https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ฉะเชิงเทรา : ล่องเรือชมโลมาปากอ่าวบางปะกง MUSLIMTHAIPOST

 

ฉะเชิงเทรา : ล่องเรือชมโลมาปากอ่าวบางปะกง


803 ผู้ชม


ฉะเชิงเทรา : ล่องเรือชมโลมาปากอ่าวบางปะกง

บริเวณตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง ปลาโลมาจากอ่าวไทยจะตามแหล่งอาหารเข้ามาหากิน เนื่องจากในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคมของทุกปี บริเวณนี้จะมีปลาดุกทะเลซึ่งเป็นอาหารโปรดของปลาโลมาเป็นจำนวนมาก  ปลาโลมาจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 60–80 ตัว พร้อมทั้งเข้ามาผสมพันธุ์ และกระโดดขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำพร้อมๆ กัน ครั้งละประมาณ 3-4 ตัว พันธุ์ที่พบมากคือ ปลาโลมาอิรวดี (หัวบาตรหลังมีครีบ) โลมาหลังโหนก (โลมาปากขวดหรือปลาโลมาเผือก) ที่มีความสวยงาม
       นอกจากนี้ในเส้นทางล่องเรือยังสามารถแวะขึ้นเกาะนก ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน แหล่งอาศัยของสัตว์และนกนานาชนิด อาทิ นกกาน้ำ นกแสก นกกระยาง นกนางนวล นกกระเต็น ค้างคาวแม่ไก่และลิงแสม เป็นต้น  มีสะพานทางเดินศีกษาธรรมชาติและหอดูนก นอกจากนี้ระหว่างทางล่องเรือยังได้ชมวิถีชีวิตชาวประมง แหล่งเลี้ยงปลากะพงอีกด้วย 
       จุดลงเรือชมปลาโลมามี 2 แห่งคือ ท่าเรือหมู่ 1 ศาลเจ้าแม่ทับทิม โทร. 0 3857 3434 (ใช้เวลาล่องเรือ 2 ชั่วโมง  คนละ 100 บาท หากต้องการเหมาลำราคาประมาณ 1,000 บาท)   และท่าเรือหมู่ 8 บ้านคลองตำหรุ สอบถามข้อมูลได้ที่เทศบาลตำบลท่าข้าม โทร. 0 3857 3411-2 และ 0 3882 8408–9 (ใช้เวลาล่องเรือ 2 ชั่วโมง  คนละ 100 บาท เหมาลำราคาประมาณ 500-2,000 บาท) ควรไปชมช่วงเช้าก่อนเที่ยงหรือช่วงเย็น หรือติดต่อ โลมา รีสอร์ท โทร. 0 3857 4318, 08 1313 3870, 08 1762 9611 (มีเรือขนาด 20-80 ที่นั่ง คนละ 150 บาท )

การเดินทาง
1.ใช้เส้นทางถนนบางนา – ตราด ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง เลยโรงไฟฟ้าบางปะกงแล้วกลับรถ (ระหว่างกิโลเมตรที่ 50 – 53) จะเห็นป้ายบอกทางไปชมปลาโลมาเป็นระยะ
2. เส้นทางถนนสุวินทวงศ์ จากกรุงเทพ ฯ มาจังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนเข้าตัวเมืองเลี้ยวขวาตามถนนฉะเชิงเทรา –
บางปะกง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางที่ 1 ที่สะพานคลองอ้อม
(ควรสอบถามกับท่าเรือที่ติดต่อก่อนเดินทาง)

     การท่องเที่ยวทางน้ำตามเส้นทางเส้นนี้จัดป็นสถานที่ท่องเที่ยวตาม ฤดูกาล  เพราะหัวใจสำคัญของเส้นทาง คือ  การนั่งเรือไปชมปลาโลมา บริเวณปากอ่าวบางปะกง  ซึ่งจะมาปรากฏตัวเห็นเฉพาะ เดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์  เท่านั้น  ในช่วงเวลาดังกล่าว  โลมาหลายสิบตัวจะมาดำผุดดำว่าย  อวดโฉมให้นักท่องเที่ยวได้ยลกันอย่างเต็มตา  โลมานั้นเป็นสัตว์ทะเลที่หลายคนรู้จัก  แต่มีคนไม่มากนักที่เคยเห็นตัวจริงโดยเฉพาะในสภาพที่พวกมันมีชีวิตอย่าง อิสระตามธรรมชาติ  ในช่วงเวลาดังกล่าวของปีจึงมีนักท่องเที่ยวมากมายเดนทางมาล่องเรือที่นี่ เพื่อจะได้มีโอกาสเห็นโลมาด้วยตาตัวเองสักครั้งซึ่งนับเป็นประสบการณ์พิเศษ ที่น่าจดจำ 

สิ่งที่น่าสนใจในเส้นทาง
1. เกาะนก  เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเกาะเล็กๆ  กลางแม่น้ำบางปะกง  บริเวณปากอ่าว  บนเกาะนี้เต็มไปด้วยป่าชายเลน  เพราะเป็นหนึ่งในโครงการปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติบนเกาะเป็นที่อยู่ของ นกมากมายหลายชนิด เช่น  นกกาน้ำ  นกกระยาง  นกนางนวล  เป็นต้น  จึงเป็นแหล่งดูนกน่าสนใจแหล่งหนึ่ง  บนเกาะไม่มีบนดินให้เดินขึ้น  แต่มีสะพานไม้เดินเข้าไปเส้นทางเป็นวงกลมไม่ใหญ่นัก  คาดว่าในอนาคตจะมีการปรับปรุงเส้นทางให้แข็งแรงและเหมาะสมต่อการท่องเที่ยว ยิ่งขึ้น
2. กระชังเลี้ยงปลากะพงขาว  บริเวณปากอ่าวบางปะกงเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวที่ใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่ง ของประเทศในช่วงเช้าถึงสายๆ ของทุกวัน  เจ้าของกระชังปลาเหล่านี้จะนำปลาขึ้นมาขายที่ท่าเรือเทศบาลตำบลท่าข้าม  ใครอยากได้ปลากระพงขาวสดๆ  ติดมือไปทำกินที่บ้านก็๋ซื้อได้ในราคาขายส่ง
3. โลมา  เมื่อเรือวิ่งถึงบริเวณปากอ่าว คนขับเรือจะเบาเครื่อง  ปล่อยให้เรือลอยลำอยู่นิ่งๆ เพราะเสียงเครื่องเรือจะทำให้โลมาตกใจ  ไม่นานพวกโลมาก็จะโผล่ขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ  บางตัวกระโดดอวดโฉมให้นักท่องเที่ยวได้ชม  มีทั้งฝูงเล็กฝูงใหญ่ว่ากันว่าช่วงฤดูกาลนี้มีโลมาเข้ามาว่ายเวียนอยู่ในปาก อ่าวบางปะกงถึงกว่า 50 ตัว ส่วนใหญ่เป็นพันธุหัวบาตร คือ หัวกลมมน  ไม่มีจะงอยปาก  พวกมันอยู่ได้ทั้งในทะเล  น้ำกร่อย  จนถึงน้ำจืด  สาเหตุที่พวกมันว่ายเข้ามาในบริเวณปากอ่าวในช่วงเวลาดังกล่าวก้เพราะมีแหล่ง อาหารโปรดคือ ปลาดุกทะเลชุกชุมในช่วงนี้

จุดลงเรือ  มีท่าเรือสองแห่งคือ  ท่าเทียบเรือเทสบาลตำบลท่าข้าม อยู่ที่บ้านหัวแหลม  หมู่1 ตำบลท่าข้าม  กับท่าเรือบ้านคลองตำหรู  เรือที่มาให้บริการเป็นเรือประมงขนาดเล็กที่นำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการ ท่องเที่ยว แต่ละลำนั่งได้ 20 คน ติดต่อที่ชมรมอนุรักษ์ท่าข้าม โทร 0 3882 8408-9 , 0 3857 3411- 2

อัพเดทล่าสุด