https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคซาง รู้จัก โรคซาง ในเด็ก เด็กแรกเกิดจะเป็นกัน MUSLIMTHAIPOST

 

โรคซาง รู้จัก โรคซาง ในเด็ก เด็กแรกเกิดจะเป็นกัน


690 ผู้ชม


รู้จัก โรคซาง ในเด็ก

การเลี้ยงเด็ก




          เด็กเล็กๆ ที่กินน้อย ไม่ยอมกินทั้งที่ไม่ได้เจ็บป่วยเป็นโรคอะไร ผู้ใหญ่สมัยก่อนให้เหตุผลว่าเป็นซาง ซึ่งทุกวันนี้ แม่สมัยใหม่อาจพอรู้จักได้ยินมาบ้าง แต่ส่วนที่สงสัยกับเรื่องนี้ก็มีเช่นกัน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องกับอาการดังกล่าวที่ว่าเรามาดูข้อมูลเรื่องนี้ค่ะ
           ข้อเท็จจริง

          เป็นภาวะขาดสารอาหาร เช่น โปรตีนหรือพลังงานทำให้เด็กมีร่างกายผอม กล้ามเนื้อลีบ ไขมันน้อยกว่าเด็กทั่วไปเมื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการขาดสารอาหาร หรือที่มาของการเรียกว่าซางในเด็กเล็กนั้นมาจากปัจจัยต่อไปนี้
           ความรู้ ความเข้าใจในการเลี้ยงดู เช่น ลูกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอตลอดระยะเวลา 6 เดือนแรก
           การให้นมผสมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมกับลูก เช่น วิธีการผสม, ปริมาณการให้นม และชนิดของนมผสม
           การเริ่มต้นอาหารเสริมที่ช้าหรือเร็วเกินไป

           การเลี้ยงดูไม่เหมาะสม เช่น ตามใจให้เด็กกินอาหารจุบจิบที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้อิ่มไม่อยากกินอาหารมื้อหลัก
           ภาวะเจ็บป่วยที่ทำให้ได้รับอาหารน้อยลง ซึ่งอาจเกิดจากการเบื่ออาหาร หรือการดูดซึมและการย่อยอหารบกพร่อง                                      
          ปัจจุบันปัญหาการขาดสารอาหารในเด็กเล็ก พบได้ไม่บ่อยเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากความรู้และความเข้าใจของพ่อแม่เกี่ยวกับวิถีการกินของลูกมีมากขึ้น นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ภาวการณ์ขาดสารอาหารยังเป็นอันตราย ส่งผลต่อตัวเด็กในเรื่องสุขภาพ เช่น ระบบการขับถ่าย ระบบทางเดินหายใจ หากอยู่ในขั้นรุนแรง
           การดูแลที่เหมาะสม
          ช่วง 6 เดือนแรก ลูกได้รับนมแม่สารอาหารที่ดีและสมบูรณ์ที่สุด แต่เมื่อลูกเติบโตขึ้นมีการใช้พลังงานไปกับกิจกรรมในแต่ละวัน ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหาร คุณแม่จึงควรดูแลในเรื่องต่อไปนี้
           อาหารเสริม 

           เริ่มต้นให้ทีละน้อยๆ ในลักษณะเนื้อเนียนละเอียดก่อน จนกระทั่งค่อยๆ หยาบขึ้นตามช่วงวัย
           เน้นการให้อาหารที่ครบ 5 หมู่ และมีความหลากหลายชนิดอย่างเหมาะสม
           ไม่ควรฝืนหากลูกไม่ยอมกิน เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับการกิน
           สร้างนิสัยการกินที่ดี 
          ไม่ควรให้ลูกกินนมหรือขนมก่อนมื้ออาหารหลัก เพราะทำให้อิ่มได้ง่าย
          ฝึกนิสัยการกินที่ดี โดยกินอาหารร่วมกันที่โต๊ะไม่กินไปเล่นไป
           วิตามินเสริมหรือการใช้ยา

          เรื่องการกินวิตามินเสริม แม้ทางการแพทย์ไม่มีข้อห้าม แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของคุณหมอเป็นหลัก โดยเฉพาะการใช้ยากับเด็กเล็ก เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก หากไม่มั่นใจกับเรื่องการกิน สุขภาพของลูก ควรปรึกษาคุณหมอเป็นทางที่ดีกว่าแน่นอนค่ะ
โดย : วิภาวี
อ้างอิงจาก : พญ.พัฏ โรจน์มหามงคล
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.motherandcare.in.th/index.php

อัพเดทล่าสุด