https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สุขภาพ เคร็ดลับดูแลสุขภาพ กินยาให้ถูกโรค MUSLIMTHAIPOST

 

สุขภาพ เคร็ดลับดูแลสุขภาพ กินยาให้ถูกโรค


631 ผู้ชม



กินยาให้ถูกโรค

กินยาให้ถูกโรค แอสไพริน
 


         ยังมีคนไทยอีกหลายคน ไม่แน่ใจว่าเวลาเจ็บป่วยหรือปวดตามร่างกายควรจะเลือกกินยาอะไร ระหว่าง พาราเซตามอล แอสไพริน ความรู้เรื่องนี้ของคนไทยก็ไม่ต่างจากคนอังกฤษ

         จากงานวิจัยชิ้นล่าสุดของประเทศอังกฤษ ได้ข้อสรุปที่น่าประหลาดใจว่า 1 ใน 3 ของคนอังกฤษไม่รู้ถึงความแตกต่างของ ยาแก้ปวด แต่ละชนิด เวลาไปซื้อยาที่ร้านหมอ คนอังกฤษก็มักจะเรียกหายาที่ต้องการจากชื่อยี่ห้อ โดยไม่รู้ว่ามีตัวยาอะไรอยู่ในยานั้นบ้าง
         ยาแก้ปวดที่เราคุ้นชื่อกันดีและหาซื้อได้ตามร้านขายยานั้น ส่วนใหญ่เป็นยา "สูตรเดี่ยว" ชื่อเราค่อนข้างคุ้นหูมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล
         ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า หาก ต้องกินยาแก้ปวดให้เลือกกินพาราเซตามอล หรืออะเซตามินโนเฟน (Acetaminophen) เพราะมีสรรพคุณแก้ปวดลดไข้ ไม่กัดกระเพาะ เหมือนยาแก้ปวดทั่วไป และมีผลข้างเคียงน้อย แต่ก็ไม่ควรกินต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน เพราะหากกินเกินปริมาณมากและติดต่อกันนานๆ จะมีผลต่อตับและไต
         แอสไพรินถือเป็นยาแก้ปวดตำรับเก่าแก่ที่สุดและราคาไม่แพง มีสรรพคุณแตกต่างจากพาราเซตามอลตรงที่แก้ปวดและลดการอักเสบ
         งานวิจัยหลายชิ้นแนะนำให้กินยาแอสไพรินวันละเม็ด เพื่อช่วยให้หลอดเลือดหัวใจไม่แข็งตัว แต่การกินยาแอสไพรินมากเกินไป ก็อาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและไตวายได้
         อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระมัดระวังก่อนกินยาก็คือ ยาทุกชนิดมีผลข้างเคียงมากน้อยต่างกัน หากกินผิดขนาด (กินมากหรือน้อยเกิน) หรือผิดประเภท เพราะนอกจากไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้ป่วยหนักขึ้นไปอีกก็ได้ และยิ่งช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว พากันเป็นหวัดไปตามกัน
         พอเป็นแล้วก็มักจะหันหน้าเข้าพึ่งยาแก้หวัดกันอย่างอัตโนมัติ โดยเฉพาะยาแก้หวัดบรรจุแผงหลายยี่ห้อที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดหรือร้านหมอตี๋ ทั่วไป เนื่องจากมีคุณสมบัติครอบจักรวาล ทั้งบรรเทาอาการ ปวดหัว ลดไข้ คัดจมูก ลดน้ำมูก ลดเสมหะ เจ็บคอ ฯลฯ
         ยาประเภทนี้มีส่วนผสมของฟีนิลโปรปาโนลามีน (Phenylpropanolamine) หรือพีพีเอ ที่เชื่อว่าอาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้ยาเกิดภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) เมื่อ 5 ปีก่อนยาแก้หวัดเหล่านี้ จึงถูกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประกาศสั่งถอนออกจากท้องตลาด
         อย.แนะนำว่า ถ้าเป็นหวัดควรเลือกกินยาเดี่ยว นอกจากจะถูกกว่าแล้ว ยังไม่ต้องรับผลข้างเคียงจากยาโดยไม่จำเป็น เป็นต้นว่า เมื่อมีไข้ ไม่มีน้ำมูก ให้กินพาราเซตามอล ซึ่งใช้แก้ไข้ปวด หากคัดจมูก จึงค่อยกินยาแอนตี้ฮิสทามิน เช่น คลอร์เฟนิรามีน เพราะตัวยานี้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม ดังนั้น หากมีไข้อย่างเดียว ไม่ต้องกินให้ง่วงกันไปเปล่าๆ
         ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ถ้าไม่หนักหนาอะไรก็นอนพักผ่อนแทน ดีกว่ากินยาแก้ปวดแบบพร่ำเพรื่อนะคะ...

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

อัพเดทล่าสุด