ตามนี้ รับรองว่าฟันลูกสวยได้เพราะคุณแม่ช่วยจริงๆ ค่ะ (หน้าพิเศษ Hospital Healthcare)
          
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

อัพเดทล่าสุด