https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภัยร้ายขณะหลับ MUSLIMTHAIPOST

 

โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภัยร้ายขณะหลับ


681 ผู้ชม


ภัยร้ายขณะหลับ


โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภัยร้ายขณะหลับ




          แม้ โรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea : OSA) เป็นความผิดปกติด้านการนอนที่พบมากที่สุดในโลก แต่คนไทยอาจยังไม่คุ้นหูนัก
          ผลวิจัยจากโรค OSA นี้ พบว่า ประชากรทั่วโลก 4% กำลังเผชิญกับโรคนี้อยู่ โดยคนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 2-3 เท่าของคนปกติ แถมมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดในสมองมากกว่าด้วย การศึกษาล่าสุดจัดทำโดยฟิลิปส์ใน 5 ประเทศทั่วโลก พบว่า สถิติแสดงให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของคนไข้คิดว่าโรคนี้มีอาการแค่นอนกรน แท้จริงแล้วการกรนเป็นเพียงหนึ่งปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ในขณะที่เกือบ 2 ใน 3 รู้สึกว่าการกรนเป็นเพียงแค่ความไม่สะดวกสบายเล็กๆ น้อยๆ ไม่จำเป็นต้องจัดการอะไร
          วิธีรักษา เมื่อพบแน่ชัดว่าคนไข้ป่วยด้วย โรคนี้ คุณหมออาจแนะนำให้ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดต่อเนื่อง (Contiunous Positive Airway Pressuew : CPAP) ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องต่อท่อหายใจ ปัจจุบันวิธีนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะเจ้าเครื่องนี้เป็นเครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่องจะปล่อยแรง ดันลมแบบเบาผ่านหน้ากากสู่จมูกเพื่อป้องกันการตีบของทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้เต็มที่ขณะนอนหลับ
          "ผู้ป่วยที่เป็นโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการ อุดกั้นจะตื่นขึ้นมาเพื่อหายใจบ่อยครั้งในระหว่างนอนหลับ ทำให้ไม่สามารถมีเวลานอนหลับได้อย่างเพียงพอ บางกรณีผู้ป่วยตื่นขึ้นมา 30 นาทีใน 1 ชั่วโมง เนื่องจากหยุดหายใจชั่วคราว CPAP จะช่วยเพิ่มพลังงาน ลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเส้นโลหิตในสมองและโรคหัวใจวาย" ศาสตราจารย์ น.พ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ หัวหน้าภาควิชา โสต ศอ นาสิก วิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกล่าว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.matichon.co.th

อัพเดทล่าสุด