https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ชัยภูมิ : วัฒนธรรมประเพณี เดือนหก - บุญบั้งไฟ MUSLIMTHAIPOST

 

ชัยภูมิ : วัฒนธรรมประเพณี เดือนหก - บุญบั้งไฟ


658 ผู้ชม


“บุญบั้งไฟ” เป็นที่นิยมทำกันในเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม) เป็นการบูชาพญาแถนและเป็นประเพณีทำบุญขอฝน เพื่อให้ฝนต้องตามฤดูกาล ส่วนมากยังคงปฏิบัติกันอยู่มากเนื่องจากเชื่อกันว่าหากปีใดงดงานบุญบั้งไฟจะทำให้ท้องถิ่นของตนเกิดเภทภัยต่าง ๆ เช่น ฝนแล้ง หากทำบุญดังกล่าวแล้วก็เชื่อว่าฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ทั้งปราศจากโรคภัยอีกด้วย
           
    การทำบุญบั้งไฟเริ่มต้นแต่มีใบฎีกาบอกบุญไปยังหมู่บ้านหรือคุ้มวัดต่าง ๆ แล้วแต่ละคุ้มวัดจะช่วยกันทำบั้งไฟซึ่งต้องใช้ดินปืนเป็นส่วนผสมสำคัญเพื่อเป็นแรงส่งให้บั้งไฟขึ้นไปสู่ท้องฟ้าได้ จากนั้นก็มีการตกแต่งบั้งไฟให้สวยงามด้วยกระดาษสีเป็นลายไทย ส่วนใหญ่เป็นรูปพญานาคเพราะเข้ากับรูปพรรณสัณฐานของบั้งไฟ พอได้เวลาก็ช่วยกันแห่แหนบั้งไฟไปที่วัด ในขบวนมีการเซิ้งและการฟ้อนพื้นบ้านเป็นที่สนุกสนานครึกครื้น ในงานมักจะมีการบวชนาคพร้อมกันไปด้วย ก่อนบวชมีการฟังพระสวดและถวายภัตตาหารเพล จากนั้นจึงมีการจุดบั้งไฟมากก็จะมีการแข่งขันจุดบั้งไฟอย่างสนุกสนาน ผู้ใดแพ้จะถูกโยนลงโคลน เวลากลางคืนนอกจากจะมีมหรสพพื้นบ้านทั่วไปแล้ว ยังนิยมการแข่งขันตีกลองเอาเสียงดังแข่งกัน เรียงว่า “กลองเส็ง” งานบุญบั้งไฟนี้หลายท้องถิ่นในภาคอีสทนยังคงถือเป็นงานประเพณีประจำปีที่สำคัญมาก พอใกล้วันงานชาวอีสานไม่ว่าไปอยู่แห่งหนตำบลใดก็จะกลับบ้านเพื่อไปร่วมงานบุญบั้งไฟอันเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี
          
   นอกจากนี้แล้ว ในวันเพ็ญเดือนหก ชาวอีสานยังนิยมทำ “บุญวันวิสาขบูชา” ได้แก่การตักบาตร ฟังเทศน์ในตอนเช้า และเวียนเทียนที่วัดหรือปูชนียสถานที่สำคัญของท้องถิ่นในตอนค่ำและในบางแห่งยังคงมีการสรงน้ำพระพุทธรูปซึ่งเป็นการสรงต่อเนื่องมาจากพิธีตรุษสงกรานต์

อัพเดทล่าสุด