https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พลิกยุทธศาสตร์ ‘นาม’ สร้างคน สร้างธุรกิจ ผงาดอินเตอร์ MUSLIMTHAIPOST

 

พลิกยุทธศาสตร์ ‘นาม’ สร้างคน สร้างธุรกิจ ผงาดอินเตอร์


598 ผู้ชม


พลิกยุทธศาสตร์ ‘นาม’ สร้างคน สร้างธุรกิจ ผงาดอินเตอร์




พลิกยุทธศาสตร์ ‘นาม’ สร้างคน สร้างธุรกิจ ผงาดอินเตอร์
พลิกยุทธศาสตร์ ‘นาม’ สร้างคน สร้างธุรกิจ ผงาดอินเตอร์
พลิกยุทธศาสตร์ ‘นาม’ สร้างคน สร้างธุรกิจ ผงาดอินเตอร์

        - เลาะตะเข็บธุรกิจสุขภัณฑ์ ‘นาม’ หลังฝ่าฝันอุปสรรคมาอย่างโชกโชน
        - ใช้เวลา 3 ปีฟื้นธุรกิจ พร้อมกำหนดวิสัยทัศน์ ‘global niche sanitary ware’ เน้นดีไซน์และคุณภาพเต็งหนึ่ง
        - จะสร้างคน สร้างอาณาจักรให้ผงาดระดับโลกได้อย่างไร?
        - ผ่ากระบวนทัศน์จัดการองค์กร กับผู้นำที่ชื่นชอบสไตล์ ‘เล่นเป็นทีม’

       
        กว่าจะมาเป็นบริษัท นามสุขภัณฑ์ จำกัด องค์กรแห่งนี้ก็ได้มีโอกาสบริหารวิกฤต (crisis management) ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการก่อตั้ง ในสถานะของตราสินค้า “เลาเฟน” ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทไทยกับสวิสเซอร์แลนด์ และกำลังก่อร่างสร้างธุรกิจในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของวิกฤตการณ์ปี 2540
       
        การล้มลุกคลุกคลานของเลาเฟน จนนำไปสู่การปรับโครงสร้างหนี้ และการถอนหุ้นคืนของต่างชาติ ทำให้ตราสินค้า “นาม” ซึ่งเปรียบเสมือนแบรนด์พี่แบรนด์น้องกับ “เลาเฟน” มีโอกาสเผยโฉม และเป็นปฐมบทของการบริหารจัดการองค์กรที่เพิ่งผ่านพ้นเรื่องร้ายๆ และกำลังส่งสัญญาณว่าจะมีกำไรอย่างเป็นเรื่องเป็นราวภายในสิ้นปีนี้
       
       “นาม” ประตูสู่ความสำเร็จ
        ณัฐชนา เพ็ญชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นามสุขภัณฑ์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสุขภัณฑ์ “นาม” เปิดใจถึงกระบวนการจัดการองค์กรกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า ในช่วงที่บริษัทบริหารสินค้าเลาเฟน และพยายามประคองตัวจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ จนใกล้ถึงวันที่เลาเฟนจะหมดสัญญา บริษัทก็เริ่มมานั่งคิดว่าแทนที่จะมานั่งทำตลาดสุขภัณฑ์เลาเฟน โดยที่ไม่รู้ว่าจะได้ต่อสัญญาหรือไม่? ก็ควรที่จะมีแผนรองรับด้วยการผลิตสินค้าภายใต้ตราของตัวเอง เพื่อขยายฐานตลาดในประเทศให้เติบโตต่อไป จึงเริ่มมีการศึกษาและคิดชื่อสินค้า “nahm - นาม” ขึ้นมา
       
        โดย nahm เป็นตราสินค้าที่มาจากตัวย่อของอักษรภาษาอังกฤษ 4 ตัวคือ n = niche เป็นสินค้าจับตลาดเฉพาะกลุ่ม, a = advanced ถือเป็นโรงงานที่มีความทันสมัยที่สุด, h = hygienic ซึ่งกินความถึงว่าเป็นสุขภัณฑ์สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, และ m = modern เป็นตัวบ่งบอกว่าสินค้ามีดีไซน์ทันสมัย และการออกเสียงว่า “นาม” ในภาษาเยอรมัน หมายถึง take it แปลว่าการได้มา ก็ให้ความหมายที่ดีในเชิงธุรกิจ
       
        การรับมือกับปัญหารุมเร้ารอบด้านตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ ทำให้คู่แข่งหลายรายต่างมองว่า บริษัทแห่งนี้น่าจะไปไม่รอด แต่ด้วยวิสัยทัศน์ผู้นำทำให้เขามั่นใจว่า สิ่งที่คิดและวางแผนเอาไว้ เดินมาถูกทาง เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลาพิสูจน์ตัวเอง
       
        การเปลี่ยนภาพสินค้าจากเลาเฟนมาสู่นาม และหมุนตัวกลับไปชิงชัยในธุรกิจอีกครั้ง ณัฐชนาบอกว่า เขาพยายามย้ำจุดยืนเดิมของสินค้าที่มีลักษณะเป็นยูโรเปี้ยนสไตล์ มีรูปร่างหน้าตาประหลาดแตกต่างไปจากท้องตลาด
       
        “ยอดขายช่วงแรกต้องเน้นไปหาตลาดส่งออก แต่ถามว่าถึงตรงนั้นเราสู้กันมันไหม? เรายอมเปลี่ยนตัวเองไหม? ที่จะทำสินค้าที่มีแต่แบบเดิมๆ เต็มท้องตลาด เรายังมีความมั่นใจว่าสิ่งที่เราวางแผนเอาไว้มาถูกทาง เลยพยายามทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง โปรโมทอย่างต่อเนื่อง ช่วงปี 2546 เราเปลี่ยนยี่ห้อสินค้าจาก เลาเฟน เป็น นาม ช่วงนั้นมีส่วนแบ่งตลาดไม่ถึง 5 % เป็นสินค้าจับตลาดเฉพาะกลุ่ม พอเรามีสินค้าเป็นของตัวเอง ก็เริ่มที่จะรุกตลาดมากขึ้น และพัฒนาดีไซน์ต่างๆ เป็นแบบของเราเอง”
       
        ความชัดเจนของการวางตำแหน่งสินค้า และการสร้างดีไซน์ที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ในช่วงเวลาที่คู่แข่งไม่คิดทำกัน ถือเป็นโอกาสที่เปิดกว้างให้สุขภัณฑ์นามได้พิสูจน์ตัวเอง
       
        “ช่วงนั้นเลาเฟนมีส่วนแบ่งการตลาดไม่มาก การรับรู้ของสินค้าก็อยู่ในวงจำกัด พอเปลี่ยนเป็นนามก็เน้นทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าเดิม ทุกคนก็ให้การยอมรับ โดยไม่ได้ยึดติดกับตราสินค้า เพียงแต่ลูกค้าตั้งคำถามว่า นามสามารถรักษาความเป็นผู้นำทางด้านดีไซน์สุขภัณฑ์ไว้ได้ไหม? สามารถรักษาเรื่องของคุณภาพไว้ได้ไหม? สามารถรักษาความเป็นสินค้านวัตกรรมไว้ได้ไหม? ถ้าทำได้ ลูกค้าก็ยอมรับ” กรรมการผู้จัดการกล่าว
       
        เขาวิเคราะห์ว่า สิ่งที่ทำให้นามสำเร็จได้ระดับหนึ่งในทุกวันนี้ มาจากการขยายตลาดในประเทศให้เติบโตขึ้น ด้วยการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดที่มีอยู่เพียง 2-3% ขึ้นมาเป็น 12% ในปีที่ผ่านมา รวมถึงการขยายช่องทางจำหน่ายผ่านธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ขายผ่านโครงการ ในช่วงขาขึ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ภาพลักษณ์ของสินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
       
        เมื่อมองย้อนกลับไปถึงบทเรียนที่ได้จากการทำตลาดเลาเฟน ณัฐชนาอธิบายว่า การเดินคนละทางกับหุ้นส่วนต่างชาติ ถือว่าไม่มีใครทำผิด แต่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับว่าใครจะปรับตัวได้หรือไม่ได้มากกว่า
       
        “ฝรั่งอาจจะไม่เคยชินกับสภาพแวดล้อมแบบไทยๆ และทนกับแรงกดดันไม่ได้ แนวคิดการแก้ปัญหาแบบฝรั่งเป็นอะไรที่เด็ดขาด เร็ว แต่ทำไม่ได้ในเมืองไทย อย่างเรื่องการปลดคนงาน การเจรจาขอลดหนี้แบบสุดสุด”
       
        เขากล่าวต่อว่า การหวนคืนมาทำตลาดในประเทศเต็มตัว หลังไปบุกตลาดส่งออกมาพักใหญ่ เขายอมรับว่าคู่แข่งพยายามสร้างแรงกดดันในระดับหนึ่ง แต่เป้าหมายของบริษัทไม่ได้ต้องการแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ อย่างคอตโตหรืออเมริกันสแตนดาร์ดตรงๆ เพราะแนวทางสินค้าเป็นการฉีกออกจากรูปแบบตลาดเดิมๆ “สิ่งที่ผมทำคือพยายามเติมช่องว่างที่มีอยู่ในตลาดด้วยนาม”
       
       บ่มเพาะคนสร้างค่านิยมองค์กร
        ทุกวันนี้เขาบอกว่า ยังไม่หายเหนื่อยจากการปลุกปั้นธุรกิจ ถือเป็นเพียงช่วงเวลาที่เพิ่งผ่านพ้นวิกฤตมาเท่านั้น ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมาบริษัทมีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่มีมากพอที่จะสร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ และมาถึงปีนี้ถือเป็นอีกปีที่บริษัทพยายามหันมาเน้นหนักเรื่องการพัฒนาคน
       
        “ปีนี้เราเน้นหนักในเรื่องของคน เพราะว่าอุตสาหกรรมเป็นอะไรที่ต้องอาศัยแรงงานมีฝีมือเยอะ ขณะที่ฝ่ายขายและการตลาดเดินหน้าไปไกล ส่วนของในบ้านที่โตตามกันไม่ทันก็เริ่มมีช่องว่างแล้ว โดยเฉพาะส่วนของการผลิต ที่อาจจะผลิตป้อนไม่ทัน หรือว่าส่งของให้ช้า โดนลูกค้าต่อว่า สิ่งที่เราแก้ปัญหาคือ การพัฒนาทักษะของคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต”
       
        แนวทางพัฒนาคน สิ่งแรกที่บริษัททำคือการปลูกฝังค่านิยมองค์กรที่เรียกว่า “ADFACT” หรือการสร้างคนให้ไปด้วยกัน เพื่อสู่เป้าหมายเดียวกัน
       
        “ค่านิยมนี้ผมคิดว่าเป็นบุคลิกที่คนของนามน่าจะเป็น หลักๆ คือ A = ต้องพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ที่ผ่านมาเรามีการปรับองค์กรอย่างน้อย 4 ครั้ง เป็นการเปลี่ยนเพื่อสร้างแรงขับดันจากภายในออกมา เป็นการจัดคนให้เหมาะสมกับงาน กับทิศทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
       
        บุคลิกถัดมาคือ D = มีความทุ่มเท ซึ่งจะชัดเจนในเรื่องการสร้างผลิตผล ที่ผ่านมาบางคนอาจจะทำงานสบายๆ ตอนนี้ต้องทุ่มเทมากขึ้นแล้ว เราคิดว่าองค์กรเราควรจะมี output ต่อคนมากขึ้น F = ทุกคนมีความเป็นมนุษย์ มีความสุขและสนุก สร้างกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายต่างๆ
       
        A = ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย มีดัชนีชี้วัดในงานที่ทำ C = มีความคิดสร้างสรรค์ในเชิงบวก และมีใจในการให้บริการที่ดีกับลูกค้า T = การทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะผู้บริหารจะไม่ฉายเดี่ยว พฤติกรรมเหล่านี้วันนี้ยังไม่เกิดครบถ้วน แต่เป็นสิ่งที่เราพยายามจะสร้าง”
       
        เขากล่าวว่า การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องของทีมเวิร์ก เพราะโดยสไตล์ส่วนตัวเขาไม่ชอบที่จะเห็นคนเก่งเพียงคนเดียว แต่ต้องการให้มีตัวจริงเยอะๆ ภายใต้สโลแกนที่ว่าจะต้องส่งเสริมตัวจริง และคนที่เป็นตัวปลอมจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นตัวจริง เพราะการเป็นตัวจริง จะนำมาซึ่งค่าตอบแทนที่ดี การฝึกอบรมที่ดี ถือเป็นหลักการเชิดชูคนที่ทำงานดี มีความสามารถ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคนที่อยู่ถัดมา
       
       รอเวลาผงาดอินเตอร์
        เป้าหมายของนามสุขภัณฑ์ วางวิสัยทัศน์ไว้ว่าต้องการเป็น global niche sanitary ware คือไม่ได้ต้องการใหญ่โตเหมือนคนอื่น แต่ขอโตในตลาดเฉพาะกลุ่มที่มีอยู่ทั่วโลก
       
        “เราไม่ได้หวังยอดขายถล่มทลาย แต่ขอให้ค่อยๆ โต สินค้าที่มีดีไซน์ มีคุณภาพ ไม่ว่าจะใช้ตราอะไร จะมีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ” เขาว่าอย่างนั้น
       
        ซึ่งความต้องการที่จะเป็นผู้นำทางด้านดีไซน์กับคุณภาพ เพื่อก้าวไปสู่ตลาดโลก งานดีไซน์จะต้องพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ซึ่งการดีไซน์สินค้าใหม่ๆ จะมีต้นทุนสูง ไม่ใช่แค่การออกแบบ แต่รวมถึงการนำมาผลิตได้จริง การต่อยอดจากจุดแข็งตรงนี้นามจะใช้วิธีผลิตเป็นสินค้าต้นแบบก่อนแล้วจึงจะนำมาผลิตเพื่อการจำหน่าย
       
        รวมถึงการลดความเสี่ยงของธุรกิจด้วยนโยบายการสร้างความสมดุล เช่น การทำตลาดในประเทศและต่างประเทศควบคู่กันไปในสัดส่วนที่เท่ากัน หรือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกับคนทำงาน ด้วยการพัฒนาโรงงานให้ได้มาตรฐาน ISO 14000 และสร้างความสมดุลกับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรคือ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และชุมชน โดยบริษัทมีการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองให้ครบทุกฝ่าย ไม่ใช่แค่ทำกำไรอย่างเดียว หรือเอาผู้ถือหุ้นอย่างเดียว
       
        “ปีที่แล้วเราตั้งใจว่าจะมีกำไร แต่ก็พลาด เพราะไปเสียหลักที่ระบบการผลิต ปีนี้เราวางแผนไว้คิดว่าน่าจะเริ่มมีกำไรแล้ว จากการวางรากฐานไว้ดีพอสมควรในเรื่องการวางอุปสงค์อุปทาน บริหารต้นทุนได้ในคุณภาพที่ตลาดยอมรับ สุขภัณฑ์จะได้เปรียบเสียเปรียบกันที่การลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด ปัจจุบันนามมีอัตราส่วนของเสียอยู่ที่ 30% เราพยายามทำให้เหลือ 20%”
       
        นอกจากนี้ บริษัทยังพยายามที่จะลดความผันแปรต่างๆ ที่จะทำให้ผลิตผลลดลง เช่น สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้คงที่ ส่วนที่เหลือต้องปรับปรุงก็คือ เรื่องของการผลิตและเรื่องของคน โดยเรื่องการผลิตพยายามติดต่อกับซัปพลายเออร์ที่มีคุณภาพ
       
        ส่วนประเด็นของคน ก็ตั้งโจทย์ว่าจะทำอย่างไรถึงจะให้คนมีประสิทธิภาพ จึงมีการดึงเอามืออาชีพเข้ามาปรับพฤติกรรมคน (behavior change) ในทุกระดับสายงานให้เป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ธุรกิจ โดยช่วงแรกจะเน้นทางด้านโรงงานก่อน เป็นการสร้างระบบการจัดการ เพิ่มผลิตผลให้ธุรกิจ และลดการสูญเสียจากการผลิต
       
        ในฐานะของผู้นำที่ต้องนำพาองค์กรทะยานไปข้างหน้า ณัฐชนาบอกว่า เขาจัดอยู่ในกลุ่มผู้นำที่ชอบสไตล์เล่นเป็นทีม เน้นการสร้างแรงบันดาลใจ กระจายงานและติดตามงาน โดยพยายามล้วงลูกให้น้อยที่สุด
       
        ซึ่งความโดดเด่นของผู้นำในองค์กรที่เพิ่งจะเริ่มต้นได้ไม่กี่ขวบปีนี้ ทีมงานที่ใกล้ชิดกับเขามองว่า เขาเป็นผู้นำที่เป็นนัมเบอร์วันในเรื่องของการนำคน มีวิสัยทัศน์ที่ดี มองไปไกลไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่สามารถนำมาปฏิบัติจริงได้ด้วย
       
        “ผู้นำบางคนมองเป็นแต่ทฤษฎี แต่เอาไปปฏิบัติจริงไม่ได้ แต่คุณณัฐชนาให้นโยบายที่ทำได้จริงและสามารถเอาไปต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์กับองค์กร”
       
        นี่คือบางมุมของผู้ตามที่มีน้ำเสียงสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ และมั่นใจกับการเติบโตขององค์กรอย่างเต็มเปี่ยม... 

แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

อัพเดทล่าสุด