https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
4 องค์กรชั้นนำพิชิต รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ MUSLIMTHAIPOST

 

4 องค์กรชั้นนำพิชิต รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ


795 ผู้ชม


4 องค์กรชั้นนำพิชิต รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ




4 องค์กรชั้นนำพิชิต รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ
ในที่สุด คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award-TQA) ซึ่งมี "สมภพ อมาตยกุล" ประธานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และ "ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์" กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้มีการประกาศให้ 4 องค์กรชั้นนำ คว้ารางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class-TQC) ประจำ ปี 2552
อันประกอบด้วย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน), สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
โดยทั้ง 4 องค์กรมีเพียงองค์กรเดียว คือ สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เคยรับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) มาแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3
ขณะที่องค์กรทั้ง 3 เพิ่งจะเข้ารับการตรวจประเมินครั้งนี้เป็นครั้งแรก แถมยังได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) เป็นครั้งแรกด้วย
เพราะอย่างที่ทราบ เกณฑ์ของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) จะต้องมีคะแนนจากการตรวจประเมินสูงกว่า 650 คะแนนขึ้นไป ขณะที่เกณฑ์ของรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) มีคะแนนจากการตรวจประเมินสูงกว่า 350 คะแนนขึ้นไป
ฉะนั้นในปี 2552 จึงไม่มีองค์กรใดได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) เพราะรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ถือเป็นรางวัลระดับโลก เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิค และกระบวนการการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (The Malcolm Baldrige National Quality Award-MBNQA)
อันเป็นรางวัลต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่นานาประเทศนำไปประยุกต์ใช้ อาทิ สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
ฉะนั้นการที่องค์กรชั้นนำทั้ง 4 มีโอกาสคว้ารางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) จึงนับว่าไม่ธรรมดาเป็นอย่างยิ่ง เพราะองค์กรเหล่านั้นจะต้องผ่านเกณฑ์ของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย
หนึ่ง การนำองค์กร, สอง การวางแผนเชิงกลยุทธ์, สาม การมุ่งเน้นลูกค้า, สี่ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการ ความรู้, ห้า การมุ่งเน้นบุคลากร, หก การจัดการกระบวนการ และเจ็ด ผลลัพธ์
ฉะนั้นต่อประเด็นนี้ "สุรงค์ บูลกุล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จึงได้กล่าวถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้องค์กรได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC)
4 องค์กรชั้นนำพิชิต รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ


"ธุรกิจผลิตพลังงานเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ใช้เงินลงทุนมหาศาล มีการควบคุม และมีข้อจำกัดจากรัฐบาล อีกทั้งรูปแบบของธุรกิจเป็นวงจรขึ้นลงตามวัฏจักร ไทยออยล์ผ่านวัฏจักรธุรกิจมาแล้วหลายครั้ง ทั้งยังเคยประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นในยุคธุรกิจขาขึ้น"
"เคยประสบปัญหาตกต่ำถึงขั้นล้มละลายเมื่อธุรกิจเข้าสู่วิกฤต ประสบการณ์เหล่านี้ถูกบ่มเพาะมาตลอด 48 ปีเต็มของการดำเนินงาน และหล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศในทุก ๆ ด้าน ทั้งยังมีการบริหารจัดการองค์กรอย่างต่อเนื่อง"
"โดยเฉพาะการระดมสมองเพื่อเชื่อมโยงความคิดของฝ่ายบริหาร และพนักงานในการกำหนดกลยุทธ์ และแผนการดำเนินงาน พร้อมติดตามประเมินผล และปรับแผน เพื่อให้สามารถรับมือกับความผันผวนรุนแรงทางธุรกิจได้อย่างมีทิศทาง และร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายที่วางไว้ 4 ประการ คือ"
"หนึ่ง วิสัยทัศน์ที่ล้อเป็นภาพเดียวกับค่านิยมองค์กร ที่สร้างให้เราเป็นมืออาชีพ บวกกับความมุ่งมั่นที่เราสะท้อนไปที่พนักงาน และเขาก็สะท้อนกลับมาเป็น commit จนทำให้เรากล้านำแนวทางของ TQA-TQC มาเพิ่มในการโฟกัสองค์กร"
"สอง ความต้องการของลูกค้า เราพยายามค้นหาคำตอบว่า ลูกค้าของเราคือใคร และเราพยายามฟังความต้องการของลูกค้า ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ ทุกคน"
"สาม ความเชื่อมโยงกับชุมชน และพนักงาน เพราะชุมชนเปรียบเสมือนรั้วบ้าน มีอะไรเขาก็จะมาคุยกับเรา พูดง่าย ๆ คือเรามีการเชื่อมโยงกันระหว่างชุมชนกับเรา"
"สี่ กระบวนการ เพราะเราต้องการบูรณาการในองค์รวม เราสามารถใช้วัตถุดิบตัวเดียวกัน ใช้การบริหารแบบองค์รวม แต่ได้ประโยชน์ร่วมกัน เพราะเรามีจุดประสงค์ที่ต้องการจะเป็นองค์กร 100 ปี และขณะนี้เราเดินมาครึ่งทางแล้ว เราจึงต้องมีกระบวนการในการทำงานอย่างชัดเจน"
เช่นเดียวกับมุมมองของ "ชาครีย์ บูรณกานนท์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กลับมองว่า แม้ผ่านมาเราจะสมัครเข้าตรวจประเมินทั้งหมด 4 ครั้ง และได้ TQC มา 3 ครั้ง รวมถึงครั้งนี้ด้วย
"เราจึงมองว่าแนวทางของ TQA เป็นการเดินทาง (journey) อย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ใช่เป้าหมาย เพราะเป้าหมายของเราต้องการความยั่งยืน ตอนนี้สิ่งที่ดีที่สุดยังไม่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่เราทำผ่านมา เราจะนำมาปรับปรุง อย่างข้อมูลป้อนกลับ (feedback report) เราก็นำมาปรับปรุง"
"เราพยายามให้องค์กรของเราก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และมีกรอบการทำงาน มีระบบย่อยเพื่อมาอยู่ในกรอบใหญ่ เราเชื่อว่าเรามีแนวทางชัดเจน นั่นเป็นเหตุผลที่เรานำกรอบของ TQA มาเป็นแนวทาง เพราะเราไม่ได้มองแบบผูกขาด ขณะเดียวกันเราก็มีความเชื่อว่า สภาพแวดล้อมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว"
"ดังนั้นเราจึงนำแนวทางของ frame work มาปรับใช้ เราเชื่อว่างานของเรามีความท้าทายอยู่ตลอด ฉะนั้นเราจึงต้องพยายามสร้างองค์กรอย่างต่อเนื่องและอย่างจริงจัง ถึงจะทำให้ไปสู่เป้าหมาย"
ขณะที่มุมมองของ "นพดล ศิริจงดี" รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด (มหาชน) มองว่า ในการเข้าสมัครตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เราดูทั้งหมด 5 ด้านมาประกอบกัน คือ การเงิน, ลูกค้า, ประสิทธิภาพ, บุคลากร และความยั่งยืน
"TQA เป็นกรอบของการปฏิบัติที่ทำให้เรารู้ว่า การพัฒนาองค์กรเป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะระบบที่มีอยู่แล้วสามารถนำมาปรับปรุงและบูรณาการในทุกขั้นตอน ส่วนเรื่องที่เราไม่เคยปฏิบัติเลย เราก็ทำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพราะเราต้องเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตในทุกด้าน รวมถึงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม"
"ฉะนั้นเกณฑ์ของ TQA สามารถเป็นเครื่องยืนยันต่อปรัชญา 3 ประโยชน์ ของท่านประธานธนินท์ เจียรวนนท์ ต่อการดำเนินธุรกิจ นั่นคือประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประโยชน์ต่อประชาชน และประโยชน์ต่อองค์กร ทั้งยังเป็นแนวทางที่ทำให้บริษัทกรุงเทพโปรดิ๊วส์
สนับสนุนซีพีเอฟให้บรรลุวิสัยทัศน์ในเรื่องครัวของโลกด้วย"
นอกจากนั้น "นพดล" ยังกล่าวถึง 5 ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้ได้รับรางวัลการบริหารคู่ความเป็นเลิศ อันประกอบด้วย
หนึ่ง ด้านการเงิน เพราะธุรกิจครอบคลุมกระบวนการผลิตทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นบริษัทในกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงทำให้มีสถานะทางการเงินมั่นคง
ขณะเดียวกันการใช้ทฤษฎี 2 สูง 1 ต่ำ ในการบริหารธุรกิจให้เกิดต้นทุนต่ำ จึงทำให้มีกำไรที่เหมาะสมต่อผู้ถือหุ้น ทั้งยังมีสภาพคล่องที่สามารถหมุนเวียนเข้าสู่การจ่ายค่าตอบแทนสูง
สอง ด้านลูกค้า เนื่องจากลูกค้ามีความเชื่อถือในแบรนด์ กอปรกับระบบ BIM (broiler integrated model) ที่สร้างความสมดุลของคุณค่า ตั้งแต่ผู้ส่งมอบไปจนถึงการผลิตในทุกขั้นตอนของโรงงาน รวมถึงความต้องการของลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ
สาม ด้านประสิทธิภาพ นอกจากจะผลิตสินค้าตามมาตรฐานของลูกค้า ยังจะต้องสร้างประสิทธิภาพจาก value chain เพื่อสร้างความสมดุลในทุกมิติของกระบวนการ เพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมไก่ไข่ครบวงจร และเป็นผู้นำ 5 อันดับแรกของโลก
สี่ ด้านบุคลากร นอกจากจะต้องมุ่งมั่นต่อค่านิยม CPF Way บุคลากรจะต้องมีความผูกพันต่อองค์กร พร้อมกับมีการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการยกระดับคุณค่าของคน
ห้า ด้านความยั่งยืน นอกจากจะต้องมีจริยธรรมและธรรมาภิบาลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และคู่แข่ง ยังจะต้องมุ่งเน้นการผลิตที่จะต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย โดยเฉพาะด้านพลังงาน
ในมุมมองเดียวกัน "วิโรจน์ คัมภีระ" รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์ปักธงชัย กลับมองเสริมว่า แม้โรงงานของเราจะก่อสร้างมาเพียง 5 ปี แต่ทีมงานทุกคนล้วนเป็นคนหนุ่ม-สาวที่พร้อมจะผลิตอาหารสัตว์บก เพื่อป้อนให้แก่ฟาร์มใน CPF value chain สำหรับผลิตเนื้อสัตว์เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก
"โรงงานแห่งนี้มีกำลังการผลิต 1.2 ล้านตัน/ปี ฉะนั้นพนักงานทุกคนจึงต้องมีอาวุธ ประจำกาย 3 อย่างประกอบกันคือ หนึ่ง ศีล สอง สมาธิ และสาม ปัญญา"
"เรื่องศีล ก็หมายถึง 5 ส. ที่นอกจากจะต้องสร้างมาตรฐาน เพื่อให้พนักงานทุกคนมีวินัย เพราะเมื่อพนักงานทุกคนมีวินัย เราจะเอาระบบอะไรใส่เข้าไป เขาก็จะรับ"
"สมาธิ ก็หมายถึงการทำซ้ำอยู่เรื่อย ๆ ทำจนเกิดความชำนาญ และเกิดการพัฒนา ขณะที่ปัญญา เป็นเรื่องของนวัตกรรม ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ องค์กรต้องมีวัฒนธรรมชัดเจน ทั้งยังจะต้องเป็นแบบแผนเพื่อให้ทีมงานเดินไปสู่ เป้าหมายเดียวกัน"
"ที่สำคัญ ทรัพยากรบุคคลถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง ฉะนั้นจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการมุ่งเน้นการสร้างความผูกพันของบุคลากร เพื่อให้การทำงานในทุกภาคส่วนบรรลุวัตถุ ประสงค์ขององค์กรแม่อย่างสมบูรณ์"
ถึงจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ
เหมือนกับองค์กรต้นแบบทั้ง 4 ที่คว้ารางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศประจำปี 2552 ครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นองค์กรชั้นนำในภาคเอกชนเพียงไม่กี่องค์กรที่ยึดแนวทางของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นต้นแบบในการดำเนินธุรกิจ
จนประสบความสำเร็จอย่างที่เห็น
ซึ่งไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ ?
หน้า 25


วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4197  ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดทล่าสุด