https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
'Virtual Organization' สูตรเร่งโต 'NWO ปี 2' MUSLIMTHAIPOST

 

'Virtual Organization' สูตรเร่งโต 'NWO ปี 2'


666 ผู้ชม


'Virtual Organization' สูตรเร่งโต 'NWO ปี 2'




 เปิดภารกิจ "เอไอเอส" สานต่อโครงการ NWO Project รุ่น 2 ควักแนวคิดบริหารองค์กรแบบ Virtual Organization จับ 8 สายงานหลักของธุรกิจ มาติวเข้มว่าที่นักบริหารทั้ง 8 เชื่อเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก แม้เรียนลัด แต่ก็จะรู้ลึกรู้กว้าง
       
        หลังจากคัดเลือกจนได้นักศึกษาหัวกะทิระดับชั้นปีที่ 3 เข้าสู่กระบวนการของโครงการ NWO Project : New World Order หรือโครงการพลังเล็กที่ยิ่งใหญ่ รุ่นที่ 2 ขณะนี้เอไอเอสก็เริ่มลงมือบ่มเพาะ 8 ต้นกล้าอย่างเป็นล่ำเป็นสันแล้วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
       
        ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง Virtual Organization ที่ถูกหยิบยกเอามาประยุกต์ใช้เป็นครั้งแรกกับโครงการนี้ว่า เป็นไอเดียการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านองค์กรเสมือนจริง เพื่อสร้างการเรียนรู้ทางลัดอย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลา 1 ปีเต็ม
       
        ถือเป็นกลยุทธ์แบบ push&pull ที่ดึงประสบการณ์ตรงจากผู้บริหาร แล้วนำมาประมวลความรู้รวบยอดให้เข้ากับแนวคิดใหม่ๆ ของเยาวชนเอง และผลักดันออกมาเป็นโครงการต่างๆ ซึ่งเยาวชนสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ในก้าวจังหวะที่ทันท่วงทีกับการทำงานของโลกสมัยใหม่
       
        "Virtual Organization เป็นองค์กรเสมือนจริง ที่ประกอบด้วย 8 สายงานหลักที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกสินค้าและบริการของเอไอเอส ที่ผ่านมาเมื่อมีผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ของเอไอเอส ที่ยังไม่มีอยู่ในโครงสร้างเดิม ก็ต้องอาศัยบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ มาทำงานร่วมกันตามสไตล์ขององค์กรที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา"
       
        หน่วยงานทั้ง 8 นั้น ประกอบด้วย 1. Enterprise Business Department (EPB) หน่วยงานการตลาดที่ดูแลลูกค้าระดับองค์กร และลูกค้า SMEs 2. Wireless Business (mobileLIFE) หน่วยงานการตลาดที่ริเริ่มบริการเสริมใหม่ๆ บนมือถือ ภายใต้ชื่อโมบายไลฟ์ 3. Customer Marketing&Product (CMP) หน่วยงานดูแลการทำตลาดของผลิตภัณฑ์ต่างๆ 4. Brand and Marketing Department (BRM) หน่วยงานดูแลภาพลักษณ์ของเอไอเอส รวมถึงแบรนด์ต่างๆ ภายใต้เอไอเอส
       
        5. Channel Management (CM) หน่วยงานดูแลช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ทั้งที่เป็นแฟรนไชส์ และร้านค้าทั่วไป 6. Marketing Communication (MCM) หน่วยงานดูแลเรื่องสื่อ ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด 7. Public Relations (PR) หน่วยงานดูแลภาพลักษณ์ และคอยให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์กร สินค้าและบริการ ที่ติดต่อกับสื่อมวลชน และ 8. Business System Integration (BSI) หน่วยงานบริหารจัดการทรัพยากรของเอไอเอส เพื่อพัฒนาบริการ หรือโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
       
        ทั้งนี้ จิรเดช นุตสถิตย์ ผู้บริหารโครงการ NWO Project กล่าวเสริมว่า กระบวนการเรียนรู้ในองค์กรเสมือนจริง นักศึกษาแต่ละคนจะต้องเข้าไปศึกษางานเชิงลึก จากผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานนั้นๆ ก่อนจะนำประสบการณ์มาต่อยอดกับไอเดียของตนเอง
       
        "การเรียนรู้ในเชิงลึก เด็กจะเห็นทั้งกระบวนการทำงาน ชนิดที่เรียกว่า day to day operation ได้เข้าร่วมประชุมด้วย ทีนี้เวลามีไอเดียใหม่ๆ ขึ้นมา จากเดิมที่มีทางเลือกมากๆ จะเห็นว่าทำไม? ไอเดียนี้จึงใช้ได้ และอันนั้นใช้ไม่ได้"
       
        นักศึกษาแต่ละคนจะต้องเข้าไปปฏิบัติภารกิจในหน่วยงานที่แตกต่างกัน จิรเดช กล่าวว่า นักศึกษาจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนกับหน่วยงานที่ตนเองอยู่ ซึ่งรอบแรกนี้เขาจับคู่นักศึกษากับหน่วยงาน โดยพิจารณาจากความสามารถระหว่างการคัดเลือก แต่หลังจากนี้นักศึกษาจะมีโอกาสได้เลือกเองว่า มีความสนใจที่จะเข้าไปเรียนรู้ในหน่วยงานไหน โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสังกัด 8 หน่วยงานก็ได้
       
        จิรเดช ให้ความเห็นต่อว่า สำหรับ 8 หน่วยงานที่หลายคนมองว่า บางหน่วยงานเป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนเท่านั้น อาจไม่ได้ทำหน้าที่คิดค้นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ แต่ถึงกระนั้นหน่วยงานสนับสนุนก็สามารถจะพัฒนางานด้วยไอเดียที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ๆ ได้
       
        "อย่าง Marketing Communication ดูเรื่องสื่อ เด็กคิดต่อได้ว่าจำเป็นต้องใช้สื่อเดิมไหม? หรืออย่าง Channel จะเปลี่ยนรูปแบบของร้านเทเลวิซ ให้เจาะวัยรุ่นไปเลยก็ได้ แต่มันจะสมเหตุสมผลมากน้อยเพียงไร?"
       
        ผู้บริหารโครงการ กล่าวว่า Virtual Organization เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เด็กเรียนรู้ได้รวดเร็ว และลึก พอเปลี่ยนไปเรียนรู้หน่วยงานอื่นต่อ เด็กก็จะสามารถเรียนรู้ได้กว้างขึ้น และเมื่อเด็กคิดโครงการใหม่ออกมา ก็ต้องมองให้ครบทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การริเริ่มไอเดียใหม่ การพัฒนาไอเดีย กระบวนการจนเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการ แล้วนำเข้าสู่ช่องทางขาย การประชาสัมพันธ์และการทำตลาด รวมถึงสร้างแบรนด์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้และทำงานร่วมกันเป็นทีม
       
        "เป้าหมายของเอไอเอส ไม่ได้อยู่ที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ จากโครงการ NWO Project แต่ต้องการให้เขาเรียนรู้ประสบการณ์จริงให้ได้มากที่สุด ดังนั้นความสำเร็จของโครงการคงต้องรอวัดความสำเร็จของเด็กกลุ่มนี้ในอนาคต" จิรเดชกล่าวทิ้งท้าย

 

 

แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

อัพเดทล่าสุด