https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ความสำคัญของการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรม CSR MUSLIMTHAIPOST

 

ความสำคัญของการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรม CSR


767 ผู้ชม


ความสำคัญของการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรม CSR




คอลัมน์ CEO TALK
โดย ดร.อัศวิน จินตกานนท์ กรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย และที่ปรึกษาอาวุโสกลุ่มบริษัททีม
CSR เป็นความมุ่งมั่นของธุรกิจที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างมีจริยธรรมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในสังคมโดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมในวงกว้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ
1.CSR "ในบ้าน" หรือความรับผิดชอบต่อสังคมในองค์กรของตนเอง ไม่เสแสร้งทำเพื่อการสร้างภาพระยะสั้น เช่น ดำเนินธุรกิจอย่างถูกกฎหมาย กฎเกณฑ์และระเบียบของอุตสาหกรรมนั้นๆ รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ต่อพนักงาน ต่อแรงงาน และดูแลความปลอดภัย ทุกข์สุขและความก้าวหน้าของพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมขององค์กร
2.CSR "รอบรั้วขององค์กร" หรือความรับผิดชอบในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งขององค์กรหรือโรงงาน เช่น การช่วยเหลือชุมชนรอบโรงงาน หรือใกล้องค์กรเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
3.CSR "นอกรั้ว" หรือความรับผิดชอบต่อสังคมที่ไกลออกไป เช่น การช่วยเหลือ ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ใกล้เคียงองค์กรหรือโรงงาน เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในประเทศพม่า
ประเภทของกิจกรรม CSR ที่นิยมดำเนินการร่วมกับชุมชนทั่วไป (1) มีอยู่ประมาณ 10 ประเภทด้วยกัน คือ
1.กิจกรรมที่บรรเทาหรือลดความยากจน 2.กิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3.กิจกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัยและทุกข์สุขของแรงงาน 4.กิจกรรมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน 5.กิจกรรมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน 6.มาตรฐานการดำเนินธุรกิจที่ดีตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯสำหรับบริษัทจดทะเบียน 7.กิจกรรมเกี่ยวกับสุขอนามัยในชุมชน 8.กิจกรรมเกี่ยวกับการบรรเทาสาธารณภัย 9.กิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษาและการพัฒนาภาวะผู้นำ 10.กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร
(1) ที่มา : CSR-กระแสคุณธรรมของธุรกิจในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ศิริชัย สาครรัตนกุล
การดำเนินกิจกรรมโดยการมีส่วนร่วม
ในการดำเนินโครงการ CSR ที่ดีนั้น ผู้ดำเนินโครงการควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stake holders) มีส่วนร่วมใน กระบวนการตัดสินใจและในการวางแผน ตลอดจนในการคัดเลือกโครงการหลายโครงการที่จบลงด้วยความล้มเหลวเป็นเพราะ "ผู้ให้" หรือ "ผู้อยากจะให้" ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของผู้รับ เพียงแต่ตัดสินใจข้างเดียวว่าต้องการจะให้อะไร และเรียก "ผู้รับ" มารับของไป การกระทำเช่นนี้ไม่ใช่ไม่ได้ให้เกียรติผู้รับอย่างเดียว แต่ยังเป็นกิจกรรมที่ไม่มีความยั่งยืน เพราะผู้รับมารับบริจาคเพียงครั้งเดียวแล้วก็ไปโดยไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันเลย
บางครั้งผู้ให้คิดว่าการที่จะต้องมาฟังความคิดเห็นจากผู้รับ เป็นการเสียเวลา เสียทรัพยากร แต่หาคิดไม่ว่า "ผู้รับของ" ก็มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี
ดังนั้น การรับฟังความคิดเห็นโดยให้ผู้รับและ NGO ที่ร่วมดำเนินการ จะแสดงถึงความจริงใจและความห่วงใยของผู้ให้ อาจทำให้ผลลัพธ์ได้ผลดีและยั่งยืน
การดำเนินกิจกรรม CSR โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stake holders) ในทุกๆ กรณีจึงควรที่จะมีการปรึกษาหารือและรับฟังความคิดเห็น ซึ่งมีอยู่ 4 ระดับด้วยกัน คือ
1.การให้ข้อมูลโดยผู้ให้อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการทำ CSR และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้ ผู้รับอธิบายถึงความต้องการและความพร้อมของเขาที่จะรับความช่วยเหลือ
2.การปรึกษาหารือ (consultation) เป็นการที่ผู้รับและผู้ให้ปรึกษาถึงวิถีทางที่จะดำเนินการให้ดีที่สุด และเป็นที่ยอมรับของชุมชน ในขั้นตอนนี้ผู้ให้ควรจะระมัดระวังที่จะไม่ให้ผู้รับมีความรู้สึกว่าเป็นการ "ให้ทาน" ซึ่งโดยทั่วไปองค์กรเอกชน (NGO) จะเข้าประสานงานให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันอย่างดี
3.การตัดสินใจร่วมกัน (collaborative decision making) การตัดสินใจร่วมกันนี้เป็นการทำให้ผู้รับมีความรู้สึกว่าเขามีส่วนในการทำให้โครงการ CSR ประสบผลสำเร็จ เพราะได้ผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
4.การให้อำนาจต่อผู้รับความช่วยเหลือ (empowerment) หาก "ผู้ให้" ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว ผู้รับจะมีความรู้สึกว่าเขาได้รับเกียรติและยินดีที่จะร่วมในทุกๆ ขั้นตอนของโครงการ CSR
บทบาทขององค์กรเอกชน (NGO)
บทบาทขององค์กรเอกชนเสมือน "พ่อสื่อหรือแม่สื่อ" ระหว่างองค์กรธุรกิจกับชุมชน เนื่องจากองค์กรเอกชนมีความเข้าใจในชุมชนดี และทราบถึงความต้องการ ตลอดจนความสามารถพิเศษของภูมิปัญญาในชุมชน ดังนั้นองค์กรเอกชนจึงอยู่ในฐานะที่จะให้คำแนะนำต่อองค์กรธุรกิจที่สนใจทำ CSR ในชุมชนนั้นๆ
ธุรกิจซึ่งมีความสามารถพิเศษและมีความรู้ด้านธุรกิจ เช่น การตลาด การผลิต การควบคุมคุณภาพ การบริหารการเงิน และ logistics สามารถลดความยากจนในชุมชนโดยการแนะนำความรู้ด้านธุรกิจให้แก่ชุมชน ตัวอย่างที่เห็นทั่วไปก็คือ OTOP ซึ่งช่วยให้ชุมชนหลายชุมชนสามารถเอาชนะความยากจนโดยการขายภูมิปัญญาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ OTOP แต่หลายชุมชนก็ต้องเสียใจเพราะความเร่งรีบของรัฐบาลที่จะให้ OTOP แสดงผลงาน ทำให้หลายชุมชนไม่สามารถเตรียมความพร้อมได้
ในการสัมมนาเกี่ยวกับโครงการ CSR ซึ่งจัดโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย ผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งเป็นผู้แทนจาก NGO และธุรกิจ ได้พูดถึงปัจจัยที่ทำให้ CSR ประสบความสำเร็จ คือ
1.การเลือกพันธมิตรที่ถูกต้อง ระหว่างธุรกิจองค์กรเอกชนและชุมชน โดยองค์กรเอกชนต้องแนะนำโครงการที่เหมาะสมให้กับธุรกิจที่จะทำกับชุมชน
2.ความสามารถในความไว้เนื้อเชื่อใจทั้งสองฝ่าย คือ ธุรกิจและชุมชนต้องเข้าใจความรู้สึก ค่านิยม ทัศนคติ และความต้องการของแต่ละฝ่าย
3.การมีผลประโยชน์ร่วมกัน องค์กรเอกชนต้องเข้าใจว่าธุรกิจเป็นจำนวนมากทำ CSR เพื่อจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อประโยชน์ด้านธุรกิจ และธุรกิจต้องทำกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น กิจกรรม CSR ควรช่วยเสริมธุรกิจให้กับธุรกิจของเขา ในขณะเดียวกันธุรกิจก็ต้องเข้าใจองค์กรเอกชนว่า องค์กรเอกชนต้องการสร้างผลงาน เพราะความสำเร็จของโครงการจะทำให้เขาได้รับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือชุมชนมากขึ้น ชุมชนต้องการความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาชุมชนของตนให้เป็นชุมชนที่เข็มแข็ง มีสภาพการศึกษาที่ดี และมีสถานีอนามัยที่มีความสามารถที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและคนชราได้ดี มีน้ำดื่มที่สะอาด เป็นต้น
การเข้าใจซึ่งกันและกันจะทำให้ทุกฝ่ายไม่สร้างความหวังที่เกินความจริง และอาจเกิดความผิดหวังในอนาคต การมีความจริงใจต่อกัน ความคาดหวังที่เหมาะสม ความพร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะนำไปสู่ CSR ที่ประสบความสำเร็จ
หน้า 33

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ


อัพเดทล่าสุด