https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
บริหารแบบลูกทุ่ง MUSLIMTHAIPOST

 

บริหารแบบลูกทุ่ง


1,031 ผู้ชม


บริหารแบบลูกทุ่ง




คอลัมน์ ถามมา-ตอบไปสไตล์คอนซัลท์
โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา apiwut@riverorchid.com

มีคนเขียนมาบ่นกับผมเกี่ยวกับการบริหารงานของตนเอง (นาน ๆ จะเจอคนบ่นเกี่ยวกับตัวเองสักที) เขาเล่าให้ฟังว่า ตอนนี้เขาทำงานเป็นหัวหน้างานมากว่า 5 ปีแล้ว และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสได้ขึ้นไปในระดับที่สูงกว่านั้น
เขาเคยไปถามหัวหน้าของเขาว่า อะไรทำให้เขาไม่มีโอกาสได้รับการโปรโมตขึ้นมา หัวหน้าของเขาก็ใจถึงตอบตรง ๆ เลยว่า เพราะเขาบริหารงานแบบลูกทุ่งเกินไป เลยทำให้ไม่โต
คำถามคือ บริหารงานแบบลูกทุ่งมันผิดตรงไหน ?
เอ่อ...เจอคำถามนี้ไป ผมก็อึ้งเหมือนกัน ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันมีผู้บริหารจำนวนหนึ่งที่โตมาจากการทำงานแบบลูกทุ่ง คือแบบลุย ๆ แบบถึงลูกถึงคน ซึ่งถ้าให้อธิบายคำว่า "ลูกทุ่ง" ในหลักของการบริหารแล้วคงแปลได้ว่า การทำอะไรแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ไม่มีระบบแบบแผนที่แน่นอน ไร้กระบวนยุทธ์ เป็นการทำงานแบบเฉพาะหน้า เข้าหาและเข้าถึงลูกน้อง
แต่การทำงานในลักษณะนี้นั้น เราต้องเข้าใจว่ามันสามารถสร้างความสำเร็จให้ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
รูปแบบการบริหารแบบลูกทุ่งอาจจะเหมาะสมกับการบริหารในระดับหัวหน้างาน หรือในองค์กรเล็ก ๆ ที่ยังไม่มีระบบระเบียบมากมายเท่าไรนัก แต่เมื่อถึงจุด จุดหนึ่งที่ตำแหน่งหรือองค์กรจำเป็นต้องมีความเป็นระเบียบและระบบมากขึ้น การบริหารแบบลูกทุ่งก็จะไม่เหมาะอีกต่อไป
ยกตัวอย่างของบริษัทที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งที่ผมรู้จัก เขาเป็นบริษัทที่ทำงานกันแบบลูกทุ่งมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ กล่าวคือไม่มีระบบระเบียบภายในองค์กร ใครต้องการอะไรก็ไปซื้อมาแล้วเอาบิลมาเบิก
ฝ่ายขายมีหน้าที่ขาย เก็บเงิน และออกใบเสร็จให้ลูกค้าด้วย ไม่มีระบบการจัดซื้อวัตถุดิบ คือใครใคร่สั่งซื้อก็สั่งมา ไม่มีการ เช็กว่าของในสต๊อกมีหรือไม่
ดังนั้นเมื่อลูกที่จบการศึกษาด้านบริหารมารับช่วงต่อ เข้าไปจัดระบบระเบียบใหม่ เนื่องจากมองว่าด้วยวิวัฒนาการของธุรกิจในภาพรวมด้วยระบบและเทคโนโลยีในปัจจุบัน รวมถึงความคิดของบุคลากรที่มีความซับซ้อนและเจ้าเล่ห์มากขึ้นกว่า เมื่อก่อน
ทำให้เขามองว่าการที่องค์กรจะอยู่รอดได้ต้องอาศัยการบริหารงานอย่างมีระบบ
และสิ่งที่เขาค้นพบก่อนที่จะมีการเข้าไปจัดระบบอย่างเป็นทางการคือ คนบางกลุ่มพอรู้ว่าจะมีการถ่ายโอนอำนาจจากรุ่นพ่อ รุ่นแม่ไปสู่รุ่นลูก ก็รีบชิงลาออกไปก่อน และเมื่อระบบเริ่มเข้ามามีส่วนในการบริหาร ก็ค้นพบว่ามีการโกงกินกันภายในบริษัท ค่อนข้างมาก เช่น พนักงานขายเก็บเงินมาก็ไม่เอามาให้บริษัท การสั่งซื้อวัตถุดิบก็เป็นการสั่งแบบตามความพอใจ
คือถ้าบริษัทที่ขายวัตถุดิบมีโปรโมชั่น เช่น ซื้อเท่านี้บาทจะได้ตั๋วไปเที่ยวฮ่องกง ก็จะสั่งซื้อมา แล้วคนสั่งก็เอาตั๋วฮ่องกงไปใช้
นอกจากนี้สิ่งที่เขาค้นพบคือ โดยส่วนมากคนที่โกงกินคือคนที่ลาออกไปก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้เขามองว่าถ้าบริษัทยังคงบริหารแบบลูกทุ่งแบบที่รุ่นพ่อรุ่นแม่ทำ องค์กรก็คงไม่สามารถไปรอดได้ในสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้
เช่นเดียวกันกับการทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ ถ้าคุณทำงานแบบลูกทุ่ง คุณก็จะมีความก้าวหน้าและสามารถทำงานขึ้นตำแหน่งไปได้ถึงในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่อคุณต้องการขึ้นตำแหน่งที่สูงกว่านั้นไปอีก การบริหารแบบลูกทุ่งจึงไม่สามารถตอบสนองได้อีกต่อไป
คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวทางการบริหารเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำคือ เปลี่ยนแนวทางการบริหารแบบลูกทุ่งให้กลายมาเป็นแบบมีระบบมากขึ้น จากที่เคยแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้า ก็ต้องมีการคิดให้รอบคอบมากขึ้นก่อนการตัดสินใจทำอะไรลงไป จากแบบที่ไม่ชอบและไม่เอาหลักวิชาการ ก็ต้องมาดูและพิจารณาให้มากขึ้น จากที่เคยเข้าถึงลูกน้อง เข้าไปคลุกคลีมาก ๆ ก็ต้องถอยออกมาหน่อย เพื่อดูความสำเร็จและองค์ประกอบต่าง ๆ ในภาพรวม
เราต้องเข้าใจว่าสิ่งที่เคยทำมาในอดีต สิ่งที่เคยทำให้คุณประสบความสำเร็จมาถึงที่ที่คุณอยู่ได้ในปัจจุบัน ไม่ได้แปลว่าจะสามารถทำให้คุณก้าวหน้าต่อไปได้ การปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเป็นประเด็นสำคัญที่คุณต้องไม่มองข้าม
อย่างที่ฝรั่งเขาพูดกันไว้ว่า "What got you here won"t get you there"...หมายความว่า สิ่งที่นำพาคุณมาถึงจุดนี้อาจไม่การันตีว่าถูกต้องและจะนำพาความสำเร็จมาให้คุณอีกในอนาคต
หน้า 25


วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4203  ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดทล่าสุด