https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ธุรกิจสวนกระแสMr.Bag-Fix MUSLIMTHAIPOST

 

ธุรกิจสวนกระแสMr.Bag-Fix


757 ผู้ชม


ธุรกิจสวนกระแสMr.Bag-Fix




Mr.Bag-Fix
       
ธุรกิจสวนกระแสของพิเชษฐ์ เศรษฐี
ธุรกิจสวนกระแสMr.Bag-Fix
ธุรกิจสวนกระแสMr.Bag-Fix
ธุรกิจสวนกระแสMr.Bag-Fix
        ถ้าไม่เล่าถึงชีวิตของนักธุรกิจสักคนที่ล้มแล้วลุก คุณอาจจะนึกภาพไม่ออก เมโทรไลฟ์จึงไปพูดคุยกับเจ้าของธุรกิจ Mr.Bag-Fix หรือ บริษัท มิสเตอร์ แบ็คฟิกส์ จำกัด ที่ยืนหยัดมาแล้วกว่า 7 ปี หลังจากเจ็บตัวไปกับธุรกิจ Communications แบบบอบช้ำ
       
       พิเชษฐ์ เศรษฐี ‘นายนักซ่อม(กระเป๋า)’ เจ้าของ Mr.Bag-Fix เล่าให้เมโทรไลฟ์ฟังว่า 10 กว่าปีก่อนเคยเปิดบริษัทตัวแทนจำหน่าย เครื่องแฟกซ์ เครื่องถ่ายเอกสาร โทรศัพท์มือถือมือถือรุ่นแรกๆ ตั้งแต่ราคาเครื่องร่วมแสนบาท ตอนนั้นเครื่องแพง คนก็ยังไม่ค่อยมีเบอร์โทรศัพท์ใช้ แต่ก็ขายได้ อยู่ได้ด้วยเซลล์ 15 คน ค่าคอมมิสชันต่อเครื่องคนละ 2,000-3,000 บาท ต่อมาก็เปิด Outlet ที่อโศกกับพระโขนง แล้วรายได้ที่กำลังไปได้สวยก็กลับพลิกผัน เมื่อเกิดการปฏิวัติขึ้นในปี 2535
       
       “บริษัทขายสินค้าได้น้อยลง เซลล์ที่เคยได้ค่าคอม 2,000 ก็ลดเหลือแค่ 200 บาท แค่ปีเดียวธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ตอนนั้นยังตามเทรนด์ไม่ทันว่าราคาปรับเปลี่ยนเร็ว จากเครื่องละแสนก็เหลือ 9 หมื่น 8 หมื่น ลดลงเหลือไม่กี่หมื่น เซลล์ไม่ชินปรับตัวไม่ได้ก็ลาออกไป เซลล์ออกยอดก็ตก สุดท้ายลาออกจนเหลือคนแค่ 2-3 คน MRT ยังขอคืนพื้นที่ตรงอโศกอีก ทุกอย่างเลยจบ ปิดกิจการ ตอนนั้นเรื่องประหยัดค่าใช้จ่ายหรือลดวันทำงานก่อนปิดกิจการ ไม่ได้ทำเพราะคนน้อย”
       
       พิเชษฐ์ย้อนคิดกลับไปว่าถ้าตอนนั้นมีทุน รอบคอบ และไม่ใจร้อนเกินไปนัก ตอนนี้ก็อาจจะสบายเหมือนช็อปอย่าง Telewiz หรือ Samart แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาก็ไม่ได้ทำให้พิเชษฐ์ท้อถอย เขาเดินทางไปศึกษาต่อด้านธุรกิจที่ต่างประเทศ ดูลู่ทางทำธุรกิจใหม่ ราวหนึ่งปีจึงกลับมาเปิดบริษัท มันนี่ แพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด โดยใช้เงินลงทุนหลายแสนล้านบาท
       
       มันนี่ แพ็ค เป็นธุรกิจการตลาดรูปแบบคูปอง Direct Marketing อธิบายให้เห็นภาพก็คือ บริษัทจะส่งซองเอกสารไปที่บ้านต่างๆ ในนั้นอาจจะมีโฆษณาของบริษัทหนึ่ง แล้วก็จะมีคูปองส่วนลดพิเศษอยู่ในซองนั้นด้วย เป็นเซลล์โปรโมชัน เช่น มีบริษัทให้ทำคูปองส่วนลด 5 บาท ก็รับมาแล้วก็สั่งพิมพ์ ใส่ซองส่งถึงมือผู้บริโภคโดยตรงประมาณแสนหลังคาเรือน
       
       พิเชษฐ์กล่าวต่อว่า “หลังจากทำธุรกิจได้สองปี ก็รู้ว่าในไทยไม่เวิร์ค พอติดต่อพวกบริษัทใหญ่ เขาต้องการให้ส่งออกล้านบ้าน ดาต้าเบสที่มีอยู่ไม่พอ บริษัทเล็กก็ไม่สร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้คูปอง พอเอาไปใช้ที่ร้านปรากฏว่าลดราคาเหมือนกัน คูปองก็เลยไม่มีความหมาย ทำงานกับใหญ่ก็ไม่พร้อม บริษัทเล็กก็อยู่ยาก ก็เลยคิดว่าจะหยุดธุรกิจนี้ แต่ไม่ปิดบริษัท”
       
       นักธุรกิจพิเชษฐ์มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศบ่อย กระเป๋าเดินทางจึงชำรุดเสียหาย เมื่อหาร้านซ่อมกระเป๋าได้ก็รับฝากของคนอื่นไปซ่อมด้วย บ่อยครั้งเข้าก็รู้สึกว่าคนมีปัญหาลักษณะนี้เยอะ น่าทำอะไรสักอย่าง ก็เลยต่อยอดจากมันนี่ แพ็ค จัดส่งคูปองส่วนลดค่าซ่อมส่งไปตามบ้าน
       
       “มันเป็นช่วงคาบเกี่ยวกันทั้งสองธุรกิจ มีประสบการณ์ชีวิตมาก็ทำให้คิดเยอะ จ้างช่างเองจะไปได้หรือเปล่า กระเป๋าจะเสียเยอะไหม ไม่แน่ใจ ช่วงแรกเป็นเพียงนายหน้าแต่พอส่งคูปองไปแล้วฟีดแบกกลับมามาก เลยดิวไปที่ห้างขอเช่าพื้นที่ จ้างช่างเข้ามาทีละคนสองคน เปิดบริษัทและตั้งชื่อว่าร้านว่า Mr.Bag-Fix ห้างแรกที่ไปตั้งคือ เซ็นทรัลพระราม 3 แล้วก็ขยายสาขาจนตอนนี้มี 12 สาขา และมีศูนย์ที่เชียงใหม่ใกล้ทั้งสนามบิน โลตัส บิ๊กซี และเซ็นทรัล”
       
       เมื่อเราถามถึงกระเป๋าที่ถูกส่งซ่อมมากที่สุดว่าเป็นแบบไหน เขาตอบทันทีว่า ”กระเป๋าเดินทางมากสุด เพราะคนเดินทางเยอะ บาง terminal จะโยนกระเป๋าลงมาเป็นชั้นเลย กระเป๋าก็เลยเป็นรอยแตก หูขาด ซิปเสีย ที่ส่งซ่อมรองลงมาคือกระเป๋าสตรี มีปัญหาเรื่องซิปกับหูหิ้วเป็นหลัก”
       
       บุคลิกที่ดูสงบนิ่งกับคำพูดของคุณพิเชษฐ์ไม่ได้บ่งบอกว่าเลยว่าธุรกิจของเขาน่าเป็นห่วง เราจึงถามเขาว่า ธุรกิจนักซ่อมอาจจะบูมมากขึ้นในปีนี้ คิดอย่างนั้นไหม? เขาก็ตอบว่า “มองในแง่ว่าธุรกิจนี้น่าจะทำรายได้ดีก็ถูก คนอาจจะหันมาใช้กระเป๋าใบเดิม ซ่อมกระเป๋ามากกว่าจะซื้อใหม่ ทำรายได้มากขึ้น แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่ง ธุรกิจฝืดคนก็เดินทางน้อยลง พอคนเดินทางน้อย การซ่อมกระเป๋าน้อยลงไปด้วย บางคนไม่ใช้ก็เลยไม่เสีย มีผลเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่เหมือนกัน”
       
       แล้วจะรับมืออย่างไรไหว?
       “เรื่องบุคลากรคงไม่เพิ่ม แต่รับมือด้วยการหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ สังเกตสินค้าที่ส่งซ่อม ซึ่งลูกค้าเป็นคนสอนเรามากกว่า เช่น ส่งถุงกอล์ฟ รถเข็นเด็ก เข็มขัด ลูกค้าบอกไม่มีใครทำลองทำสิ พอทำได้ก็เลยขยายงานซ่อมไปไกลกว่ากระเป๋า อยากให้คนใช้บริการมากขึ้น เดินทางสะดวก แผนงานปีหน้าก็จะขยายไปที่ภูเก็ต พัทยา แล้วจะหาหุ้นส่วนไปเปิดที่มาเลย์เซีย สิงคโปร์ ทำธุรกิจให้เป็น International มากขึ้น” แผนงานเหล่านี้ พิเชษฐ์ได้วางโครงสร้างให้บริษัทไว้หมดแล้ว และดูท่าว่าจะพัฒนาไปได้ไกล เพราะฉะนั้นพนักงานของเขาไม่ต้องกลัวตกงาน!
       
       Mr.Bag-Fix ในปัจจุบัน
       
        มีพนักงานประจำ 30 กว่าคน เป็นช่างฝีมือดีเกินครึ่ง พวกเขามีงานซ่อมกระเป๋าทุกวัน โดยจะมีรถวิ่งรับ-ส่งตามช็อปต่างๆ รวมถึงประเมินราคาซ่อมให้ฟรี ค่าซ่อมต่ำสุดที่แอบสืบมาอยู่ที่ 150 บาท แต่กรณีของกระเป๋า Samsonite ก็อาจจะต้องจ่ายหลายพันบาท ขึ้นอยู่กับอะไหล่ นอกจากซ่อมแล้วยังมี Product Lines ของตัวเอง เช่น ป้ายแขวนกระเป๋า ซองใส่นามบัตร สายรัดกระเป๋า และยังรับสั่งตัดกระเป๋าตั้งแต่หนึ่งใบขึ้นไป ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2717-1849-50
       
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
 

อัพเดทล่าสุด