https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ผู้นำเหนือผู้นำ กลยุทธ์ว่าด้วยกลวิธีการโค้ชให้เป็นโค้ช เพื่อนำองค์กรสู่การพัฒนา MUSLIMTHAIPOST

 

ผู้นำเหนือผู้นำ กลยุทธ์ว่าด้วยกลวิธีการโค้ชให้เป็นโค้ช เพื่อนำองค์กรสู่การพัฒนา


714 ผู้ชม


ผู้นำเหนือผู้นำ กลยุทธ์ว่าด้วยกลวิธีการโค้ชให้เป็นโค้ช เพื่อนำองค์กรสู่การพัฒนา




 ผู้นำเหนือผู้นำ กลยุทธ์ว่าด้วยกลวิธีการโค้ชให้เป็นโค้ช เพื่อนำองค์กรสู่การพัฒนา
เดินทางมาถึงครั้งที่ 5 แล้ว สำหรับโครงการ Top Leaders Community (TLC) Thailand หรือในชื่อภาษาไทยคือ "ผู้นำเหนือผู้นำ" ซึ่งทางหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และบริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป เป็นผู้ร่วมกันจัดขึ้น
ครั้งนี้นอกจากจะมี "พจนารถ ซีบังเกิด" ที่ปรึกษาและวิทยากรอาวุโสกลุ่มบริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป มาเป็นวิทยากร หากยังมี "เจมส์ อาร์. เอ็นเกล" Executive Director จากกลุ่มบริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป มาร่วมเป็นวิทยากรด้วย
ทั้งนี้เพราะหัวข้อของการสัมมนาครั้งนี้ คือ "Coaching"
โดยภาคแรกของการสัมมนา "พจนารถ" เปิดประเด็น ตั้งคำถามให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดความสงสัยว่า ทำไมเราถึงต้องมีโค้ช ? และทำไมเราถึงต้องโค้ช ?
หรือเรามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะต้องจ้างโค้ชเพื่อมาสอน ?
เพราะเราเองเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรอยู่แล้ว จำเป็นด้วยหรือที่เราจะต้องฟังคนอื่นทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน สำคัญกว่านั้นโค้ชเองก็ไม่รู้ว่าเราเป็นใคร ? และจะมาสอนเราอย่างไร ?
ปมปริศนาในใจดังกล่าว จะว่าไปไม่ใช่ว่า "coaching" ไม่รู้ เขารู้ทั้งรู้อยู่เต็มอก แต่การที่องค์กรต่าง ๆ หรือผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ จำเป็นจะต้องมีโค้ช เพราะเรื่อง บางเรื่องผู้บริหารระดับสูงไม่สามารถปรึกษาใครได้
เพราะบางอย่างเป็นความลับองค์กร
บางอย่างเกี่ยวข้องกับการเติบโตของ ผู้บริหารระดับรอง ๆ ลงมา ขณะที่บางอย่างอาจเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ ทิศทาง นโยบาย และแผนขององค์กร
ดังนั้นทางเดียวที่จะทำให้ความลับกลายเป็นความลับต่อไป จึงต้องปรึกษาโค้ช
"พจนารถ" เริ่มต้นอธิบายว่า จริง ๆ แล้วการโค้ชไม่ใช่การสอนงาน แต่เป็นมากกว่านั้น เพราะคนที่จะมาเป็นโค้ชต้องมีคุณสมบัติบางอย่าง อาทิ จิตวิญญาณของผู้ให้ เพราะถ้าโค้ชไม่เป็นผู้ให้ที่ดี เขาจะไม่ให้ความรู้ทั้งหมด
"ฉะนั้นเราจึงต้องมีการโค้ชหลายระดับด้วยกัน อย่างเรื่องทักษะความสามารถฝึกสอนกันได้ ขณะที่ทัศนคติไม่สามารถสอนกันได้ เพราะโค้ชไม่ใช่ครู และโค้ชไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้า แต่เป็นคนภายนอกก็ได้"
"เพราะหลาย ๆ ครั้งการทำงานก็เหมือนพัดที่หุบอยู่กับที่ ผู้บริหารไม่มีโอกาสมาคลี่ดู ดังนั้นเราในฐานะผู้บริหารจึงต้องกล้าคิดให้แตกต่าง ต้องขยายกรอบ เพราะบางคนชอบติดกรอบ คิดว่าถ้าสอนลูกน้องเก่งแล้ว เราจะไปอยู่ที่ไหน ดังนั้นการโค้ชจะช่วยสอนให้เขาคิดใหม่ว่า ถ้าลูกน้องเก่งแล้ว เราจะไปต่อได้ ตรงนี้ทัศนคติจึงเป็นเรื่องสำคัญ"
 ผู้นำเหนือผู้นำ กลยุทธ์ว่าด้วยกลวิธีการโค้ชให้เป็นโค้ช เพื่อนำองค์กรสู่การพัฒนา


ส่วนคำถามที่ว่าคนที่อยู่ในตำแหน่ง ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องมีโค้ชด้วยหรือ ?
"พจนารถ" ตอบว่า ถ้าเราเชื่อในศักยภาพที่ซ่อนเร้นในตัวคน ผู้บริหารทุกคนจะได้ประโยชน์จากการโค้ช เพราะการโค้ชไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องทักษะการทำงานเสมอไป
"เพราะส่วนใหญ่ executive coaching เป็นการโค้ชเพื่อดึงศักยภาพในด้านบวกของผู้บริหารที่ยังซ่อนอยู่ออกมาให้ปรากฏ และส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น"
"การที่ผู้บริหารได้ใช้ศักยภาพในทางบวกให้เหมาะสมกับลักษณะงาน วาระ และโอกาส ย่อมส่งผลต่อแรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่นในงานของคนรอบข้าง และที่สำคัญยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวผู้บริหาร เองด้วย"
"การสอนงานในระดับผู้บริหารเกิดขึ้นและพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บางท่านพิจารณาว่าการสอนงานเป็นหน้าที่หนึ่งในสายงาน หรือบางท่านพิจารณาว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้คำปรึกษา ซึ่งมีการตีความหมายเกี่ยวกับการสอนงานในระดับผู้บริหารไว้อย่างมากมาย เพราะการสอนงานเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำในอนาคต"
"แต่สิ่งสำคัญคือการพิจารณาว่าประเภท และวิธีการสอนงานในลักษณะใดที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ท่านต้องการ ถึงแม้ว่าผู้บริหารบางท่านจะประสบกับความยากลำบากในการสื่อสารผลลัพธ์ที่ปรารถนาอย่างชัดเจน ผู้สอนงานที่มีทักษะก็จะสามารถให้การช่วยเหลือในเรื่องนี้ได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้บริหารมักจะไม่ให้เวลาในการไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดรอบคอบ"
"จุดเริ่มต้นในการทำ coaching จึงต้องเริ่มต้นจากความต้องการที่จะพัฒนาตนเองของผู้บริหารเสียก่อน หากผู้ที่ได้รับการโค้ชไม่ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง ไม่ว่าจะใช้วิธีการโค้ชรูปแบบใด ระยะเวลานานเท่าใด หรือโค้ชชั้นครูระดับไหนก็คงจะไม่เป็นผล"
"เพราะทุกคนเกิดมาไม่มีใครสมบูรณ์ แม้แต่คนที่อยู่ในระดับผู้บริหารเอง ในหลาย ๆ เรื่องยังต้องเรียนรู้ ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ผู้บริหารจึงมีโอกาสรับการโค้ช เพราะหาก ผู้บริหารขององค์กรมีศักยภาพด้านการเป็นผู้นำ มีความฉลาด
ทางอารมณ์ และสามารถสร้างทีมที่แข็งแกร่ง และมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานด้วยความเต็มใจ องค์กรก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยืนนาน"
ฉะนั้นในมุมมองของ "พจนารถ" จึงมองว่า การโค้ชที่ได้ผลจึงต้องมีกระบวนการ และโค้ชต้องเชื่อว่าคนที่ถูกโค้ชมีความเก่ง และเราในฐานะโค้ชชิ่งก็ต้องโค้ชในสิ่งที่ ผู้บริหารไม่เคยคิด หรือในสิ่งที่ควรจะต้องคิด เพราะบางครั้งผู้บริหารคิดอยู่คนเดียวอาจจะไม่ครบด้าน คิดไม่ออก หรือมองไม่ครบทุกมุม
ดังนั้นในคำถามของโค้ชจึงต้องกระตุ้นด้วยคำถาม และวิธีการที่น่าสนใจด้วย เพราะอย่างที่ทราบ การโค้ชมีวิธีการหลายแบบด้วยกัน ทั้งการโค้ชแบบ executive coaching สำหรับผู้บริหาร
life coaching เกี่ยวกับด้านชีวิต และ business coaching เป็นลักษณะการโค้ชแบบเจ้านายสอนลูกน้องเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
เช่นเดียวกันในมุมมองของ "เจมส์ อาร์. เอ็นเกล" ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบ การณ์ มากมายในการเป็นโค้ชให้กับผู้บริหาร ทั้งองค์กรในประเทศและต่างประเทศ กลับมองว่าความซับซ้อนของประเด็นต่าง ๆ ที่ ผู้บริหารกำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ทำให้เกิดหัวข้อสำหรับการสอนงานมากมาย
ทั้งในเรื่องของการมุ่งเน้นไปที่งานที่มีความสำคัญระดับต้น ๆ, การเพิ่มความรับผิดชอบสำหรับการปฏิบัติงาน, การเสริมสร้างทักษะด้านการตัดสินใจ และการสื่อสาร รวมถึงการรับมือกับเรื่องการเมืองในองค์กร
"การคิดอย่างมีกลยุทธ์, การรับมือกับความเครียด และการหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดอาการเหนื่อยล้า, การบริหารจัดการทีม และการรับมือกับสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกของพนักงาน"
"การจูงใจผู้อื่น, การเจรจาต่อรอง, การระดมสมองเพื่อสร้างสรรค์แนวคิดใหม่, การคิดสร้างสรรค์, การวางแผนทางด้านอาชีพส่วนบุคคล รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ทั้งยังจะต้องมีการกำหนด เป้าหมายและแผนงานที่น่าสนใจ"
นอกจากนั้น "เจมส์ อาร์. เอ็นเกล" ยังมองว่า การโค้ชผู้บริหารให้ประสบความสำเร็จตามแนวทาง นอกเหนือจากการสรรหาผู้สอนงานที่เหมาะสมระดับหนึ่งแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสอนงาน จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จดังต่อไปนี้ด้วย
หนึ่ง กำหนดแนวทางสำหรับความสัมพันธ์ และกระบวนการสอนงานที่ชัดเจน โดยห้ามตั้งข้อสันนิษฐานใด ๆ
สอง การแลกเปลี่ยนข้อมูลป้อนกลับ และการหารือกับผู้สอนงานเมื่อเกิดความผิดพลาด
สาม จะต้องตระหนักถึงความก้าวหน้าและผลสำเร็จที่เกิดขึ้นระหว่างการสอนงานเพื่อช่วยเสริมสร้างความจำ
สี่ ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ มีส่วนร่วมในกระบวนการสอนงานตามความจำเป็น และเปิดโอกาสให้พนักงานในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และข้อมูลป้อนกลับในบางครั้ง
ฉะนั้นต่อมุมมองเหล่านี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจึงขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรทั้ง 2 ท่านบ้าง ยิ่งเฉพาะต่อประเด็นการบริหารพนักงานในเจเนอเรชั่น Y เพราะกลุ่มคนเหล่านี้มักอยู่กับองค์กรไม่นาน และไม่ค่อยมีความรู้สึกรักองค์กร จึงทำให้องค์กรมีปัญหาค่อนข้างเยอะ เนื่องจากเขาต้องการความท้าทายในการทำงานมากกว่าเงินเดือน
"พจนารถ" จึงแสดงทรรศนะเพิ่มเติมว่า เราต้องมองย้อนกลับมาที่องค์กรเราว่ามี นโยบายที่ตอบรับกลุ่มคนเหล่านี้บ้างหรือไม่
"เพราะหลาย ๆ องค์กรเจอปัญหาว่า เด็กรุ่นใหม่ขี้เบื่อ อยากเติบโตเร็ว และไม่อยากทำงานธรรมดา ๆ ดังนั้นการเป็นโค้ชจึงต้องเป็นผู้ฟังที่ดี และฟังในสิ่งที่เขาไม่ได้พูด เพราะทุกวันนี้การที่โค้ชมีปัญหาเพราะเราพยายามชอบให้เขาทำนั่นทำนี่ ซึ่งเป็น การสั่งมากเกินไป เราควรให้อิสระเขาคิด และยอมรับกับสิ่งที่เขาเลือกที่จะทำบ้าง"
ผลเช่นนี้จึงทำให้ "เจมส์ อาร์. เอ็นเกล" มองเสริมว่า วิธีการโค้ชจึงต้องพยายามโค้ชผู้บริหาร หรือพนักงาน ให้เสมือนเขาเป็นพาร์ตเนอร์กับเรา เพราะหลาย ๆ องค์กรเจอปัญหาการไม่เข้าใจกันในสไตล์ของแต่ละคน และไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ระหว่างเจ้านายและลูกน้อง
"หรือบางองค์กรเจอหัวหน้าที่ไม่สอนงาน เพราะคิดว่าเป็นงานของลูกน้อง เราในฐานะผู้บริหารจึงต้องมาคิดใหม่ว่าเพราะเขาประสบการณ์น้อย เราจึงต้องแนะนำทั้งสองฝ่ายเพื่อให้เขาเข้าใจตรงกัน"
ซึ่งเป็นเรื่องเทคนิค+ใจ+ประสบการณ์ และมุมมองใหม่ ที่ฟังดูแล้วอาจเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในความเป็นจริง เรื่องของการโค้ชไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย
เป็นเรื่องของความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันล้วน ๆ
ที่ไม่เพียงจะต้องเปิดกว้างทั้งกาย ใจ หากยังต้องเปิดกว้างต่อมิติต่อการทำงาน และการร่วมงานกับบุคคลอื่น ๆ ด้วย ถึงจะทำให้การโค้ชนั้นประสบความสำเร็จ
เหมือนดั่งโค้ชที่ดัง ๆ ของหลายประเทศทั่วโลก ?
หน้า 29


วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4185  ประชาชาติธุรกิจ


อัพเดทล่าสุด