https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
Corporate Performance Management (CPM) ศัพท์ใหม่ทางการจัดการ? MUSLIMTHAIPOST

 

Corporate Performance Management (CPM) ศัพท์ใหม่ทางการจัดการ?


736 ผู้ชม


Corporate Performance Management (CPM) ศัพท์ใหม่ทางการจัดการ?




Corporate Performance Management (CPM) ศัพท์ใหม่ทางการจัดการ?
สัปดาห์นี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงศัพท์ทางด้านการจัดการคำหนึ่ง ซึ่งจะเรียกว่าใหม่ก็คงไม่ได้ แต่ก็เชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะยังไม่คุ้นเคยนั้น คือคำว่า Corporate Performance Management หรือย่อว่า CPM จริงๆ แล้วคำๆ นี้ก็แพร่หลายในต่างประเทศมาสามสี่ปีแล้วครับ และในปัจจุบันก็เริ่มตื่นตัวเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้คนทางด้าน IT
ถ้าพิจารณาจากแนวคิดทางด้านการจัดการแล้ว CPM ไม่ใช่สิ่งที่ใหม่เลยครับ แต่ถ้ามองในด้านของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารองค์กร) ก็อาจจะเรียกได้ว่า CPM เป็นของเล่นชิ้นใหม่ที่น่าสนใจทีเดียวครับ
ท่านผู้อ่านอาจจะเริ่มสนใจแล้วนะครับว่าเจ้า CPM คืออะไรกันแน่? ท่านผู้อ่านลองนึกถึงเครื่องมือทางการจัดการเหล่านี้ดูนะครับ การวางแผนกลยุทธ์ ระบบ Balance Scorecard การทำ Benchmarking การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) การวางงบประมาณ พูดกันว่าแนวคิดทางด้านการจัดการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของเจ้า Corporate Performance Management (CPM) ซึ่งถ้าดูจากชื่อภาษาอังกฤษ (Corporate Performance Management) กับการที่เครื่องมือและแนวคิดทางการจัดการข้างต้นถูก ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ CPM เราน่าจะมองได้ว่าเจ้า CPM ก็เป็นระบบการบริหารที่มุ่งเน้นในเรื่องของการดำเนินงานให้เกิดสัมฤทธิ์ผลทั่วทั้งองค์กร โดย CPM จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงแนวคิดการบริหารที่มุ่งเน้นสัมฤทธิ์ผลต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เริ่มตั้งแต่กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Balance Scorecard) การประเมินผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) จนกระทั่งถึงการแปลงไปสู่แผนปฏิบัติการและการตั้งงบประมาณ เรียกได้ว่าเป็นการบริหารที่ครบวงจรตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติ จนกระทั่งถึงการตั้งงบประมาณทีเดียวครับ
เมื่ออ่านถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะบอกว่าไม่เห็นมีอะไรใหม่เลย เนื่องจากสิ่งที่ผมนำเสนอข้างต้นก็เป็นสิ่งที่หลายๆ องค์กรทำอยู่แล้ว อย่างที่เรียนไว้ในตอนต้นครับว่า ถ้ายึดตามศาสตร์ทางด้านการจัดการนั้น CPM ไม่ถือว่ามีอะไรใหม่ เพียงแต่ในแง่ของการปฏิบัตินั้น มีองค์กรเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถเชื่อมโยงกระบวนข้างต้นทั้งหมด (ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติ งบประมาณ) เข้าไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผนวกเข้ากับข้อมูลต่างๆ ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากขึ้น ที่นี้พวกบริษัทที่ผลิตและขายโปรแกรมสำหรับการบริหารองค์กรก็ได้มีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับ CPM ขึ้นมา ที่ให้ผู้บริหารสามารถที่จะบริหารองค์กรในภาพรวมได้อย่างครบถ้วน ซึ่งตรงนี้คือส่วนที่ผมคิดว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้คำว่า CPM เริ่มกลายเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น
Gartner ซึ่งเป็นองค์หลักทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารองค์กรได้ระบุไว้ว่า Corporate Performance Management (CPM) เป็นการรวมกันของแนวคิด (Methodologies) การประเมินผล (Metrics) กนะบวนการ (Process) และระบบ (Systems) ที่ใช้ในการบริหารและติดตามผลการดำเนินงาน (Performance) ขององค์กร ซึ่งในอดีตเวลาผู้บริหารมองส่วนประกอบต่างๆ ของ CPM ก็จะมองแยกจากกัน เช่น เมื่อวางแผนกลยุทธ์ก็มักจะนึกถึงแต่กลยุทธ์เพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีความเชื่อมโยงกับการประเมินผล หรือแผนปฏิบัติการ หรือการจัดทำงบประมาณ ซึ่งในโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และผู้บริหารเองก็มีข้อมูลที่เข้ามาใช้ในการตัดสินใจมากขึ้น การบูรณาการเครื่องมือและแนวทางต่างๆ ทางการจัดการเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อความสำเร็จขององค์กร อาจจะเรียก CPM ได้ว่าเป็นบูรณาการทางการบริหารก็ได้นะครับ
ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ เจ้า Balance Scorecard ไงครับ ผมเองได้เขียนเรื่อง Balance Scorecard (BSC) ผ่านทางบทความนี้มาเป็นสิบๆครั้ง จนท่านผู้อ่านบางท่านเบื่อกันไปแล้ว แต่ดูเหมือนความนิยมในการนำ BSC มาใช้ในเมืองไทยก็ยังเยอะอยู่ จนกระทั่ง Robert Kapaln หนึ่งในผู้คิดค้น BSC จะต้องเดินทางมาเมืองไทยเพื่อพูดเรื่องนี้อีกครั้ง (หลังจากมาในปีที่แล้วไปครั้งหนึ่ง) แต่ปัญหาประการหนึ่งของการที่หลายๆ องค์กร ไม่สามารถนำ BSC ไปประยุกต์ให้เกิดผลสำเร็จได้ อยูที่การที่ไม่สามารถนำเจ้า BSC ไปเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นระบบการวางแผน หรือระบบงบประมาณ เรียกได้ว่าไม่เกิดการบูรณาการกันระหว่างเครื่องมือทางการจัดการต่างๆ ที่ใช้ในองค์กร ซึ่งถ้าองค์กรได้มีการนำเจ้า CPM มาใช้ก็ย่อมที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ไปได้
ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะบอกว่า ในอดีตเครื่องมือหรือแนวคิดทางการจัดการเหล่านี้ก็ไม่เห็นจะต้องมีบูรณาการอะไรแต่อย่างใด องค์กรหลายๆ แห่งก็ยังประสบความสำเร็จอยู่ได้ แต่ท่านผู้อ่านต้องอย่าลืมนะครับว่า ตอนนี้สถานการณ์เริ่มที่จะเปลี่ยนไป เครื่องมือและแนวคิดทางการจัดการก็เริ่มที่จะเปลี่ยนไป อีกทั้งต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ในการวางแผนก็จะเริ่มที่จะไม่ได้เน้นแต่เฉพาะทางด้านการเงินแต่เพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีต การตั้งงบประมาณนั้นก็เริ่มที่จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยแทนที่จะเป็นงบประมาณที่กำหนดเป้าหมายไว้ล่วงหน้าเป็นปีๆ ก็เริ่มเป็นลักษณะ Rolling Target มากขึ้น (Rolling Target จะมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายในทุกๆ งวด) เพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น ส่วนในการวัดและประเมินผลนั้นก็เริ่มที่จะมองในหลายๆ มิติและมุมมองมากขึ้น อีกทั้งเริ่มที่จะมีการนำระบบการวัดและการประเมินผลที่มีระบบมาใช้ในทุกๆ ส่วนขององค์กรมากขึ้น และสุดท้าย ผู้บริหารเองก็มีข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจและการบริหารมากขึ้น
ดูเหมือนว่าการนำ CPM มาใช้ในองค์กรปัจจุบันยังต้องพึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบริหารอยู่นะครับ เท่าที่ศึกษามาไม่คิดว่าองค์กรจะสามารถนำ CPM มาใช้ได้ครบถ้วนถ้าขาดการสนับสนุนจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากประเด็นในเรื่องของข้อมูลที่จะใช้ในการตัดสินใจที่ขาดหายไป
ท่านผู้อ่านลองนึกภาพดูนะครับว่า ถ้าบริหารจะวางแผนกลยุทธ์ แล้วนำกลยุทธ์นั้นไปปฏิบัติ ผู้บริหารจะสามารถติดตามและประเมินผลว่าองค์กรสามารถดำเนินงานได้ตามกลยุทธ์ได้อย่างไร ถ้าขาดระบบข้อมูลที่ดีและรวดเร็ว และยิ่งถ้าต้องไปเชื่อมโยงกับระบบงบประมาณอีก ก็ดูเหมือนจะยิ่งเป็นไปไม่ได้ใหญ่ถ้าขาดระบบข้อมูลสารสนเทศที่ดี ดังนั้นก็เลยไม่แปลกใจเลยนะครับว่า CPM จะเป็นของเล่นชิ้นใหม่ของผู้บริหารและผู้ขายโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านการบริหาร ในเมืองไทยนั้นก็ทราบมาว่ามีบริษัทหลายแห่งเหมือนกันที่มีโปรแกรม CPM จำหน่าย เท่าที่ตอนนี้นึกออกก็มี COGNOS กับ SAS ครับ
อย่างไรก็ดี ไม่อยากจะให้ท่านผู้อ่านมอง CPM ว่าเป็นเพียงแค่โปรแกรมนะครับ ผมมองว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงสิ่งที่สนับสนุน CPM เท่านั้น แต่จริงๆ CPM เป็นกระบวนการมากกว่า อาจจะมองได้ว่าเป็นวิธีการในการคิดเชิงบูรณาการมากกว่าเป็นเพียงแค่สินค้าตัวหนึ่งที่บริษัทด้านไอทีจะมาเสนอขายท่าน ท่านผู้อ่านอาจจะนำ CPM อย่างง่ายๆ มาใช้ในองค์กรท่านก่อนก็ได้ โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพียงแต่ท่านผู้อ่านอาจจะเสียเปรียบในด้านของข้อมูล และการทำงานที่คล่องตัวเท่านั้นเอง เพียงแต่ท่านผู้อ่านเริ่มจากการวางแผนกลยุทธ์ แล้วนำแผนกลยุทธ์นั้นไปสู่การปฏิบัติ โดยมีระบบในการติดตามประเมินผลที่ชัดเจน มีการแปลงแผนและตัวชี้วัดจากระดับองค์กรไปสู่ระดับหน่วยงานต่างๆ มีการเชื่อมแผนงาน โครงการต่างๆ เข้ากับงบประมาณขององค์กร มีระบบในการเสาะแสวงหาข้อมูลต่างๆ จากภายนอก มีระบบในการรายงานผลที่มีการนำผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ และข้อมูลที่ได้จากภายนอกมาใช้ในการปรับเปลี่ยนแผนและกลยุทธ์ขององค์กร
เป็นอย่างไรครับ ดูแล้วไม่น่ายากนะครับ ในโอกาสต่อๆ ไปจะมานำเสนอในเรื่องของ CPM อีกนะครับ ต้องคอยดูว่าวิวัฒนาการของ CPM ในประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป โดยจะเป็นเพียงแค่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ จะกลายเป็นระบบในการบริหาร
โดย ผศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์

อัพเดทล่าสุด